เพราะอะไร? บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ บางราย “หมกมุ่น” กับ AI มากเกินไป ผลการประกอบการไม่ค่อยดีและราคาหุ้นก็เกิดความผันผวนอย่างมาก สถาบันการเงินที่มีชื่อเสียงสามแห่ง ได้แก่ Goldman Sachs, Barclays และ Sequoia Capital ได้ออกคำเตือน โดยชี้ให้เห็นว่าในด้าน AI ในปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายสูงเกินไป เมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่ต่ำ
ข้อมูลการจ้างงานในปัจจุบัน ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ และการใช้จ่ายของผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา ล้วนแสดงให้เห็นถึงการชะลอตัว แม้ว่า Allianz Investments ยังคงมั่นใจ แต่ต้องบอกว่านักลงทุนก็ยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ
แม้ว่า AI จะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ากำลังจะเป็นเทรนด์สมัยใหม่ แต่จะมาถึงเมื่อใด สหรัฐฯ จะเดิมพัน AI กับเศรษฐกิจโลก และปล่อยให้โลกที่เปราะบางอยู่แล้ว “ล่มสลายก่อนรุ่งสาง” หรือไม่? อีกทั้งประวัติศาสตร์เคยพิสูจน์ให้เห็นครั้งแล้วครั้งเล่าว่าเราไม่สามารถคาดเดาอนาคตใดๆได้เลย ใครจะสามารถรับรองได้ว่าดาวรุ่งจะไม่ดับในชั่วพริบตา? มนุษย์ไม่สามารถคาดเดาอนาคตได้ ความรอบคอบและระมัดระวังเท่านั้นถึงจะเผชิญกับอนาคตที่ซับซ้อนไม่แน่นอนได้ กระผมเชื่อใน AI เชื่อในเทคโนโลยี แต่ผมเป็นห่วงความเป็นจริงในปัจจุบันมากกว่า
ตามสถิติจากสถาบันการลงทุนทางการเงินโลก เห็นได้ว่าต้นทุนของ Microsoft เพิ่มขึ้น 79% เมื่อเทียบเป็นรายปีในไตรมาสนี้ โดยแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ต้นทุนของ Google เพิ่มขึ้น 91% เป็น 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ Metaverse คาดว่ารายจ่ายต้นทุนทั้งปีจะขยายตัวเป็น 4 หมื่นล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ AWS ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการประมวลผลแบบคลาวด์ของ Amazon ยังทุ่มเงิน 650 ล้านดอลลาร์เพื่อซื้อศูนย์ข้อมูลที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์
การลงทุนย่อมมีผลตอบแทน แต่บริษัทเทคโนโลยีในสหรัฐฯ ใช้ประโยชน์จากสถานะผู้นำระดับโลกของตน และได้รับการสนับสนุนจากฐานเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกให้ลงทุนมหาศาลใน AI โดยไม่ลังเล อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของทุกประเทศ นี่ไม่ใช่เอฟเฟกต์ผีเสื้อที่คลุมเครือ แต่เป็นเอฟเฟกต์ช้างยักษ์ที่อาจก่อให้เกิดสึนามิทางการเงินได้
ในเวลาเพียงไม่กี่ปี หากชนะการเดิมพันกับ AI และต้องไม่ประสบกับปัญหาเงินทุนขาดแคลน Wall Street จะได้รับกำไรอย่างมหาศาล แต่หากเดิมพันผิดหรือทิศทางถูกแต่สภาพเศรษฐกิจโลกตามไม่ทัน เมื่อนั้น“ร่วงก่อนรุ่งสาง” จะเป็นหายนะสำหรับผู้คนทั่วโลกและทุกคนจะต้องร่วมกันรับผิดชอบ ดังนั้นกระผมจึงคิดว่าสิ่งที่ประเทศอื่นๆต้องเป็นห่วงคือความเสี่ยงดังกล่าว
หากบทความความนี้ของผมทำให้ผู้คนอีกมากมายได้ช่วยกันคิดดูว่าจะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆได้อย่างไร เพื่อตนเอง หรือเพื่อผู้อื่นก็ตามแต่ เป็นผู้เป่านกหวีดของการพัฒนา AI ต่างหากที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา AI ที่ดีที่สุด
