โดยเฉพาะกับคุณแม่ที่ลูกยังอยู่ในวัยทารกที่การดูแลเลี้ยงดูเป็นภาระหนักหน่วง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่เป็น ’คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูก“ ที่คุณพ่อของลูก และคนอื่น ๆ ในครอบครัว ยิ่งควร ’ต้องให้ความสำคัญและให้การดูแล
ให้มาก ๆ“
เพราะ…

       สุขภาพกาย“ นั้น ’ยังคงไม่แข็งแรง“

      และ ’อาจมีปัญหาสุขภาพจิตใจด้วย“

      โดย ’จิตใจแย่หลังคลอดก็ต้องระวัง!!“

ทั้งนี้ กับกรณี “จิตใจแย่หลังคลอด” นี่ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” จะสะท้อนต่อข้อมูล ซึ่งเป็นข้อมูลจากรายงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาโปรแกรมการช่วยเหลือแม่ที่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดโดยอาสาสมัครสาธารณสุข : การวิจัยนำร่อง” โดย พญ.ชดาพิมพ์ เผ่าสวัสดิ์, พญ.วีราณี เจริญวงศ์ศักดิ์ และคณะวิจัย ที่ประกอบด้วย จารุวรรณ ประดา, ทิพย์เมธี เมฆพันธุนารถ, ณฐฐาพร พันธ์โยธี ภายใต้การสนับสนุนของ สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ไว้เมื่อเดือน มี.ค. 2564 ที่ก็น่าสนใจสำหรับคนทั่วไป

 จากข้อมูลในรายงานวิจัยชิ้นนี้ โดยสังเขปมีว่า… ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression)“ มีอาการ คล้ายโรคซึมเศร้า ที่รวมถึงอาจรู้สึกผิด-รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า ซึ่งก็ อาจนำสู่เหตุเศร้าสลดได้!! โดยภาวะนี้นอกจากส่งผลต่อคุณแม่แล้ว ก็ยัง ส่งผลให้ลูกเกิดปัญหาพัฒนาการช้าได้ด้วย จึงจำเป็นที่ คุณแม่หลังคลอดต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม 

Medium shot woman with blanket
ภาพ : freepik

ปัญหาสุขภาพจิตใจหลังคลอดลูก นั้นสามารถ แบ่งเป็น 3 ชนิดกว้าง ๆ ได้แก่… ชนิดที่ 1 ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด พบราวร้อยละ 30-75 ของคุณแม่หลังคลอด จากการที่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง รวมถึงอาจมีปัจจัยอื่น ๆ กระตุ้นด้วย เช่น พักผ่อนน้อย เครียดเลี้ยงลูก ปรับตัวกับความเป็นแม่ไม่ทัน วิตกกังวลสูง มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ต่ำ โดยจะ หงุดหงิดง่าย ร้องไห้ง่าย เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากกว่าปกติ นอนไม่ค่อยหลับหรือนอนมากผิดปกติ ซึ่งอาการมักเริ่มเกิดหลังคลอดไม่กี่วัน จนถึงช่วงวันที่ 4-5 และมักจะหายไปเองภายในวันที่ 10 แต่ ถ้านานเกิน 2 สัปดาห์ควรได้รับการตรวจรักษา

ชนิดที่ 2 ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ชนิดนี้ ในไทยพบความชุกราวร้อยละ 9.5-25 อาการมักแสดงออกในช่วง  1 เดือนแรกหลังคลอด แต่บางรายก็อาจตั้งแต่ก่อนคลอด ซึ่งจะ ซึมเศร้า, เบื่อหน่าย, นอนไม่หลับ, อ่อนเพลีย, ปวดศีรษะ, หลงลืมง่าย, ย้ำคิดย้ำทำ, ไม่มีความรู้สึกทางเพศ ทั้งนี้ บางรายอาจมีความรู้สึกไม่ต้องการลูก ร่วมด้วย อาจ วิตกกังวลกลัวว่าตนเองจะเผลอทำร้ายลูก จนนำของมีคมไปซ่อน หรือมัก ควบคุมอารมณ์ไม่ได้เมื่อได้ยินเสียงลูกร้อง ไม่ยอมให้ลูกดูดนม ซึ่งบางรายอาจ คิดทำร้ายตัวเอง หรือคิดสั้น!! เพราะรู้สึกว่าไม่มีความสามารถที่จะเลี้ยงลูก คิดว่าเป็นแม่ที่ไม่ดี

