สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 5 ก.ย. ว่าย้อนกลับไปเมื่อปี 2522 มีการนำงูพิษประมาณ 30 ตัวมาปล่อยบนเกาะ เพื่อควบคุมประชากรงูฮาบุ ซึ่งเป็นงูพิษร้ายที่อันตรายต่อมนุษย์

หลังจากนั้น ทางการญี่ปุ่นได้นำพังพอนเข้ามาบนเกาะเพื่อหวังจะกำจัดงูพิษ แต่งูเหล่านี้ออกหากินในเวลากลางคืนขณะที่พวกมันนอนหลับ ทำให้พังพอนหันมาล่ากระต่ายอามะมิแทน จนมีจำนวนลดลงอย่างมาก

กระต่ายเหล่านี้อาศัยอยู่แค่บนเกาะอามะมิ และเกาะอีกแห่งหนึ่งเท่านั้น และพวกมันอยู่ในรายชื่อสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (ไอยูซีเอ็น) สวนทางกับประชากรพังพอนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมีจำนวนราว 10,000 ตัว เมื่อปี 2543 และส่งผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องเริ่มโครงการกำจัดพังพอนเหล่านี้ ด้วยการใช้สุนัขดมกลิ่นที่ได้รับการฝึกมาเป็นพิเศษ

ขณะนี้ รัฐบาลประกาศว่า เกาะแห่งนี้ปลอดพังพอนแล้ว โดยใช้เวลาทั้งหมดเกือบ 25 ปี ในการเริ่มต้นโครงการกำจัด หรือคิดเป็นเกือบ 50 ปี นับตั้งแต่นำพวกมันมาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้

“ถือเป็นข่าวดีอย่างแท้จริงของจังหวัดและสำหรับการอนุรักษ์ระบบนิเวศอันล้ำค่าของเกาะ ซึ่งเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ” นายโคอิจิ ชิโอตะ ผู้ว่าราชการจังหวัดคาโงชิมะ กล่าว พร้อมย้ำถึงบทเรียนในแง่ของผลกระทบต่อระบบนิเวศพื้นเมืองจากพังพอน และความพยายามและต้นทุนในการกำจัดมัน

ตามรายงานของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) มีสัตว์ต่างถิ่นทั่วโลกมากกว่า 37,000 ชนิด ที่อาศัยในพื้นที่ห่างไกลจากแหล่งกำเนิด ซึ่งก่อให้เกิดสร้างความเสียหายและสูญเสียรายได้สูงถึง 400,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 13.5 ล้านล้านบาท) ต่อปี.

เครดิตภาพ : AFP