เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 17 ต.ค.67 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้ พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณาศึกษาแนวทางการตราพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งกมธ. ที่มีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกมธ.  พิจารณาเสร็จแล้ว

โดยนายชูศักดิ์ กล่าวถึงรายงานตอนหนึ่ง ว่า การนิรโทษกรรมไม่ใช่การยกเลิกความผิด การกระทำนั้นเป็นความผิดตามกฎหมาแต่สมควรเป็นการยกเลิกความรับผิดแก้ปัญหาขัดแยงในบ้านเมืองในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อให้ทุกฝ่ายอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข  ทั้งนี้การตรากฎหมายนิรโทษกรรมเป็นเครื่องมือให้ประเทศเดินหน้า ซึ่งในอดีตประเทศไทยมีกฎหมายนิรโทษกรรม 23 ฉบับ สำหรับรายงาน กมธ. เป็นการศึกษาแนวทางการตรากฎหมาย ไม่ใช่การพิจารณาหรือยกร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งมีข้อเสนแนะแนวทางหากมีการยกร่าง หรือ ตราพ.ร.บ.นิรโทษกรรมต่อไปว่าควรหรือไม่ควรรวมการกระทำ ที่เป็นประโยชน์ที่ต่อประเทศชาติโดยรวม

“กมธ.เสนอความเห็นในทุกมิติ เพื่อให้สภาฯ ศึกษา เรียนรู้รับฟังความเห็นอย่างรอบด้าน แม้รายงานเป็นการศึกษาแนวางการตรา พ.ร.บ. แต่ได้เสนอแนะแนวทางอื่นๆ เพื่อยุติความขัดแย้งและสร้างความเข้าใจอันดีของสังคมไทย เช่น ขอพระราชทานอภัยโทษ แนวทางล้างมลทิน การชะลอการฟ้อง สั่งไม่ฟ้องคดีที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อสาธาร และตราพ.ร.บ.ที่มีเงื่อนไขตามกระบวนการที่เกิดขึ้น” นายชูศักดิ์ กล่าว

นายชูศักดิ์ กล่าวถึงสาระของรายงานกมธ. ว่า ควรกำหนดขอบเขตการนิรโทษกรรม ตั้งแต่ปี 2548 ถึง ปัจจุบันการกระทำที่ควรได้รับนิรโทษกรรม เน้นมูลเหตุที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง โดยกมธ.แยกในคดีหลัก เช่น ฐานะเป็นกบฎ การกระทำในคดีรอง เช่น ความผิดต่อเจ้าพนักงาน และแยกคดีที่มีความอ่อนไหวทางการเมืองออกมาพิจารณาเฉพาะ โดยแสดงเหตุผลทุกมิติ ทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย รวมถึงการแสวงหามาตรอื่นๆ เช่น การนิรโทษกรรมแบบมีเงื่อนไข สำหรับรูปแบบการนิรโทษกรม กำหนดให้เป็นการนิรโทษกรรมแบบ อัตโนมัติ มีคณะกรรมการพิจารณาและ ผสมผสาน ทั้งนี้กรณีตั้งกรรมการนั้นเนื่องจากช่วงเวลาของเหตุการณ์ซึ่งมีคดีที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก เมื่อมีคณะกรรมการพิจารณาจะทำให้การนิรโทษกรรมถูกต้องเป็นธรรม

นายชูศักดิ์  กล่าวด้วยว่า มีการเสนอแนะแนวทางการตรา พ.ร.บ.อาจทำเป็นหลายฉบับเพราะเหตุการณ์ หรือพฤติกรรมของการกระทำนั้นแตกต่างกัน สำหรับข้อสังเกตของกมธ. นั้นมีหลายแนวทางเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องและคาม.รับไปดำเนินการ  เช่น การอำนวยความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 110 และ มาตรา 112 ยังคงเป็นประเด็นที่อ่อนไหวและอาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้ อย่างไรก็ตามข้อสังเกตของกมธ.ไม่ได้บังคับหรือผูกมัด ครม.ที่จะดำเนินการตามที่เสนอ

“รายงานนี้ขอเลื่อนการพิจารณา 2-3 ครั้ง เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันว่าไม่ใช่การพิจารณาพ.ร.บ. แต่เป็นการศึกษาของกมธ.ที่ได้รับมอบหมาจาก สภาฯมอบหมาย ดังนั้นที่ประชุมควรรับทราบรายงาน เพื่อนำผลการศึกษาไปพิจารณาประกอบกับการยกร่างกฎหมายในอนาคต” นายชูศักดิ์ กล่าว.