หลังจาก คณะกรรมการนโยบายการเงิน มีมติปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% มาอยู่ที่ 2.25% ด้วยคะแนนเสียงไม่เป็นเอกฉันท์ 5 ต่อ 2 ล่าสุดธนาคารรัฐ 6 แห่ง ได้ประกาศเริ่มทยอยประกาศลดดอกเบี้ยเงินกู้ คงดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อช่วยบรรเทาภาระหนี้ครัวเรือน และลดการผ่อนชำระลง ดังนี้  

สถาบันการเงินของรัฐ 6 แห่ง

ธนาคารออมสิน

ประกาศประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป ประกอบด้วย

  • ดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำประเภทเงินกู้ที่มีระยะเวลา (MLR) ลดลงเหลือ 6.900% ต่อปี
  • ดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) ลดลงเหลือ 6.745% ต่อปี
  • ดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อย (MRR) ลดเหลือ 6.595% ต่อปี  ต่ำสุดเมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่
  • ดอกเบี้ยเงินฝาก จะยังคงตรึงดอกเบี้ยไว้ในอัตราเดิมให้ได้นานที่สุด

ธนาคารอาคารสงเคราะห์

ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป ได้แก่

  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ลดลงเหลือ 6.250% ต่อปี
  • ดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้เบิกเกินบัญชี (MOR) ลดลงเหลือ 6.400% ต่อปี
  • ดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลดเหลือ 6.545% ต่อปี
  • อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ธอส. พร้อมตรึงดอกเบี้ยไว้ในอัตราเดิมให้ได้นานที่สุด

  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  • ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลดลงร้อยละ 0.10 ต่อปี จากร้อยละ 6.975 ต่อปี ลดลงเหลือร้อยละ 6.875 ต่อปี กรณีลูกค้าเกษตรกรกลุ่มเปราะบางและ SMEs ที่ประสบปัญหาในการผลิตจนทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง รวมถึงลูกหนี้ NPLs ที่อยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MRR ปรับลดลงร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 6.975 ต่อปี ลดลงเหลือร้อยละ 6.725 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลาออกไปอีกเป็นเวลา 5 เดือน มีตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2567 จนถึง 31 มีนาคม 2568
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าประเภทเงินเกินบัญชี (MOR) ลดลงร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 7.125 ต่อปี ลดลงเหลือร้อยละ 6.875 ต่อปี
  • อัตราดอกเบี้ยเงินฝากทุกประเภทออกไปให้นานที่สุด เพื่อส่งเสริมวินัยการออมเงินและร่วมสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

  • ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK)
  • ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย Prime Rate ลง 0.25% ต่อปี เหลือ 6.35% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ EXIM BANK ใช้สำหรับลูกค้าทั่วไปและลูกค้า SMEs เทียบเท่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดีหรือ MRR ของธนาคารพาณิชย์ นับเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดีที่ต่ำที่สุดในระบบ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป

  • ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank
  • ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงสูงสุด 0.25% ต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป ประกอบด้วย
  • เงินกู้ยืมสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate : MRR) ลด 0.25% ต่อปี จาก 8.05% ต่อปี เหลือ 7.80% ต่อปี
  • ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (Minimum Overdraft Rate : MOR) ลด 0.25% ต่อปี จาก 8.05% ต่อปี เหลือ 7.80% ต่อปี
  • เงินกู้ขั้นต่ำ (Minimum Laon Rate : MLR) ลด 0.10% จาก 7.50% ต่อปี เหลือ 7.40% ต่อปี

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

ธนาคารได้ปรับลดอัตรากำไร เพื่อต้องการที่จะแบ่งเบาภาระของลูกค้าของธนาคาร โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน  2567 นี้

  • ปรับลดอัตรากำไรสินเชื่อ สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (SPR) จากเดิม คิดอัตรากำไรที่ 8.25% ต่อปี ปรับลดใหม่เป็น 8.00% ต่อปี
  • ปรับลดอัตรากำไรสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทสินเชื่อแบบมีกำหนดระยะเวลา (SPRL) ลดลงเหลือ 7.90% ต่อปี
  • อัตรากำไรสินเชื่อ สำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (SPRR) จะปรับลดมาอยู่ที่ 8.25% ต่อปี