ซึ่งจะส่งผลทำให้คนในแวดวงอาชีพดังกล่าวได้รับการดูแล ส่งเสริมและสนับสนุน เหมือนกับคนในอาชีพอื่น ๆ ที่ได้รับการรับรอง โดยวัตถุประสงค์การรับรองอาชีพนี้มีเป้าหมายสำคัญคือ…เพื่อ กระตุ้นอุตสาหกรรมอาหาร และ สร้างความเชื่อมั่นให้คนในธุรกิจอาหาร ซึ่งหลังจากที่ได้มีการประกาศรับรองก็ได้เสียงตอบรับล้นหลามจาก “คนในวงการเชฟหม้อไฟ”

“มองเมืองจีน” เรื่อง ยกระดับอาชีพ”

“รับรองอาชีพเชฟหม้อไฟ” นี่น่าสนใจ

นับว่า น่าสนใจในมุมมาตรฐานอาชีพ”

เรื่อง “มาตรฐานอาชีพ-มาตรฐานวิชาชีพ” นี่ไทยก็มีการขับเคลื่อนมาไกล ขณะที่กรณี “อาชีพเชฟอาหารหม้อไฟในจีน” ก็อาจเป็น “กรณีศึกษา” ให้ไทยได้ โดยในไทยก็ยังมีอีกหลายอาชีพที่ “ยังอยู่ข้างหลัง-ยังต้องการการสนับสนุน”…

ต้องการได้รับ “การดูแล” ในการทำอาชีพ

ได้รับ “การส่งเสริม” เพื่อยกระดับอาชีพ…

ทั้งนี้ วันนี้ “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” จะสะท้อนข้อมูลกรณี “มาตรฐานอาชีพ-มาตรฐานวิชาชีพ” ที่หลายคนอาจสงสัยว่า…แล้วไทยมีอาชีพหรือวิชาชีพสักกี่มากน้อยที่มีการ “รับรองเป็นทางการ” ซึ่งกับเรื่องนี้ใน เว็บไซต์สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) มีการให้รายละเอียดไว้ โดยระบุถึง “ความสำคัญ” ของ “ระบบคุณวุฒิวิชาชีพ” ไว้ว่า… ระบบนี้พัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม และระบบคุณวุฒิวิชาชีพถือเป็นกระบวนการรับรองเพื่อให้บุคคลได้รับการยอมรับในความรู้ ทักษะ ตลอดจนความสามารถ เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในสายอาชีพนั้น ๆ

นี่ถือเป็น “หัวใจ” ของ “ระบบรับรอง”

ที่ทั้ง “ยกระดับและเพิ่มโอกาสแข่งขัน”

ส่วน “สาขาวิชาชีพ” ของ “ประเทศไทย” ที่ได้ “มีการรับรองมาตรฐานวิชาชีพ” นั้น ข้อมูลของทางสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพระบุว่า… ปัจจุบันมีอยู่จำนวน 52 สาขา ดังต่อไปนี้คือ… 1.สาขาวิชาชีพการกีฬา 2.สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร 3.สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม 4.สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม 5.สาขาวิชาชีพขนส่งชุมชน 6.สาขาวิชาชีพการบิน 7.สาขาวิชาชีพธุรกิจค้าปลีก 8.สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดประชุมและนิทรรศการ 9.สาขาวิชาชีพธุรกิจภาพถ่าย 10.สาขาวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์ 11.สาขาวิชาชีพธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

12.สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ 13.สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล 14.สาขาวิชาชีพบริหารทรัพย์สิน 15.สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา 16.สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน 17.สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์ 18.สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย 19.สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 20.สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์ 21.สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์ 22.สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี 23.สาขาวิชาชีพบริการยานยนต์

24.สาขาวิชาชีพผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 25.สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์ 26.สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีชีวภาพ 27.สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ 28.สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตและแปรรูปเหล็ก 29.สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมพลาสติก 30.สาขาวิชาชีพรักษาความปลอดภัย 31.สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 32.สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ  33.สาขาวิชาชีพการเดินเรือ 34.สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า

35.สาขาวิชาชีพการเชื่อมอุตสาหกรรม 36.สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา 37.สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน 38.สาขาวิชาชีพการออกแบบและสร้างสรรค์ 39.สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย 40.สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมเซรามิกและเครื่องเคลือบ 41.สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล 42.สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม 43.สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ 44.สาขาวิชาชีพการเงินและประกันภัย

45.สาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 46.สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง 47.สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมบันเทิง 48.สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน 49.สาขาวิชาชีพการบรรเทาสาธารณภัย 50.สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 51.สาขาวิชาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และ 52.สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง

…นี่เป็น “อาชีพในประเทศไทย” ที่ได้ “มีการรับรองมาตรฐานวิชาชีพ” จากทางสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ โดยการรับรองมาตรฐานอาชีพนี้ไม่เพียงเป็น “ประโยชน์โดยตรง” ในการช่วย “ส่งเสริมศักยภาพคนทำงาน-คนในอาชีพต่าง ๆ”  กับการที่ “มีการรับรองมาตรฐาน” นั้นยังมี “ประโยชน์ที่สำคัญ” ต่อ “โอกาสทางเศรษฐกิจของไทย” ด้วย …ซึ่งใครที่ทำอาชีพที่มีการรับรองมาตรฐานแล้ว ก็น่าจะให้ความสนใจกับเรื่องนี้ ส่วนอาชีพที่ยังไม่มีการรับรอง…ทางรัฐก็ยิ่งต้องใส่ใจดูแล

มองเชฟหม้อไฟในจีนย้อนมองไทย

กรณีมาตรฐานวิชาชีพไทยก็มาไกล

แต่ก็มีที่ยังมาไม่ได้ที่มิใช่ไม่สำคัญ!!.