เมื่อเปลี่ยนผ่านจากปีเก่าสู่ปีใหม่ เรื่องราวของหลาย ๆ แวดวงก็มักจะถูกสะท้อนออกมาให้ “จับตา” ในปีใหม่…รวมถึงแวดวง “เทคโนโลยี” ที่ก็มีประเด็น “น่าสนใจมาก” ทีเดียว…อย่างไรก็ดี กับเรื่องราวของแวดวงเทคโนโลยีที่ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” จะชวนดูกันในวันนี้ไม่เพียงน่าสนใจในปีใหม่…หากแต่มีความน่าสนใจมากในฐานะ “ไฮเทคโนโลยีแห่งอนาคต”

เทคโนโลยีที่มีการ “อัพเกรด-ต่อยอด”
เป็นเทคโนโลยีที่ถูกชี้ไว้ว่า “น่าจับตา”

ทั้งนี้… “คณะทำางานวิชาการได้เลือกโดยเป็นการคาดการณ์เทคโนโลยีที่จะมีผลกระทบได้อย่างชัดเจนใน 5-10 ปีข้างหน้า…” …นี่เป็นส่วนหนึ่งจากชุดข้อมูลที่มีการสะท้อนมาทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” โดยเป็นส่วนหนึ่งจากการระบุไว้โดย ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ผู้อำานวยการสำานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ในโอกาสบรรยายพิเศษ 10 TechnologiestoWatch หรือ “10 เทคโนโลยีที่น่าจับตา” ภายใต้งาน Thailand Tech Show 2022

10 เทคโนโลยีที่ว่านี้ ประกอบด้วย… เทคโนโลยี “เชื่อมต่อสมองมนุษย์กับคอมพิวเตอร์” หรือ Brain-Machine Interface หรือ Brain-Computer Interface ที่เรียกย่อ ๆ ว่า BCI โดย ศ.ดร.ชูกิจ ระบุไว้ว่าหลายปีมานี้เทคโนโลยีนี้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและก้าวหน้าอย่างมาก ซึ่งการใช้ประโยชน์นั้น เช่น ใช้ช่วยผู้ป่วยอัมพาตที่ขยับแขนขาไม่ได้ และในไทยก็ทำาเรื่องนี้ได้แล้ว โดยทางBrainiFit ที่เป็น NSTDA Startup จากเนคเทค สวทช. ใช้ BCI ในการออกกำาลังสมอง ฝึกสมาธิ-ความจำ

“เอไอแบบรู้สร้าง” หรือ Generative AI นี่ในไทยก็ทำวิจัยซึ่งโดยเนคเทค เช่น สร้าง VAJA สังเคราะห์เสียงข้อความภาษาไทยสร้างคำบรรยายภาพภาษาไทยอัตโนมัติ, โครงการ Z-Size Ladies ระบบจำาลองรูปร่าง 3 มิติ สำาหรับหญิงตั้งครรภ์ทารก 2 สัปดาห์ขึ้นไป และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็ใช้เทคโนโลยีรูปแบบนี้เรียนรู้สไตล์ฟอนต์ภาษาอังกฤษเพื่อประยุกต์ใช้สร้างฟอนต์ภาษาไทยใหม่ ๆ… ถัดมาเป็น “ยานยนต์อัตโนมัติและเชื่อมต่อ” หรือ CAV (Connectedand Autonomous Vehicle) เทคโนโลยีนี้แบ่งเป็น 6 ระดับ ตั้งแต่ 0 ถึง 5 ที่เทียบเท่าการขับรถโดยมนุษย์ ซึ่งมีการระบุว่าความท้าทายของไทยคือมีแผนสร้างสนามทดสอบยานยนต์CAV ระดับ3 ที่ EECi โดย สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยและเอกชนหลายแห่งวิจัยและสร้าง EV ที่ใช้เทคโนโลยี CAV และก็มีเอกชนรายใหญ่หลายรายลงทุนโรงงานแบตเตอรี่พลังงานสูงที่ EECi ด้วย… ซึ่งในไทยนั้น

