ประสบปัญหา “ขาดแคลน” เช่นกัน กับ “อาชีพที่มักถูกมองข้าม” อย่าง“พนักงานเปล“ ทั้งที่บุคลากรอาชีพนี้ก็เปรียบได้กับ “ด่านหน้าของโรงพยาบาลเพื่อให้บริการกลุ่มผู้ป่วย“ อย่างไรก็ตาม มีข่าวว่าอาชีพนี้เริ่มถูกเท โรงพยาบาลรัฐหลายแห่งเกิดวิกฤติขาดคนมาทำหน้าที่นี้ และย้อนไปตั้งแต่ช่วงประมาณเดือน มี.ค. 2567 ก็มีข่าวโรงพยาบาลของรัฐขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคอีสานเกิดปัญหา “ขาดแคลนพนักงานเปล“ จนกระทบการให้บริการผู้ป่วย ซึ่งถึงขั้นมีสมาชิกวุฒิสภาหยิบยกปัญหานี้เข้าไปอภิปรายในสภา เพื่อวอนขอรัฐบาลให้ช่วย “เพิ่มงบให้โรงพยาบาล“ เพื่อนำไป “จ้างพนักงานเปลเพิ่ม“ และ…

เสนอให้ เพิ่มเงินเดือน-สวัสดิการ“
จูงใจ ทำให้คนสนใจที่จะทำงานนี้“
เพื่อ แก้วิกฤติขาดแคลนบุคลากร“

ทั้งนี้ สำหรับ “อาชีพพนักงานเปล” นั้น แม้บางคนอาจจะมองข้าม หรือไม่ค่อยเห็นความสำคัญของบุคลากรหน้าที่นี้ เมื่อเทียบกับหมอ พยาบาล หรือบุคลากรทางสาธารณสุขตำแหน่งอื่น ๆ แต่จริง ๆ บุคลากรตำแหน่งนี้ก็นับเป็นกลไกที่สำคัญซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการผู้ป่วยของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง และในปัจจุบันโรงพยาบาลมีสถานการณ์เร่งด่วนและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงคุณภาพและมาตรฐานการบริการ ดังนั้น การ “มีพนักงานเปลเพียงพอ” และก็ “มีทักษะมีศักยภาพ” เช่นเดียวกับบุคลากรโรงพยาบาลตำแหน่งอื่น ๆ นั้นยิ่งสำคัญ แถมยัง มีแนวโน้มจะยิ่งสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย เนื่องเพราะ ผู้ป่วยที่ต้องใช้บริการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อย่างเช่น “ผู้ป่วยสูงอายุ” ที่นับวันจะยิ่งมีมาก

พนักงานเปล” นั้น…จริง ๆ คนทำอาชีพนี้ถูกคาดหวังสูงว่า… พนักงานเปลจะต้องสามารถปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็วทันเวลา ถูกต้อง และปลอดภัย เพื่อให้บริการช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วย แต่ด้วย “ลักษณะการทำงาน” ของพนักงานเปลที่ “รับผิดชอบเคลื่อนย้ายผู้ป่วย” กรณีนี้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและร่างกาย เนื่องจาก รูปแบบการทำงานจะต้องยก เข็น เคลื่อนย้ายผู้ป่วย ถ้าไม่ถูกท่าทางอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ และยังอาจส่งผลต่อเนื่องถึงประสิทธิภาพร่างกาย ที่อาจลดลง หรือทำให้เกิดความล่าช้าในการให้บริการ จนกระทบต่อผู้ป่วย และโรงพยาบาล

จึงเป็นที่มาแนวคิดพัฒนาสมรรถนะ
เพื่อที่จะ เพิ่มศักยภาพพนักงานเปล“

และข้อมูลเกี่ยวกับ “หลักสูตรพัฒนาสมรรถนะพนักงานเปล” ที่ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” จะสะท้อนวันนี้ เป็นส่วนหนึ่งจากโครงการวิจัย “การพัฒนาหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะพนักงานเปล เพื่อรองรับระบบบริการสุขภาพคุณภาพสูง“ โดย คณะวิจัยสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ภายใต้ทุนสนับสนุนจาก สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เพื่อวิจัยพัฒนาหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะให้กับพนักงานเปล และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อไป โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ “ผู้ให้บริการด้านสุขภาพมีความรู้และทักษะที่พร้อมต่อการรองรับการบริการ” ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไป…

ในรายงานวิจัยนี้ นอกจากรายละเอียดผลการศึกษาต่าง ๆ เพื่อที่จะช่วยเพิ่มสมรรถนะให้กับพนักงานเปลที่ให้บริการผู้ป่วยในโรงพยาบาลแล้ว ในรายงานยังได้ฉายภาพ “บทบาทของพนักงานเปล“ เอาไว้อีกด้วย ซึ่งทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” เห็นว่า…นี่ก็เป็นข้อมูลส่วนที่น่าจะร่วมสะท้อนภาพต่อสังคมไทย เพื่อให้คนไทยเข้าใจคนที่ทำงานนี้มากขึ้น เพื่อที่จะ “ตระหนักถึงคุณค่า“ บุคลากรเหล่านี้ ซึ่งเป็นบุคลากรโรงพยาบาลที่มักถูกมองข้าม หรือไม่ให้ความสำคัญ โดยกรณีนี้มีข้อมูลดังนี้…

ด้าน “หน้าที่ความรับผิดชอบ” ในฐานะเป็นผู้ที่ทำงาน เคลื่อนย้ายผู้ป่วย พนักงานเปลจะต้องปฏิบัติงานได้ถูกต้อง ปลอดภัย ด้วยรถเข็น เปลนอน ต้องดูแลตรวจสอบอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้มีสภาพพร้อมใช้งาน และรู้จักจัดลำดับความเร่งด่วนของความต้องการใช้ก่อน-หลัง รวมถึงต้องสามารถสั่งการ บันทึกรายงาน และนำผู้ป่วยเคลื่อนย้ายไปส่งได้ถูกต้อง

ด้าน “พฤติกรรมการบริการ” ก็มีการกำหนดไว้ มีมาตรฐานเฉพาะอาทิ รับรู้การมาของผู้รับบริการอย่างรวดเร็วที่สุด รู้วิธีพิจารณาการให้บริการระหว่างรถนั่งหรือรถนอนตามความเหมาะสมของประเภทผู้ป่วย แจ้งจุดหมายให้คนไข้ที่รู้สึกตัวดีทราบทุกครั้งที่ให้บริการ ขอโทษทุกครั้งเมื่อสัมผัสผู้ป่วย ไม่พูดข้ามศีรษะผู้รับบริการในขณะกำลังให้บริการ เคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยความนิ่มนวล เข็นคนไข้ด้วยความรวดเร็วที่เหมาะสม เมื่อพบทางต่างระดับจะต้องชะลอความเร็วเพื่อไม่ให้สั่นสะเทือนเกินไป และก็ต้องไม่เรียกร้องหรือรับค่าตอบแทนจากผู้รับบริการ …นี่เป็น “มาตรฐานการบริการ” ที่มีการกำหนดไว้

ขณะที่ข้อเสนอแนะเพื่อ สร้างเสริมคุณภาพชีวิตพนักงานเปลนั้น ในรายงานนี้มีการจัดทำข้อเสนอไว้ 3 ประเด็น ดังต่อไปนี้คือ… 1.ควรเสริมพลังให้พนักงานเปลด้วยการมีเครื่องแบบที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของอาชีพ และให้พนักงานเปลได้เข้ารับการฝึกอบรมในด้านต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ อาทิ การพัฒนาการให้บริการ ศิลปะการสื่อสารในการให้บริการ รวมถึงการสร้างความตระหนักในการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย 2.ควรมีการพัฒนาหลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตพนักงานเปลในการทำงาน 3.ควรทำวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตในการทำงาน

นี่เป็นมุมวิชาการกรณี พนักงานเปล“
ที่ ต้องแก้ขาดแคลน-ให้ความสำคัญ“
เพราะก็สำคัญ ไม่ควรถูกมองข้าม!!“.