หากพูดถึงอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ติดอันดับ 5 ของประเทศ คงไม่พูดถึงอุตสาหกรรมไมซ์ไม่ได้ ไมซ์ (MICE) อุตสาหกรรมพัฒนาการจัดงานอีเวนต์ทางธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับการประชุมบริษัท สมาคม และงานจัดแสดงสินค้า อุตสาหกรรมไมซ์เป็นธุรกิจบริการที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยอย่างมาก เพราะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และกระจายรายได้ที่เกิดขึ้น ไปยังภาคธุรกิจต่างๆ ในประเทศไทยอย่างกว้างขวาง พร้อมกับ ส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น
นางสาวไอยย์รัศ สิทธิพูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ.โน้ตเอเบิ้ล แบงค์คอก กล่าวว่า “บ.โน้ตเอเบิ้ล แบงค์คอก ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมไมซ์(MICE) อย่างเต็มตัวในวันนี้และต้องยอมรับว่าเป็นงานที่ไม่หมู เราต้องพัฒนาการทำงานให้ได้มาตรฐาน โดยที่ผ่านมาเข้าร่วมการอบรมต่าง ๆ ของ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ อาทิ คอร์สพัฒนาศักยภาพสถานประกอบการไมซ์ด้วย 2HY, คอร์ส MICE For Community, คอร์ส Thailand MICE Venue Standard เพื่อให้องค์กรทำงานได้มาตรฐานโลกและเป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ เรายังได้know how เฉพาะทาง และlocal connection ผ่านการร่วมกิจกรรม Domestic MICE FAM Trip 2021 ที่จัดโดย ทีเส็บ ผ่านเส้นทางเศรษฐกิจใหม่ถึง 3 เส้นทาง ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง โดยในภาคเหนือ มาในตรีม “A Sense of Harmony เปิดตำนานเมืองสองแคว แลวิถีถิ่นสุโข” ทางคณะได้ไปวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ทำกิจกรรมชุมชนที่ วนธารา รีสอร์ท เยี่ยมชมทรัพย์ไพรวัลย์ รีสอร์ทและศูนย์การเรียนรู้ช้าง ปิดท้ายด้วยการแสดงความพร้อมโชว์แสง สี เสียง ต่าง ๆ ที่พระราชวังจันทร์ นอกจากนี้ยังมี ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านวังส้มซ่า โรงนาบ้านไร และร่วมประเพณีลอยกระทง เผาเทียนเล่นไฟ ซึ่งคนในชุมชน ร้านอาหาร การเดินทางต่าง ๆ จังหวัด สถานที่ มีความพร้อมอย่างมากในการต้อนรับ
ดร.จุฑา ธาราไชย ผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(TCEB) ภาคเหนือ เผยว่า “ความพร้อมของเป้าหมายนักเดินทาง ทุกคนมองพิษณุโลกมุมเดิม คิดว่ามีแต่เรื่องไหว้พระ หรือสุโขทัยมีแต่เรื่องมรดกโลก แต่ถ้าหากเดินทางมาจริง จะเห็นว่า ตอนนี้มีเรื่องเมืองสร้างสรรค์ด้านศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน (Craft and Folk) ซึ่งได้เป็นเมือง Creative Cities ของ UNESCO โครงการของเราโปรโมทเรื่องผ้า ไปดูทอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นไฮไลต์ประจำถิ่น และโจทย์ใหญ่คือต้องการผลักดันเรื่อง Localization ซึ่งเป็นเทรนด์ของโลกที่คนจะใส่ใจรอบตัวมากยิ่งขึ้น จากเดิม คนคิดว่าใกล้บ้านเคยรู้หมดแล้ว ซึ่งในความเป็นจริงไม่ใช่ เราจึงได้ทำการบ้านในส่วนนี้ว่า ใกล้บ้านหรือในประเทศยังมีมุมที่คุณไม่เคยเห็น ดังนั้น Localization จึงตอบโจทย์การเดินทางยุคโควิดทั้งในระดับบุคคลและองค์กร ความท้าทายคือ ทำอย่างไรให้คนอยากมาเที่ยวและเกิดการบอกต่อ และ ทีเส็บสามารถช่วยเหลือในการให้ข้อมูล สนับสนุนและเป็นคู่คิดเคียงข้าง หากคุณอยากจัดกิจกรรมในทุกภาคของประเทศไทย”
สำหรับภาคตะวันออก พบกับ “A Sense of Colorful Sensory สัมผัสเมืองสร้างสรรค์ เรืองสีสันตะวันออก” เราได้ร่วมกิจกรรม Workshop กิจกรรม CSR รวมถึงการจับคู่เพื่อเจรจาธุรกิจ เพื่อสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ โดยได้มีการเดินทางไปยัง ชุมชนริมน้ำจันทบูร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เข้าร่วมเทศกาลดนตรีเมืองพัทยา Pattaya Exhibition And Convention Hall (PEACH) และชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลตะเคียนเตี้ย
