ทั้งนี้ เมื่อเร็ว ๆ นี้สภาพัฒน์เปิดตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกว่าโตแค่ 1.5% จากปัจจัยการลงทุนโดยรวมที่ยังไม่ดีขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐที่หดตัวเนื่องจากปัญหาการใช้งบประมาณรายจ่ายปี 2567 และจากอีกปัจจัยคือภาคการส่งออกที่ยังหดตัว ซึ่งทาง “เดลินิวส์” ก็ได้สะท้อนไว้ก่อนหน้านี้ว่าแม้เศรษฐกิจไทยจะไม่ได้เข้าสู่ภาวะถดถอยเต็มรูปแบบ…แต่ไทยก็อยู่เฉย ๆ ไม่ได้ เพราะเทียบกับเพื่อนบ้านอาเซียนแล้ว…

เศรษฐกิจไทยมีอัตราเติบโตที่ต่ำสุด ๆ

อันดับไทยรูดลงมาเกือบอันดับรั้งท้าย

รัฐบาลต้องงัดสารพัดมาตรการมาดัน

capital tablet exchange screen skyscraper

ทั้งนี้ นอกจากการผลักดันเศรษฐกิจประเทศไทยโดยรวม การ “อัปจีดีพีไทย” ให้ขยับขึ้น…หลังจากจีดีพีประเทศไทยต่ำสุดในบรรดาประเทศอาเซียน นอกจากในภาพรวมระดับประเทศแล้ว…กับการผลักดันเศรษฐกิจในระดับประชาชน ที่รวมถึงการ ’อัปเศรษฐกิจแรงงานไทย“ การ ’เลื่อนชั้นรายได้แรงงานไทย“ นี่ก็ ’ต้องให้ความสำคัญ“ ซึ่งเรื่องนี้ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ก็มีข้อมูลมาสะท้อนต่อ โดยเป็นข้อมูลการวิเคราะห์โดย รศ.อธิภัทร มุทิตาเจริญ นักวิชาการ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่ได้มีการเผยแพร่ไว้ทาง เว็บไซต์สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ www.pier.or.th  

ทาง รศ.อธิภัทร ได้สะท้อนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ผ่านทางบทความชื่อ ’ทางรุ่งหรือทางตัน : โอกาสการเลื่อนชั้นรายได้ของแรงงานไทยในภาคเศรษฐกิจในระบบ“ โดยได้มีการระบุถึง “ความสำคัญ” ของโอกาสในการเลื่อนชั้นทางเศรษฐกิจของประชาชนคนไทยกลุ่มแรงงานไว้ว่า… นับเป็นปัจจัยสำคัญในการเสริมสร้างความหวังเพื่อการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนในสังคม  ขณะที่…กับ “คำจำกัดความ” ของคำว่า “การเลื่อนชั้น” ในกรณีนี้นั้น ทางนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ท่านดังกล่าวได้ขยายความ ได้มีการอธิบายไว้ว่า…หมายถึง โอกาสที่คนจะขยับขึ้นไปอยู่บนชั้นรายได้ที่สูงขึ้นหรือเปลี่ยนไปอยู่ในชั้นรายได้ที่ต่ำลง ซึ่งการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเลื่อนชั้นในกรณีดังกล่าวนี้ “มีความสำคัญ” เนื่องเพราะ…

Double exporsure stacked of coins and night with graph.

