ด้วยวัยที่ซุกซน-คึกคะนอง ซึ่ง…ถูกสอบ ถามตรวจสอบแล้วปฏิเสธ หรือ ’โกหก“ ถ้าแบบนี้ก็ ’ยิ่งต้องใส่ใจ!!“… ทั้งนี้ การที่เด็ก-การที่บุตรหลานมีพฤติกรรมก่อความเสียหายให้ผู้อื่น หรือแม้แต่แค่ก่อความเดือดร้อนรำคาญ จะอย่างไรก็เป็นหน้าที่พ่อแม่ผู้ปกครองที่จะต้องรับผิดชอบ และถ้า “เด็กโกหก” ด้วย…นี่ก็ถือว่า ’เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ผู้ปกครองที่จะต้องรับผิดชอบด้วย“ เช่นกัน…

ต้องแก้ไข-ป้องกัน“ การ ’โกหก“…

’ต้องใส่ใจ“ ต้อง ’มิให้เด็กติดโกหก“

ทั้งนี้ ในเมืองไทยในระยะหลัง ๆ มานี้ก็มีหลายกรณีอื้ออึงที่เกิดขึ้นโดย “เด็ก” โดยก่อเกิด ความวุ่นวาย ความเสียหาย ไปจนถึง ความสูญเสีย ไม่ว่าจะเป็น ทรัพย์สินต่าง ๆ ต้นไม้ สัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข หรือถึงขั้นเป็นความเสียหาย-ความสูญเสียเกี่ยวกับ ร่างกาย-ชีวิตคน ก็มี!! โดยที่หลายกรณีนั้นเด็กมีการ “โกหก” ด้วย ซึ่งย้ำว่าเรื่องแบบนี้ “ต้องใส่ใจแก้ไข-ป้องกัน”

และกับการแก้ไข การป้องกันนั้น วันนี้ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ก็จะสะท้อนต่อข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับคนเป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง คนที่มีบุตรหลาน โดยข้อมูลที่จะสะท้อนต่อ ณ ที่นี้ในวันนี้เป็น “ข้อมูลเชิงจิตวิทยา” ที่ทาง พญ.อังคณา อัญญมณี ซึ่งเป็น จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลมนารมย์ ได้มีการสะท้อนไว้ผ่านบทความชื่อ ’ลูกโกหก…พฤติกรรมไม่พึงปรารถนา พ่อแม่ช่วยได้“ โดยหลักใหญ่ใจความนั้นมีว่า… พ่อแม่จำนวนมากเดือดเนื้อร้อนใจ เมื่อเริ่มพบว่า…ลูกของตนเริ่มมีพฤติกรรม ’พูดโกหก“ ซึ่งการพูดโกหก หากเกิดขึ้น แค่เป็นครั้งคราวก็อาจถือเป็นเรื่องเล็ก แต่ถ้าลูกทำ ’บ่อย ๆ“ ล่ะก็…

นี่อาจ ’บ่งบอกว่าลูกกำลังมีปัญหา!!“

การติดนิสัยไม่ยอมพูดความจริง การที่ “เด็กติดโกหก” นั้น หากปล่อยไว้จนเด็กเริ่มเป็นวัยรุ่นก็ อาจจะมีพฤติกรรมอื่น ๆ เกิดขึ้นร่วมกับนิสัยโกหกอีกหลายอย่างได้ อาทิ การหลอกลวง การทำลายของสาธารณะ การลักขโมย จนถึงการทำร้ายผู้อื่น ที่เมื่อทำบ่อยครั้งก็อาจกลายเป็นคนมีปัญหา หรือเกเร (Conduct disorder) และ เติบโตขึ้นอาจกลายเป็น โจร หรืออาชญากร ได้ …ซึ่งหากปล่อยทิ้งเด็กกลุ่มนี้ก็อาจก่อความเดือดร้อนก่อความเสียหายต่อสังคมอย่างมากมายได้…

จึง ’จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขนิสัย!!“

ทาง พญ.อังคณา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ได้มีการชี้ถึง ’พฤติกรรมโกหกของเด็ก“ ไว้ว่า… มีสาเหตุที่แตกต่างกันไปตามแต่ช่วงวัยหรือตามช่วงอายุ โดยแบ่งออกเป็นช่วงอายุหลัก ๆ ดังต่อไปนี้คือ…  เด็กช่วงอายุ 2-6 ปี สำหรับช่วงอายุช่วงนี้ การโกหก หรือมีการพูดไม่จริงนั้น สามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติ เนื่องจากความคิดของเด็กยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ อีกทั้งยังไม่สามารถแยกแยะว่าอะไรจริง อะไรคือจินตนาการ เช่น เด็กอาจบอกผู้ใหญ่ว่า…เหาะได้ เพราะอยากเป็นอย่างนั้น หรือกรณีที่เด็กถูกเพื่อนแกล้งบ่อย ๆ จนเด็กเกิดความกลัว จึงอยากเอาชนะความกลัว เด็กก็อาจโกหกว่า…ชกเพื่อนที่มาแกล้งจนวิ่งหนีไป

