วันที่ 21 ต.ค. น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาในหัวข้อ “ซอฟต์พาวเวอร์…พลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย” ภายในงานเสวนา เดลินิวส์ ทอล์ก 2024 (Dailynews Talk 2024) “Soft Power : โอกาสประเทศไทย” โดยระบุว่า การทำงานของคณะซอฟต์พาวเวอร์ มีคนตั้งคำถามว่า ซอฟต์พาวเวอร์คืออะไร มีบทบาทอะไรในสังคมโลก และมีคนตั้งคำถามว่าซอฟต์พาวเวอร์ไม่ควรพูดออกไปว่าจะทำอะไร

ทั้งนี้ มองว่าคำนิยามคือ การทำให้ประเทศ สังคมอื่น ทำตามในสิ่งที่อยากให้ทำ แต่ในวันนี้คำนิยามซอฟต์พาวเวอร์อาจแตกต่างออกไป คำนิยามซอฟต์พาวเวอร์ในประเทศไทย คือ การมีเสน่ห์

ขณะที่คำถามคือ ซอฟพาวเวอร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจหรือไม่นั้น ได้มีหน่วยงานจัดอันดับ 4 สถาบันที่ได้จัดอันดับ ตีความในหลากหลายมิติ หลายบริบท ทั้งการเมืองการปกครอง และเศรษฐกิจ แต่ในประเทศไทยจะสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยด้วยซฟอต์พาวเวอร์

ในวันนี้มีการจัดดัชนีซอฟต์พาวเวอร์ ไม่ใช่แค่ประเทศใดประเทศหนึ่ง เป็นการร่วมมือกัน ระหว่างประเทศต่างๆ มีการร่วมมือกันอย่างการทำเพลงทำดนตรี ร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่เรื่องเล้นลับอีกต่อไป โดยมองว่าการประกาศเรื่องซอฟต์พาวเวอร์จะทำให้ต่างชาติทั่วโลกทราบว่าจะทำอะไรและจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

น.พ.สุรพงษ์ กล่าวว่า รัฐบาลมีความตั้งใจจะทำให้ยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์นำไปสู่ประโยชน์ ต้องทำให้ไทยก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางไปสู่รายได้สูง สร้างไม่ให้คนไทยถูกทอดทิ้ง และทิ้งใครไว้ข้างหลัง ผ่านความร่วมมือกับต่างประเทศหรือแม้แต่กับประเทศไทย หรือทั้งภาครัฐและเอกชน

การผลักดันซอฟต์พาวเวอร์สร้างความร่วมมือครั้งใหญ่ ระหว่างภาครัฐ เอกชน และทุกองค์กร โดยคณะกรรมการซอฟต์พาวเวอร์มาร่วมกันผลักดัน เปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมผลักดัน เราจะต้องให้ซอฟต์พาวเวอร์เอกชนเป็นพระเอก มีปัญหาอุปสรรคภาครัฐต้องแก้ไขให้หมด และมีคนเก่งอีกมากมาย เช่น อัญมณี มีช่างน้อยมาก ไทยยังขาดแรงงานอัญมณี ขาดแรงงานทักษะสูง

น.พ.สุรพงษ์ ได้เน้นย้ำ ซอฟต์พาวเวอร์เป็นความร่วมมือ และต้องจัดตั้งองค์กรและทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง ตั้งแต่การคิดเชิงยุทธศาสตร์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างไร ,รวบรวมหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อคิดในเชิงบูรณาการ ขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์เป็นระบบ และระดับอนุกรรมการ 11 อุตสาหกรรม 12 คณะ มีอนุกรรมการระดับจังหวัด การขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์เป็นการลงรายละเอียด เป็นระบบต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ อยากให้มีนักรบซอฟต์พาวเวอร์ให้ได้มากที่สุด

อย่างไรก็ตามยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ที่ผ่านมามีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ ซึ่งมีความล่าช้าและไม่ได้งบตามเป้าหมาย แต่ที่ผ่านมาต้องอาศัยความร่วมมือกันทุกภาคส่วนเพื่อผลักดันตามยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ให้เกิดขึ้น เช่น หนึ่งโครงการหนึ่งเชฟอาหารไทย มีโค้ชมวยไทย สร้างเทศกาลเฟสติวัล เทศกาลดนตรี เทศกาลภาพยนตร์ และอุตสาหกรรมเกม เป็นต้น

น.พ.สุรพงษ์ ระบุว่า ในปี 68 มีโอกาสเป็นคนจัดอีเวนต์เกมระดับโลก และในงบประมาณปี 68 จะดำเนินการโครงการอบรม 1 หมู่บ้าน 1 เชฟอาหารไทย , โครงการพัฒนาบุคลากรครูด้านศิลปะ และโครงการอบรมหลักสูตรภาพยนต์ ฟิล์มแคมป์ และค่ายผลิตภาพยนต์สั้น รวมทั้งสนับสนุนและสร้างอีโคซิสเต็ม

นอกจากนี้ ในวันที่ 29 ต.ค. วินเทอร์เฟสติวัล มีความแตกต่างจากปีอื่นๆ และให้เกิดความเชื่อมั่น ให้ทั่วโลกรู้ว่าประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และอยากให้มีพ.ร.บ. THACCA ส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เข้าคาดจะครม.และสภาต่อไป คงจะเกิดขึ้นปี 68

น.พ.สุรพงษ์  สรุปทิ้งท้ายว่า “เชื่อว่าซอฟต์พาวเวอร์เป็นเครื่องมือให้ไทยเป็นประเทศรายได้สูงและพ้นความยากจนต่อไป”