โอกาสเลื่อนชั้นรายได้นี้จะ สะท้อน

ถึงกรณี ความเหลื่อมล้ำด้านโอกาส

ในบทความ “ทางรุ่งหรือทางตัน : โอกาสการเลื่อนชั้นรายได้ของแรงงานไทยในภาคเศรษฐกิจในระบบ”โดย รศ.อธิภัทร ยังมีการระบุไว้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ “โอกาสการเลื่อนชั้นรายได้” อีกว่า… เรื่องดังกล่าวนี้ เป็นกุญแจสำคัญของการสร้างสังคมที่ผู้คนมีความหวังในการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพราะการที่ สังคมมีการเลื่อนชั้นทางรายได้ได้ยาก อาจจะสะท้อนถึงข้อจำกัดของการเข้าถึงโอกาสด้านต่าง ๆ ของคนในสังคม อาทิ ด้านการศึกษา ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม ด้านทรัพยากรอื่น ๆ ที่ซ้ำเติมให้ปัญหา “ความเหลื่อมล้ำ” ยิ่งทวีความรุนแรงมากเพิ่มขึ้นนั่นเอง ดังนั้น “ความท้าทาย” ที่สำคัญใน “การศึกษาเรื่องการเลื่อนชั้นรายได้” ของประเทศไทย นั่นก็คือ… “การเข้าถึงข้อมูลรายได้ของผู้มีรายได้สูง”

กรณี โอกาสเลื่อนชั้นรายได้แรงงาน

มีนัย ยึดโยงกรณีปัญหาเหลื่อมล้ำ??“

ทั้งนี้ ในบทความโดยนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ที่เผยแพร่ไว้ทางเว็บไซต์ www.pier.or.th ได้หยิบยกการศึกษาวิจัยมาสะท้อนไว้ว่า… โดยทั่วไปการศึกษาเรื่องนี้มักพบปัญหาการเข้าถึงครัวเรือนรายได้สูง ที่อาจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง แต่เพื่อลดข้อจำกัดนี้ จึงใช้ฐานข้อมูลที่ไม่เปิดเผยตัวตนผู้ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยในระยะ 10 ปี (ค.ศ. 2009-2018) โดยมุ่งศึกษาความเหลื่อมล้ำและการเลื่อนชั้นทางเศรษฐกิจของแรงงานในระบบ ซึ่งเน้นที่ “รายได้การจ้างงาน” ที่เป็น “รายได้หลักของแรงงานไทย” โดยพยายามตีความผลการศึกษาด้วยความระมัดระวัง ซึ่งพบข้อมูลน่าสนใจดังต่อไปนี้…

Businessman showing business evolution with a graphic

ประเด็นแรก… การเพิ่มขึ้นของความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นมาจากผู้ที่มีรายได้สูงเป็นหลัก โดยพบว่าความเหลื่อมล้ำที่ส่วนล่างไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก ขณะที่ส่วนบนกลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเด็นที่สอง… แรงงานไทยมีระดับการเลื่อนชั้นรายได้ต่ำมาก โดยแรงงานหญิงมีโอกาสเลื่อนชั้นขึ้นต่ำกว่าแรงงานชายอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่แรงงานหนุ่มสาวมีโอกาสการเลื่อนชั้นได้ในระดับที่ค่อนข้างสูง แต่โอกาสก็จะลดลงรวดเร็วเมื่ออายุมากขึ้น …นี่เป็นข้อค้นพบผ่านการตีความผลศึกษา

และในช่วงท้ายบทความโดย รศ.อธิภัทร มุทิตาเจริญ ยังได้มี “ข้อเสนอเชิงนโยบาย” เพื่อ “ลดอุปสรรคการเพิ่มโอกาสการเลื่อนชั้นทางเศรษฐกิจให้แรงงานไทยในระบบ” ไว้ว่า… ต้องเพิ่มความเป็นธรรม ให้แก่ระบบภาษี ทบทวนความสมเหตุสมผลทางเศรษฐศาสตร์ในสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ และเพิ่มการเข้าถึงโอกาสในด้านต่าง ๆ มากขึ้น ควรยกระดับความสำคัญในการแก้ปัญหาการขาดโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน และสุดท้ายคือ ควรเพิ่มการเข้าถึงโอกาสและความคุ้มครองทางสังคมให้กับแรงงาน  โดยผลักดันเป็นนโยบายสำคัญ …เหล่านี้เป็นมุมมอง-ข้อเสนอนักเศรษฐศาสตร์

      ’อัปเศรษฐกิจไทย นั้น ยึดโยงทุกมิติ

      ’รายได้แรงงาน กับมิตินี้ ก็ต้องอัป

      ก็ ต้องเลื่อนชั้นเศรษฐกิจแรงงาน“.