อาการเหล่านี้มักเริ่มในช่วง 1 สัปดาห์หลังคลอด และอาจเป็นนานถึงราว 1 ปี ซึ่ง คุณแม่รายใดมีอารมณ์เหล่านี้ถึงขั้นรบกวนการเลี้ยงดูลูก หรือมีอาการนานเกิน 2 สัปดาห์ ควรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที ซึ่งหากปล่อยไว้จนอาการเรื้อรังรุนแรง อาจนำสู่ปัญหาสุขภาพจิตใจหลังคลอดอีกชนิดที่ยิ่งอันตราย!!

ชนิดที่ 3 โรคจิตหลังคลอด พบราวร้อยละ 0.1-0.2 เป็นชนิดของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่ยิ่งรุนแรงมาก!! โดยมักมีอาการช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด จะสับสน หรือตื่นตระหนกเกือบตลอดเวลา จากนั้นอาการต่าง ๆ จะเกิดตามมารวดเร็ว จะ มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็ว มีพฤติกรรมวุ่นวาย มีความคิดหลงผิด เช่น หลงผิดว่ายังไม่ได้คลอดลูก ลูกตาย ลูกพิการ มีคนคิดปองร้ายลูก มีคนจะมาลักพาตัวลูก เป็นต้น รวมทั้งอาจ ประสาทหลอน เช่น หูแว่ว เห็นภาพหลอน ได้อีกด้วย ซึ่งอาการที่รุนแรงเหล่านี้ จำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ อย่างใกล้ชิด

newborn baby sleeping in the embrace of the mother
ภาพ : freepik

ทั้งนี้ ข้อมูลจากรายงานวิจัยเกี่ยวกับคุณแม่หลังคลอดดังกล่าวข้างต้นยังระบุไว้อีกว่า… แม้ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงสาเหตุ’ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด“ แต่ก็ทราบว่า อาจ ’มีปัจจัยต่าง ๆ เป็นตัวกระตุ้น“ ให้เกิดภาวะ เช่น บุคลิกภาพคุณแม่ ภาวะจิตสังคม และคุณแม่ประสบความตึงเครียดด้านต่าง ๆ ก่อนคลอด ขณะคลอด หลังคลอด ได้แก่ ความตึงเครียดทางสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น ฐานะเศรษฐกิจ ที่อาจทำให้คุณแม่วิตกกังวลการซื้อของใช้สำหรับทารก หรือคุณแม่ไม่ได้รับการเตรียมตัวก่อนคลอด ที่อาจจะทำให้เกิดความไม่แน่ใจว่าจะสามารถเลี้ยงดูลูกได้หรือไม่, ความตึงเครียดทางด้านร่างกาย จากความเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาขณะคลอด จากความเปลี่ยนแปลงของต่อมไร้ท่อและฮอร์โมนที่ลดลงหรือเพิ่มสูงขึ้นหลังคลอด

ความตึงเครียดทางจิตใจ ก็มีองค์ประกอบทางจิตใจหลายอย่างที่กระตุ้นการเกิดซึมเศร้าหลังคลอด เช่น มีประวัติเจ็บป่วย
ทางจิตใจ กังวลเรื่องรูปร่างหลังคลอด เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงปรารถนาหรือไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า วิตกกังวลกลัวว่าลูกจะพิการ รวมถึง สับสนกับบทบาทการเป็นคุณแม่ วิตกต่อภาระหน้าที่การเลี้ยงดูลูกไม่ได้รับการเอาใจใส่จากคุณพ่อของลูก ถูกทอดทิ้งละเลย มีปัญหาเกี่ยวกับชีวิตสมรส กลัวคุณพ่อของลูกนอกใจ …เหล่านี้ก็ “ปัจจัยกระตุ้นภาวะ”

      ’ซึมเศร้าหลังคลอด“ นี่ก็ ’ฉายภาพ“

      ’คุณแม่มือใหม่“ นั้น ’มิใช่ง่าย ๆ“…

      โดยที่ ’คนรอบตัวจะต้องเข้าใจ!!“.