ทั้งนี้ วันอาสาฬหบูชาเป็น วันที่พระรัตนตรัยครบองค์ 3” ครบบริบูรณ์ทั้งพระพุทธเจ้า พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวกแห่งพระพุทธเจ้า ที่ในกาลต่อ ๆ มาจวบจนถึงปัจจุบันชาวพุทธต่างก็คุ้นหู-คุ้นเคยกับ พระพุทธ-พระธรรม-พระสงฆ์ ในฐานะที่เป็นองค์ประกอบทั้ง 3 ของ พระรัตนตรัย”…

อาสาฬหบูชา…พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม

เป็นปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

รำลึกธรรม วันอาสาฬหบูชาจึงเหมาะยิ่ง

ทั้งนี้… แสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุด 2 อย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยทางสายกลาง แสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติโดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลาง เพื่อที่จะดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้ เพื่อมุ่งสู่การละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา …นี่คือหลักที่สำคัญโดยสรุปของ “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นปฐมเทศนาแห่งธรรม ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 “วันอาสาฬหบูชา” ที่ยังมีการเรียกวันดังกล่าวนี้ว่า “วันพระธรรมจักร” หรือ “วันพระธรรม” ด้วย ดังนั้น…วันอาสาฬหบูชาก็จึงเหมาะเป็นวันรำลึกธรรม

และสำหรับธรรม ที่ก็ ยิ่งน่าจะมีการรำลึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงนี้…ที่ สถานการณ์ในประเทศไทย ไม่น่าไว้วางใจ เกี่ยวกับ เหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์อันเนื่องจากสถานกาณณ์ทางการเมือง ก็รวมถึง พรหมวิหาร 4” 

การ มีเมตตา-กรุณา-มุทิตา-อุเบกขา

ที่ จัดการแก้ไขโกรธ-เกลียด-แค้น ได้

เกี่ยวกับหลักธรรม พรหมวิหาร 4” ที่ทาง ทีมสกู๊ปเดลินิวส์ ได้หยิบยกมาสะท้อนย้ำชวนรำลึก ณ ที่นี้ในวันนี้…เนื้อหาหลักใหญ่ใจความเป็นการสะท้อนต่อข้อมูลจากบางบทความที่เคยมีการเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ สถาบันนโยบายศึกษา ซึ่งนับว่าน่าพิจารณาอย่างยิ่ง ถือว่า สอดคล้องสถานการณ์ในไทยเกี่ยวกับเรื่องการเมือง เนื่องเพราะเป็นบทความเกี่ยวกับ พุทธศาสนากับการเมืองโดยเนื้อหาบางช่วงบางตอนระบุถึง เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ไว้ โดยสังเขปมีดังนี้…

เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา คือหลัก พรหมวิหาร 4” ที่เป็น ธรรมประจำใจที่สำคัญ หมวดหนึ่งใน การบริหารชีวิตที่ถูกต้องดีงาม เพื่อให้ชีวิตที่เป็นเพื่อนร่วมทุกข์-เกิด-เจ็บ-ตายทั้งหลายนั้น อยู่ร่วมกันอย่างมีสันติสุขในสังคมมนุษย์ โดย “พรหมวิหาร” แปลว่า “ธรรมประจำใจของพรหม” ซึ่งครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงเคยตรัสแสดงธรรมพรหมวิหารให้ปฏิบัติ เพื่อให้ทุกคนเป็นพระพรหม จะได้เป็นผู้ แก้ปัญหา สร้างสรรค์ และอภิบาลสังคม” เสียเอง ซึ่ง…

จุดสำคัญคือ ต้องมีหลักธรรม 4 ข้อ

ก็คือ…มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

สำหรับความหมาย และการใช้หลักธรรมทั้ง 4 ข้อ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หรือ พรหมวิหาร 4” นั้น โดยสังเขปก็มีดังคือ… เมตตา หมายถึง… ความมีไมตรี ความเป็นมิตร ความรัก ความปรารถนาดี อยากให้เขามีความสุข ใช้ในสถานการณ์ที่คนอื่นเขาอยู่ดีเป็นปกติ, กรุณา หมายถึง… ความสงสาร ความมีใจพลอยหวั่นไหว เมื่อเขาประสบความทุกข์ก็อยากช่วยเหลือให้เขาพ้นจากทุกข์ ใช้ในสถานการณ์ที่คนอื่นเขาตกต่ำเดือดร้อน, มุทิตา หมายถึง… ความพลอยยินดีด้วย เอาใจสนับสนุน ส่งเสริม เมื่อเขาประสบความสำเร็จ ได้ดีมีสุข ก็อยากให้เขาได้ดีมีสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป ใช้ในสถานการณ์ที่คนอื่นเขาขึ้นสู่ภาวะที่สูงขึ้นไป และในส่วนของข้อ อุเบกขา จะหมายถึง…  การวางเฉยเป็นกลางให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรม ซึ่งในส่วนของข้ออุเบกขานี่การใช้จะต่างจากเมตตา กรุณา มุทิตา ที่ใช้เพียงความรู้สึกที่ดี

อุเบกขา นั้น…การใช้ต้องใช้ความรู้ (ปัญญา) ด้วยคือ… ต้องรู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรเป็นความจริง อะไรเป็นความถูกต้องดีงาม อะไรคือหลักการ แล้วจึงเอาความรู้นั้นมาปรับเข้ากับความรู้สึกให้ลงตัวพอดี

ทั้งนี้ การมีธรรมในข้อ มีอุเบกขา ที่เป็นส่วนหนึ่งในหลักธรรม พรหมวิหาร 4” นั้น ประโยชน์ที่สำคัญอย่างยิ่งทั้งต่อผู้มีธรรมนี้และสังคม ก็คือ… เพื่อจะวางตัวได้ถูกต้อง เป็นกลางตามธรรม หากมีบุคคลใดละเมิดธรรม ทำผิดกฎหมายหรือกฎกติกาของสังคม ผู้ที่มีความสัมพันธ์กับบุคคลนั้นจะต้องหยุดขวนขวายช่วยเหลือทุกวิถีทาง ต้องปล่อยให้มีการปฏิบัติต่อเขาให้เป็นไปตามความเป็นจริง ตามหลักการ เพื่อรักษาธรรมไว้ ไม่เช่นนั้นสังคมก็จะปั่นป่วนวุ่นวาย

นอกจากนี้ ในบทความเกี่ยวกับ พุทธศาสนากับการเมือง ที่เคยมีการเผยแพร่ไว้ทางแหล่งข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ยังระบุถึงหลักธรรม พรหมวิหาร 4” ที่ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ไว้ด้วยว่า… มีเมตตา กรุณา มุทิตา ที่เหมาะพอดี และมีอุเบกขาคุมท้ายไว้แล้ว ก็จะดำรงรักษาความเป็นธรรมในสังคม รักษาความเข้มแข็งรับผิดชอบในตัวคนไว้ได้ แล้วก็จะเป็นผู้อภิบาลโลก คือจะ ดำรงรักษาสังคมให้มีสันติสุข ตั้งแต่สังคมเล็กในบ้าน จนถึงสังคมสากล…

อาสาฬหบูชา เวียนมา ชวนให้รำลึก

ธรรม พรหมวิหาร 4” นี่ ใครมีดีแน่”…ซึ่ง “ผู้ที่เกี่ยวกับการเมืองยิ่งควรมี!!!”.