(อ้างอิง https://tw.allianzgi.com/zh-tw/insights/market-insight/20240718-1-aio )
แล้วทำอย่างไร? กระผมลองเอาแนวทางมาจากประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสอง—จีน มาประยุกต์ดู ผมขอเรียกมันว่าแนวคิดเสียงปัญญาประดิษฐ์จากจีน
เมื่อเร็วๆ นี้ BBDO Bangkok ได้ทำแบบสำรวจขนาดใหญ่ทั่วประเทศไทยปรากฏว่าหนึ่งคือเทคโนโลยี AI ของไทยยังคงเทียบเท่ากับระยะเริ่มต้นของสหรัฐฯ สองคือ AI ยังไม่สามารถคลอบคลุมหรือเข้าถึงสังคมได้ขนาดนั้น พื้นที่การกระจายกลุ่มผู้ใช้ก็ยังไม่สมดุล จึงยังไม่เห็นผลมากนักในเรื่องของผลทางเศรษฐกิจ สามคือต้นทุนการใช้ AI ยังคงสูงเกินไป
( อ้างอิง BBDO Bangkok https://www.facebook.com/photo?fbid=1031554428971068&set=pcb.1031560038970507 )
เห็นหรือเปล่า ผมมองว่าการประยุกต์ต่างหากที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างการลงทุนและพัฒนาเศรษฐกิจ หากเมินเฉยกับการประยุกต์ เพียงแต่ทุ่มเงินลงทุนอย่างเดียว หวังว่าปาฏิหาริย์จะเกิดขึ้นก่อนที่อุตสาหกรรมจะเป็นรูปเป็นร่างนั้น ท้ายสุดแล้วจะทำให้เศรษฐกิจต้องเจอกับเมฆฝนลูกใหญ่
( อ้างอิง BBDO Bangkok https://www.facebook.com/photo?fbid=1031554428971068&set=pcb.1031560038970507 )
จีนเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ราชวงศ์ยาวนานกว่า 2000 ปี ผมรู้ดีว่าเขามีประสบการณ์มากพอสมควรในด้านการบริหารและพัฒนาประเทศ ก่อนอื่นคือจีนเน้นย้ำเรื่องของการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่เข้าถึงได้โดยทั่วไป ในที่นี้หมายถึงสามารถประยุกต์ใช้ได้ทุกสถานที่หรือทุกสถานะ จีนใส่ใจเรื่องของการสร้างระบบนิเวศข้อมูลอย่างมาก ซึ่งเป็นแผนระยะยาวตามสุภาษิตโบราณจีนที่ว่า “ผู้ที่ไม่วางแผนสำหรับนิรันดร์ ก็ไม่สามารถวางแผนชั่วขณะหนึ่งได้” การแก้ไขปัญหาระยะยาวจากการมองการณ์ไกลก็เป็นหนึ่งสิ่งที่เราควรเรียนรู้
แผน AI ของจีนยังมีจุดเด่นอีกหนึ่งจุดคือสนับสนุนการให้ AI เข้าช่วยในอาชีพดั้งเดิมต่างๆ เป็นเหมือนเทรนด์ “อินเทอร์เน็ต + ทุกอย่าง” ที่มาแรงในสมัยก่อน การใช้งานจริง ใช้งานจริง ใช้งานจริง เป็นข้อสรุปของผมจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากที่มีการลงทุนมากเกินไปใน AI ซึ่งผมคิดว่าการประยุกต์ใช้งานจริงอาจต้องมาก่อนการวิจัยและพัฒนาเล็กน้อย จะได้ไปได้ไกลอย่างมั่นคง
ท้ายสุดนี้ก็อยากให้นักวิทยาศาสตร์ นักธุรกิจ นักการเมืองสหรัฐฯไม่ต้องรีบร้อนที่จะสร้างผลประโยชน์ รอบคอบและรับผิดชอบต่อโลกอีกนิด AI พัฒนาช้าลงหน่อย แต่มั่นคงขึ้น เมื่อวันที่ 15-16 สิงหาคม คณะทำงานทางการเงินจีน-สหรัฐฯ ได้จัดการประชุมครั้งที่ 5 ที่เซี่ยงไฮ้ และลงนามในสัญญาเกี่ยวกับการเสริมสร้างความร่วมมือด้านเสถียรภาพทางการเงินระหว่างจีน-สหรัฐฯ ซึ่งผมก็หวังว่าจะมีการร่วมมือกันระหว่าง 2 ประเทศมหาอำนาจแบบนี้อีกเยอะๆในอนาคต และอยากแนะนำให้สหรัฐฟังเสียงจากจีนบ้างเกี่ยวกับ AI
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาว่าร้ายบุคคลใดๆทั้งสิ้น
ผู้เขียน : Old tr