เสียชีวิตทางถนนกว่า 22,000 คนต่อปี!!
ก็ “น่าจับตา” ใช้ “CAV ลดการสูญเสีย”

ศ.ดร.ชูกิจ ระบุถึง “เทคโนโลยีน่าจับตา” ไว้ต่อไปว่า… กับกลุ่มที่เกี่ยวกับพลังงานและสิ่งแวดล้อม ได้แก่… “ระบบสำารองพลังงานแบบยาวนาน” หรือ Long Duration Storage โดยในไทยมีแนวโน้มต้องสำารองไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นตามการใช้พลังงานทดแทนและยานยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ก็ต้องพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ซึ่งศูนย์ NSD สวทช. ก็นำร่องพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดสังกะสีไอออนเป็นทางเลือก ข้อดีคือมีแหล่งแร่ในไทย ราคาถูก ปลอดภัย ไม่ติดไฟ-ไม่ระเบิดและรีไซเคิลได้เกือบ 100%

เทคโนโลยี “รีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์” หรือ Solar Panel Recycle ก็อยู่ในกลุ่มนี้ รองรับการใช้โซลาร์เซลล์ในไทยที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเทคโนโลยีนี้สอดคล้องกับนโยบาย BCG การพัฒนาเทคโนโลยีนี้จึง “น่าจับตา” เช่นกัน… เช่นเดียวกับเทคโนโลยี “ตรวจวัดและวิเคราะห์ปริมาณคาร์บอน” หรือ Carbon Measurement & Analytics ซึ่งไทยตั้งเป้าไปสู่การเป็นกลางทางคาร์บอน การคำนวณคาร์บอนเครดิตจึงสำคัญ การประเมินทั้งมวลชีวภาพและ Carbon Footprint จะช่วยรับมือการกีดกันทางการค้า… ขณะที่เทคโนโลยี “CCUS ด้วยพลังงานสะอาด” หรือ CCUS By Green Power การดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน นี่ก็ “น่าจับตา” เมื่อไทยประกาศว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะเป็น 0 ในปี ค.ศ. 2065 ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายก็ต้องใช้ CCUS โดย สวทช. ก็มีงานวิจัยด้านนี้ และอุตสาหกรรมพลังงานและปิโตรเคมีขนาดใหญ่ก็ให้ความสนใจ

ประกาศว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะเป็น 0 ในปี ค.ศ. 2065 ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายก็ต้องใช้ CCUS โดย สวทช. ก็มีงานวิจัยด้านนี้ และอุตสาหกรรมพลังงานและปิโตรเคมีขนาดใหญ่ก็ให้ความสนใจ

ขณะที่ “การรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันแบบ CAR T–Cell” หรือ Chimeric Antigen Receptor T-Cell Therapy นี่ทาง ศ.ดร.ชูกิจ ก็ระบุไว้ว่าเป็นอีกเทคโนโลยีที่ “น่าจับตา” ต่างจากวิธีรักษามะเร็งที่ใช้กันอยู่เดิม จุดเด่นคือมีความจำาเพาะกับเซลล์มะเร็งสูงมาก แทบไม่ทำอันตรายเซลล์ปกติเลย ไม่ทำาให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันทำาร้ายตัวเอง จึงมีความปลอดภัยสูง ซึ่งในไทยก็มีทีมวิจัยนำโดย ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิงนักวิจัยแกนนำาของ สวทช. กำาลังศึกษาการใช้ CAR T–Cell รักษามะเร็งเม็ดเลือดอยู่ในระยะคลินิกเฟส 1 ที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล …ซึ่งก็น่าติดตามลุ้นผลศึกษาวิจัย

เหล่านี้คือเทคโนโลยีที่เขาว่า “น่าจับตา”
ใช่แค่ในปีใหม่แต่เป็น “ไฮเทคอนาคต”
ที่จัดว่าเป็น…”เทคโนโลยีพลิกชีวิต!!”