ขณะที่สัดส่วนสมาชิกในครัวเรือนที่ใช้ส้วมที่ถูกสุขอนามัย และไม่ได้ใช้ร่วมกับครัวเรือนอื่นอยู่ที่ 97.1% แต่เรื่องคุณภาพนํ้า ยังเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องปรับปรุง โดยระหว่างปี 2553-2562 นํ้าบริโภคในครัวเรือนมีเพียง 34.3% ที่มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการบริโภคขณะที่ 49.1% ต้องปรับปรุงคุณภาพก่อนการบริโภคและ 16.6% มีคุณภาพไม่เหมาะสมสำหรับการบริโภค

ทาง “สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” หรือสภาพัฒน์ ได้สร้างหลักประกันเรื่องนํ้าและการสุขาภิบาล โดยจัดการอย่างยั่งยืนและมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคนภายในปี 2573 ตั้งเป้าหมายหลัก ๆ เช่น ทุกคนต้องเข้าถึงนํ้าดื่มที่ปลอดภัยและมีราคาที่สามารถซื้อหาได้, ทุกคนต้องเข้าถึงการสุขาภิบาลและสุขอนามัยที่พอเพียง และเป็นธรรมและยุติการขับถ่ายในที่โล่งโดยให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อความต้องการของผู้หญิง เด็กหญิงและกลุ่มที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบาง

นอกจากนี้ ต้องปรับปรุงคุณภาพนํ้า ลดมลพิษ ขจัดการทิ้งขยะและลดการปล่อยสารเคมีอันตรายและวัตถุอันตราย ลดสัดส่วนนํ้าเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดลงครึ่งหนึ่งและเพิ่มการนำกลับมาใช้ใหม่ และการใช้ซํ้าที่ปลอดภัยอย่างยั่งยืนทั่วโลก, เพิ่มประสิทธิภาพการใช้นํ้าในทุกภาคส่วนและสร้างหลักประกันว่าจะมีการใช้นํ้าและจัดหานํ้าที่ยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนนํ้า และลดจำนวนประชากรที่ประสบปัญหาการขาดแคลนนํ้า, ดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรนํ้าแบบองค์รวมในทุกระดับ

รวมถึงผ่านทางความร่วมมือข้ามเขตแดนตามความเหมาะสม รวมทั้งการปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับแหล่งนํ้า รวมถึงภูเขา ป่าไม้ พื้นที่ชุ่มนํ้า แม่นํ้า ชั้นหิน อุ้มนํ้า และทะเลสาบ, ขยายความร่วมมือระหว่างประเทศและสนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาในกิจกรรมและแผนงานที่เกี่ยวข้องกับนํ้าและสุขาภิบาล, สนับสนุนและเพิ่มความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาการจัดการนํ้าและสุขาภิบาล.