นายสราญโรจน์ สุทัศน์ชูโต ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายบริหาร สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) กล่าวว่า “เราจัด Fam trip ให้องค์กร สมาคมต่าง ๆ ไปเห็นพื้นที่ ทั้งส่วนที่เป็น supply และ demand โดยพื้นที่เตรียมความพร้อมมาแล้วกว่า 3-5 ปี เราต้องจัดให้มีคนไปเรื่อย ๆ เพื่อให้คนในพื้นที่อยู่ได้อย่างยั่งยืน และจัดเป็นเส้นทางหลายจังหวัดเพิ่มความน่าสนใจ เช่นงาน exhibition ต่าง ๆ ก็ควรรวมกันหลาย ๆ จังหวัด เป็นงานภาค เพราะต่างชาติเข้ามาจะต้องการซื้อเยอะ เพราะว่า 1. ภาคตะวันออกดีขึ้นหลังจากโควิด เงินในการลงทุน แหล่งท่องเที่ยว คนจะไปที่ภาคตะวันออกเยอะ เพราะใกล้กรุงเทพ มี S Curve มี EEC 2. หลังจากที่กรุงเทพโต มีแนวโน้มว่าจะโตขยายไปทางขวาคือภาคตะวันออก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด EEC จะเป็นเซ็นเตอร์ของความเจริญหลาย ๆ อย่าง 3. เป็นโซนที่มีงานให้ชาวต่างชาติทำมากที่สุด นอกจากกรุงเทพ เป็นที่แรกที่คนจะมา”
และสุดท้ายที่ภาคกลางเส้นทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดกรุงเทพมหานคร “A Sense of Golden Land: หลงเสน่ห์เมืองสุวรรณ เล่าภูมิหลังอโยธยา” สำหรับเส้นทางพระนครศรีอยุธยา ทางทีเส็บได้จัดกิจกรรมไปเยี่ยมชม กลุ่มท่องเที่ยวโฮมสเตย์เกาะเกิด เดินทางไปทำกิจกรรมเรียนรู้เรื่องราวการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านของพ่อ และไปร่วมชมงานแสดง แสงสีเสียงประจำปีของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา “ยอยศยิ่งฟ้า อยุธยามรดกโลก” ปี 2564 ณ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เส้นทางกรุงเทพมหานคร ทางคณะฯ ได้เข้าไปทำกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ ชุมชนเก่าหัวตะเข้ เดินทางไปร้านอาหารภูมิใจการ์เด้น
นางอรชร ว่องพรรณงาม ผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ ฝ่ายพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ (TCEB) กล่าวว่า โดยกิจกรรม Domestic MICE FAM Trip 2021 “A Sense of Golden Land: หลงเสน่ห์เมืองสุวรรณ เล่าภูมิหลังอโยธยา” จัดขึ้นเพื่อสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการในโครงการ MICE 7 Themes และไมซ์เพื่อชุมชนให้กับหน่วยงานต่างๆ อาทิ สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) (TICA) สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) รวมไปถึง บริษัทจัดการจุดหมายปลายทาง และสื่อมวลชนอีกมากมาย อีกทั้งกิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อให้มีการกระตุ้นการตัดสินใจซื้อชายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการตลาดที่ได้รับผลกระทบในปัจจุบัน
เราได้ร่วมสัมผัสเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชน มองเห็นโอกาสทางธุรกิจ และเห็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชน ความพร้อมของชุมชน การคมนาคม สถานที่ต่าง ๆ เราได้ร่วมกิจกรรม Workshop กิจกรรม CSR รวมถึงการจับคู่เพื่อเจรจาธุรกิจ เพื่อสร้างเครือข่ายทางธุรกิจนำไปสู่การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการให้กับหน่วยงานพันธมิตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้ได้ไอเดียในการไปต่อยอดแนวคิดในการสร้างสรรค์งานให้กับลูกค้า อีกหนึ่งกิจกรรมดี ๆ ที่ได้มีส่วนช่วยสถานประกอบการและชุมชนในโครงการ MICE 7 Themes และไมซ์เพื่อชุมชนได้เป็นหมุดหมายหลักและเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ไทย กระตุ้นเศรษฐกิจทั่วไทย และร่วมสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนต่อไป
ติดต่อสอบถาม หรือขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.notablebangkok.com หรือ Facebook Fanpage https://www.facebook.com/notablebkk