เมื่อวันที่ 5 เม.ย. นายนิโค เบอร์รี่ (Mr.Nico Bery) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟลายแล็บ ประเทศไทย เปิดเผยว่า “แมลงโปรตีน BSF นับเป็นอีกหนึ่งทางออกที่ดีให้กับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในประเทศไทย เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนในด้านวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์มีราคาที่สูงขึ้นด้วยปัจจัยหลายอย่างในตอนนี้ แต่การใช้ BSF มาเป็นแหล่งโปรตีนเพื่อใช้ในการผลิตอาหารสัตว์เป็นหลักนับเป็นเรื่องที่คุ้มค่าและลดต้นทุนการผลิตได้สูงมาก เพราะ BSF เติบโตจากวัตถุดิบธรรมชาติ
อีกทั้ง BSF ยังนำไปแปรรูปได้หลายอย่าง และอุดมไปด้วยโปรตีนที่สูงพร้อมด้วยแร่ธาตุที่จำเป็นอีกมาก จึงนับเป็นแหล่งทางเลือกที่ดี เหมาะสำหรับนำมาเป็นอาหารสัตว์ ซึ่งตรงนี้ช่วยประหยัดต้นทุนในการผลิตอาหารสัตว์ได้จำนวนมาก รวมถึงยังสามารถผลิตได้ตามต้องการในปริมาณที่สูง ไม่ต้องกลัวขาดตลาด และตอนนี้ประเทศในแถบทวีปยุโรปเอง ก็ออกกฎหมายรับรองให้ใช้แมลงเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์แล้ว”
ทั้งนี้นายนิโค เบอร์รี่ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “ในอนาคตอันใกล้ BSF จะเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้เสริมโปรตีนในอาหารสัตว์ต่างๆ และอุตสาหกรรมแมลงนี้ยังถือเป็นหนึ่งในแนวคิดของโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG in Action : The New Sustainable Growth Engine (Bio-Circular-Green Economy) คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด (Eco-design & Zero-Waste) อีกด้วย”
FLYLAB (ฟลายแล็บ) นำร่องเปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ตัวแห้ง (BSFอบแห้ง), ผงบดหรือผงโปรตีนสกัด BSF 100%, น้ำมันที่สกัดจากไขมันของ BSF ซึ่งอุดมไปด้วยโอเมก้าและกรดลอริกสุดยอดสารอาหาร และ ปุ๋ยที่เกิดจากลอกคราบและมูลแห้งจากการทำฟาร์ม BSF ซึ่งจะได้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพสูงสำหรับพืช โดยเจาะไปที่กลุ่มลูกค้า 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มลูกค้าธุรกิจสวนสัตว์และธุรกิจสัตว์เลี้ยงที่ใช้ตัวแห้ง, กลุ่มลูกค้าผู้ผลิตอาหารสัตว์น้ำ กุ้ง ปลา (Protein source and Vibrio inhibition ใช้เป็นแหล่งโปรตีน และควบคุมเชื้อวิบริโอในกุ้ง), ผู้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงสุนัขและแมว (Reduce ammonia and allergy ลดปัญหากลิ่นและการแพ้ไก่,สุกรและวัว) และ กลุ่มลูกค้าพืชอินทรีย์ (Organic Fertilizer) – ปุ๋ยอินทรีย์
นายนิโค เบอร์รี่ กล่าวปิดท้ายว่า “เป้าหมายของเราในปีนี้เราตั้งเป้าที่จะผลิตให้ได้มากกว่า 200 ตัน หรือคิดเป็นเงินมากกว่า 24 ล้านบาท อีกทั้งในปีหน้าเรามีเป้าหมายที่จะเร่งการผลิตให้มากกว่าเดิมกว่า 7 เท่าตัวคือประมาณ 1,500 ตัน ซึ่งจะมีรายได้มากกว่า 135 ล้านบาท เนื่องจากประเทศไทยมีการผลิตอาหารสัตว์ ประมาณ 19.07 ล้านตันต่อปี มีสัดส่วนมูลค่าตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงของไทย ในปี 2021 คาดอยู่ที่ 40,638 ล้านบาท (ข้อมูลวันที่ 7 ธ.ค. 2564) และยังคงเพิ่มสูงขึ้นอีกเรื่อยๆ”..