โดยเฉพาะ เป้าหมายที่ 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และ เป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามได้ คือ การจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน (Sustainable Human Resources หรือ Sustainable HR) ถือเป็น หัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร

“ความเครียด” ในที่ทำงานกลายเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย และเป็นอุปสรรคสำคัญในการบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน ความเครียดในที่ทำงานสามารถเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ภาระงานที่หนักหน่วง ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน ความเครียดเหล่านี้อาจนำไปสู่ผลกระทบที่รุนแรงทั้งในระดับบุคคลและองค์กร ได้แก่ ปัญหาสุขภาพจิตและร่างกาย และอัตราการลาออกที่สูงขึ้น ซึ่งการดูแลสุขภาพจิตและการป้องกันความเครียดในที่ทำงานถือเป็นหัวใจสำคัญของการบรรลุเป้าหมายนี้

“ดร.ทรรศวรรณ ปรีดาวิภาต” ผู้อำนวยการศูนย์การออกแบบเพื่อสังคม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการผู้จัดการบริษัท บริษัท อองเทอร์เพอเนอชิฟ พลัส (Entre preneurship Plus) ได้เล่าถึงเครื่องมือทรงพลังที่จะช่วยสร้างความสำเร็จและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานแบบง่าย ๆ อย่างรวดเร็วด้วย หลักสูตร ดูอิ้ง ทู ดัน (Doing to Done) ลงมือทำ เพื่อความสำเร็จของไมค์ วิลเลียมส์ นักวางกลยุทธ์ด้านประสิทธิภาพที่ช่วยผู้นำธุรกิจระดับโลกมาแล้ว เป็นหลักสูตรที่ “ดร.ทรรศวรรณ” ลองทำแล้ว พบว่า เป็นเครื่องมือที่เข้าใจง่าย ช่วยแก้ปัญหาการทำงานที่ดูยุ่งเหยิง สามารถลงมือทำได้เลยทันที จึงมองว่า อยากนำมาสร้างประโยชน์ให้กับคนอื่น จึงได้นำเข้าลิขสิทธิ์ และเป็นคนแปลหนังสือเล่มนี้ประกอบกันด้วย

เครื่องมือ “ดูอิ้ง ทู ดัน” เป็นการให้ความสำคัญกับการลงมือทำเป้าหมายเล็ก ๆ ให้สำเร็จ (สมอลล์ วิน) พร้อมสร้างความสุขทั้งชีวิตงานและส่วนตัว ซึ่งปัญหาชีวิตของคนส่วนใหญ่จะมุ่งมั่นจดจ่อกับการทำงานให้เสร็จแต่เพียงอย่างเดียว หลายครั้งที่ละเลย หลงลืมบทบาทอื่น ๆ ในชีวิต ทั้งชีวิตส่วนตัว ความสัมพันธ์ สุขภาพและชีวิตครอบครัว

“มองว่า ความสำเร็จใหญ่ ๆ เริ่มได้ที่สมอลล์ วิน ให้มองถึงความสำเร็จเล็ก ๆ เมื่อเราลงมือทำ แม้เราทำแล้ว อาจจะยังไม่สำเร็จ แต่ก็ยังสามารถที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการต่าง ๆ ไปได้ ดังนั้นมีหลายวิธีที่จะนำไปสู่เป้าหมาย เป้าหมายไม่เปลี่ยน แต่เราค่อย ๆ ขยับวิธีการ หรือการลงมือทำของเราให้ค่อย ๆ ขยับไปข้างหน้า ถึงแม้จะล้ม ก็ล้มไปข้างหน้า ค่อย ๆ ขยับไปทีละนิด ความสำเร็จก็จะค่อย ๆ เกิดขึ้นได้ ความเป็นจริง จึงเกิดจากการลงมือทำ เมื่อเรามีกำลังใจ หากเป้าหมายนั้นใหญ่มาก เราก็ทำไปทีละนิด ๆ ทำไป
เรื่อย ๆ ควบคู่ไปกับบทบาทอื่น ๆ ของเรา”

หลักการจาก “ดูอิ้ง ทู ดัน” จะให้แนวทางที่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับปัญหานี้ เสนอกรอบการทำงานที่เน้น
การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดความเครียด และส่งเสริมความสุขในที่ทำงาน ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสร้างความยั่งยืนในองค์กร เริ่มจาก

1. สร้างระบบการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ Doing to Done สร้างระบบการจัดการและจัดตารางชีวิตที่ไว้ใจได้ ดีไซน์ระบบที่คุณวางใจ (Trusted system) ด้วยการใช้จังหวะงานที่จะทำซํ้าได้ สร้างความสำเร็จเล็ก ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง ผ่านการทบทวน เรียนรู้ พัฒนาต่อยอด และจะค่อย ๆ สะสมความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง สู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ช่วยให้พนักงานสามารถโฟกัสกับงานที่สำคัญและสร้างผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

2. สร้างวัฒนธรรมการทำงานที่เน้นความร่วมมือ Doing to Done สร้างความชัดเจนของโปรเจกต์ด้วยแผนที่ความชัดเจน (Project Clarity Map) เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมให้ดียิ่งขึ้น การสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่เน้นการสื่อสารและความร่วมมือในทีมงาน ช่วยลดความเครียดจากการทำงานที่โดดเดี่ยวและเพิ่มความเข้าใจในทีม การทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพช่วยเสริมสร้างความสามัคคีและทำให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างยั่งยืน

3. สร้างสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว Doing to Done สร้างระบบการจัดการให้ครบทุกบทบาทที่รับผิดชอบทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว มีหลักการให้เขียนเป้าหมายและเข้าใจในแต่ละบทบาทชีวิตด้วย Role Clarity Map มุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว (Work-Life Balance) ทำให้พนักงานมีความสุขและสุขภาพดีขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในระยะยาว

4. ลดความเครียดและเพิ่มความสุขในการทำงาน เครื่องมือ Doing to Done Framework & Template เปลี่ยนความวุ่นวายให้เป็นความชัดเจน สร้างระบบการทำงานที่เป็นระเบียบ ด้วยการผสมผสานการใช้เทคโนโลยี และเครื่องมือดิจิทัล การมีระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพและลดความเครียด ช่วยให้พนักงานมีเวลาและพลังงานในการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ส่งเสริมการคิดเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืนขององค์กร

“การใส่ใจในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดี (Wellbeing) และดูแล Work-Life Balance มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างความยั่งยืนในเอชอาร์ โดยการป้องกันและแก้ปัญหาความเครียดของคนในองค์กร ถ้าต้องการดูรายละเอียดแต่ละเรื่องสามารถทำได้ผ่านหลักการจากหนังสือ Doing to Done มีโครงร่างช่วยให้ลงมือทำตามง่าย ๆ เพื่อยกระดับความสำเร็จ เน้นการจัดการเวลาและงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเครียดและเพิ่มความสุขในการทำงาน ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายความยั่งยืนตามแนวทาง SDGs ได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ดร.ทรรศวรรณ กล่าวทิ้งท้าย.