เมื่อเวลา 12.30 น.วันที่ 10 ต.ค.64 กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) ได้รับแจ้งจากกองอำนวยการน้ำแห่งชาติว่า ได้ประเมินและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำจากแผนที่ฝนคาดการณ์ (ONE MAP) ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์กรมหาชน) ได้ตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวัง ดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากของกรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยาการธรณี พบว่าในช่วงวันที่ 10-16 ต.ค. 2564 มีพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังอุทกภัย ดังนี้ 1. พื้นที่เฝ้าระวังน้ำหลาก ดินถล่ม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ สกลนคร และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด และ เพชรบุรี ภาคใต้ ได้แก่ ชุมพรสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล
2. พื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำในอ่างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่า ร้อยละ 80 และแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้น กระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ ภาคเหนือ ได้แก่ ลำปาง สุโขทัย น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ อุดรธานี หนองบัวลำภู บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่นมหาสารคาม กาฬสินธุ์ ยโสธร มุกดาหาร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง ได้แก่ ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และประจวบคีรีขันธ์ ภาคใต้ ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ระนอง ภูเก็ต และกระบี่
3. พื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำในลำน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นล้นตลิ่ง และท่วมขังบริเวณที่ลุ่มต่ำ ภาคเหนือ ได้แก่ บริเวณแม่น้ำน่าน อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร แม่น้ำยม อ.สามง่าม อ.โพนทะเล จ.พิจิตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณแม่น้ำชีอ.โกสุมพิสัย อ.กันทรวิชัย และอ.เมืองมหาสารคาม จ.มหาสารคาม อ.ฆ้องชัย อ.กมลาไสย อ.ยางตลาด และอ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์ อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด อ.เมืองยโสธร และอ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร แม่น้ำมูล อ.ประโคนชัย อ.สตึก และอ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ อ.ชุมพลบุรี และอ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ อ.เมืองศรีสะเกษ และอ.ราศีไศล จ.ศรีสะเกษ และอ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี ภาคกลาง บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ อ.เมืองสิงห์บุรี จ.สิงห์บุรี อ.เมืองอ่างทอง จ.อ่างทอง และอ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา แม่น้ำป่าสัก อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา และอ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี แม่น้ำลพบุรี อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี แม่น้ำท่าจีน อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี และอ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
4. เฝ้าระวังแม่น้ำโขง โดยระดับน้ำมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงเพิ่มสูงขึ้น กอปภ.ก. จึงได้แจ้งให้ 57 จังหวัดและศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า ให้จัดเตรียมเครื่องมือเครื่องจักรกลสาธารณภัยและทีมปฏิบัติการเข้าประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมเผชิญเหตุและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ทันที หากมีแนวโน้มจะเกิดสถานการณ์รุนแรงในพื้นที่ ให้จังหวัดดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนติดตามพยากรณ์อากาศ สถานการณ์ภัย และข้อมูลข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ให้เตรียมความพร้อมมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้น หากได้รับความเดือดร้อนจากสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และแอพพลิเคชั่น “พ้นภัย”รวมถึง สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป.