เมื่อวันที่ 7 พ.ค. “กรมอุตุนิยมวิทยา” รายงานคาดหมายค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน ในวันที่ 7 พ.ค.

โดยจังหวัดที่มีค่าดัชนีความร้อนสูงสุด (°C) รายภาค ดังนี้..
–เพชรบูรณ์ (51.2 องศาเซลเซียส) ระดับเตือนภัยอันตราย
–โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม (46 องศาเซลเซียส) ระดับเตือนภัยอันตราย
–บางนา กทม. (52.7 องศาเซลเซียส) ระดับเตือนภัยอันตราย
–สัตหีบ จ.ชลบุรี (53 องศาเซลเซียส) ระดับเตือนภัยอันตราย
–ภูเก็ต (51.1 องศาเซลเซียส) ระดับเตือนภัยอันตราย

สำหรับ “ดัชนีความร้อน” คือ อุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในขณะนั้น ว่า อากาศร้อนเป็นอย่างไร หรืออุณหภูมิที่ปรากฏในขณะนั้นเป็นเช่นไร โดยค่าดัชนีความร้อนนั้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อลดความเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับผลกระทบจากความร้อนได้

ค่าดัชนีความร้อน แบ่งเป็น 4 ระดับมีดังนี้
– ระดับเฝ้าระวัง 27-32 องศาเซลเซียส หรือสีเขียว เป็นระดับที่ร่างกายอ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความร้อน หรือออกกำลังกาย หรือทำงานใช้แรงงานท่ามกลางอากาศร้อน
– ระดับเตือนภัย 32-41 องศาเซลเซียส หรือสีเหลือง ถ้าขั้นนี้จะเกิดตะคริวจากความร้อน และอาจเกิดอาการเพลียแดด หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน
– ระดับอันตราย 41-54 องศาเซลเซียส หรือสีส้ม ระดับนี้จะมีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะลมแดด หรือฮีทสโตรกได้ หากสัมผัสความร้อนนานๆ
– ระดับอันตรายมาก มากกว่า 54 องศาเซลเซียส ถ้าถึงขั้นนี้ ร่างกายจะเกิดภาวะลมแดด…

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @กรมอุตุนิยมวิทยา.