เรียนคุณหมอ ดร.โอ สุขุมวิท 51 ที่เคารพ

ผมอยู่ในกลุ่มชายสูงวัย ปัจจุบันกำลังป่วยเป็นโรคต่อมลูกหมากโตมาหลายปีแล้ว ช่วงแรก ๆ อาการก็ยังเป็นไม่มาก ไม่ได้กินยา หมอแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตประจำวัน ก็ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง อาการก็เลยแย่ลง จนตอนนี้คุณหมอต้องให้ยากินเพื่อลดขนาดการโตของต่อมลูกหมาก หลังจากกินยามาสักระยะหนึ่งอาการป่วยก็ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ที่กลับแย่มากขึ้นคือสมรรถภาพทางเพศแข็งตัวไม่ได้ ก่อนหน้านี้แข็งตัวร่วมเพศกับแฟนได้ตามปกติ แต่หลังจากกินยามานี้ก็เริ่มมีอาการอย่างว่าเลย จึงอยากรู้ว่ายาที่กินอยู่นั้นมีผลให้การแข็งตัวแย่ลงไหม แล้วจะทำอย่างไรดี

ด้วยความเคารพ

สูงวัย

ตอบ สูงวัย

วัตถุประสงค์ของการรักษาต่อมลูกหมากโต คือรักษาเพื่อลดอาการผิดปกติต่างๆของการถ่ายปัสสาวะที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยแต่ละคนและป้องกันไม่ให้เกิภาวะแทรกซ้อนของต่อมลูกหมากโตในอนาคต การรักษาต่อมลูกหมากโตในผู้ป่วยแต่ละคนจึงอาจแตกต่างกันออกไป เช่น ในผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน การรักษาอาจทำได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องใช้ยา เพียงแค่หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมาก ๆ ก่อนเข้านอน ก็สามารถทำให้การปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนดีขึ้นได้โดยไม่ต้องทานยา แต่หากอาการไม่ดีขึ้นการรักษาด้วยการใช้ยาก็ต้องเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการรักษาตามดุลพินิจของแพทย์

กลุ่มยาลดขนาดต่อมลูกหมาก (5alpha-reductase inhibitor) เช่น Fenasteride, Dutrasteride ก็เป็นชนิดที่หมอเลือกรักษาคนไข้ต่อมลูกหมากโต แต่จากการศึกษาของของ Zhang และคณะได้ศึกษาไปถึงผลกระทบด้านชีวเคมีและเซลล์ในเนื้อเยื่อองคชาตจากการรักษาด้วย 5-ARI เป็นเวลานาน ทำให้ระดับฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน ( DHT) ในพลาสมาและภายในต่อมลูกหมากลดลงอย่างมาก (>50%) น้ำหนักของกล้ามเนื้อเรียบในคอร์ปัส คาเวอร์โนซัม( corpus cavernosum) และเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากลดลง และสิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวตอบสนองต่อการกระตุ้นเส้นประสาทลดลง

จากการศึกษาได้ผลว่าการรับประทานยา 5α-reductase inhibitor เป็นเวลานานทำให้การแข็งตัวขององคชาตลดลง โดยการยับยั้งกระบวนการจับกินกันเอง (autophagy) และเพิ่มการตายแบบ apoptosis ของกล้ามเนื้อเรียบในคอร์ปัส คาเวอร์โนซัม (corpus cavernosum) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อเรียบในองคชาตที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวขององคชาตโดยตรงจึงเป็นไปได้ที่ผู้ป่วยกินยารักษาต่อมลูกหมากโตกลุ่ม 5α-reductase inhibitor จะพบปัญหาเรื่องการแข็งตัวลดลงจึงอยากแนะนำว่าการรักษาต่อมลูกหมากโตต้องทำการรักษาต่อเนื่องตามแนวทางของแพทย์

ส่วนเรื่องการแข็งตัวนั้นสามารถฟื้นฟูอาการอีดีในผู้ที่เป็นต่อมลูกหมากโตได้ ขอให้พบแพทย์ผู้รักษาการแข็งตัวโดยตรง ซึ่งสามารถรักษาควบคู่กันไปโดยไม่มีผลกระทบต่อกัน ปัจจุบันโรคต่อมลูกหมากโตจะคู่กับอาการอีดีเสมอ ถ้าไม่ฟื้นฟูก็ทำให้บางส่วนนิทราไป หลับไม่ตื่น ชายที่อยากแข็งแรงก็จงรักษาเนื้อรักษาตัวเสีย ก็จะมีการแข็งตัวภายใน 2-3 อาทิตย์แข็งได้ 30 นาทีทุกวัน โดยไม่ต้องกินยาเฉพาะกิจ เป็นกำลังใจที่น่าสนใจ.