“ในเด็กวัยนี้ บางคนโกหกเพื่อทดสอบว่าพ่อแม่รู้หรือไม่ว่าเขาพูดไม่จริง เพราะเด็กวัยนี้มักจะมองว่าพ่อแม่รู้ทุกอย่าง ดังนั้นหากลูกวัยนี้พูดสิ่งที่เกินจริงไปบ้าง พ่อแม่ก็ไม่ควรตำหนิหรือกังวลเกินไป เพราะเป็นธรรมชาติเด็กวัยนี้ และสิ่งที่ควรทำคือรับฟังลูก กับแก้ไขความเข้าใจที่ถูกต้อง ให้ลูก”…เป็น “คำแนะนำ” เมื่อพบว่า “ลูกเริ่มโกหก”

ขณะที่เด็กที่โตขึ้น หรือ เด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ทาง พญ.อังคณา ระบุไว้ว่า… เป็นช่วงอายุที่ เด็กสามารถแยกแยะความจริงได้แล้ว ดังนั้นหากเด็กมีการพูดโกหก ก็อาจมีสาเหตุ ซึ่งสาเหตุมีดังนี้คือ… โกหกเพื่อหลีกหนีสิ่งที่ไม่ต้องการ เช่นกลัวถูกทำโทษเมื่อทำผิด,  โกหกเพื่อให้ได้รับสิ่งที่ต้องการ เช่น เด็กที่รู้สึกเหงาจะสร้างเรื่องน่าตื่นเต้นมาเล่า เพราะอยากให้พ่อแม่สนใจ, โกหกจากความผิดปกติทางด้านจิตเวช เช่น เด็กที่ป่วยเป็นโรคจิต เด็กที่สติปัญญาบกพร่อง

ทั้งนี้ สำหรับ ’การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโกหกของเด็ก“  ของลูกนั้น… พญ.อังคณา  จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลมนารมย์ ได้ให้ “ข้อแนะนำ” ผ่านบทความไว้ดังนี้คือ… สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกอยู่เสมอ เพื่อให้ลูกมั่นใจในความรักและความหวังดี เพื่อเวลาที่ลูกทำผิด หรือทำไม่ดีลงไป จะได้กล้าปรึกษากับพ่อแม่, ไม่ควรโมโหหรือตำหนิเมื่อลูกทำผิดทันที แต่ควรจัดการกับพฤติกรรมที่ผิดนั้นโดยใช้เหตุผลพูดคุย เพื่อปลูกฝังให้เขากล้ายอมรับความจริง และควรชื่นชมที่กล้าสารภาพผิด, ควรมีความไว้วางใจ ไม่คอยจับผิดหรือระแวงลูกจนเกินไป เพราะทำให้ลูกรู้สึกเหมือนเป็นนักโทษ…

เด็กอาจโกหกเพื่อให้พ่อแม่หยุดซักถาม

ถัดมา… ควรหลีกเลี่ยงการลงโทษที่รุนแรง เมื่อจับโกหกลูกได้ เพราะลงโทษเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ซึ่งยังมีทางออกที่ดีกว่าคือพูดจาทำความเข้าใจเหตุผลบางประการของลูก แต่พ่อแม่ก็จะต้องมีอารมณ์ที่สงบเพื่อรับฟังลูกอย่างจริงใจเสียก่อน, สังเกตว่าลูกมีอาการป่วยทางจิตเวชหรือไม่ เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้อาจโกหกโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่ทำไปเพราะเขาป่วย หากสงสัยว่าลูกมีภาวะดังกล่าวควรพาไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม และที่สำคัญอีกข้อคือ เป็นแบบอย่างที่ดีด้วยการไม่พูดโกหก เพราะเด็กอาจเข้าใจว่าการโกหกเป็นเรื่องปกติที่ทำได้ หรืออาจเลียนแบบผู้ใหญ่จนติดนิสัย “โกหก”

เด็กโกหก“…ย้ำว่า ’ต้องแก้ไข-ป้องกัน“

และ ’เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ผู้ปกครอง“

’อย่าคิดว่าเรื่องเล็ก…อาจร้ายแรงได้!!“.