“นอสตราดามุส” ถือเป็นนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ ที่มีชื่อโด่งดังจากการทำนายเหตุการณ์ในอนาคตได้อย่างแม่นยำ โดยมักจะเขียนคำทำนายรูปแบบโคลง จัดเรียงตามลำดับ เวลาและเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นและส่วนใหญ่ที่ผ่านมามักเกิดเหตุการณ์ลักษณะตรงหรือใกล้เคียงตามที่ทำนายหลายคำทำนาย โดยในปี 2025 ได้คาดการณ์ว่าจะเกิดปัญหาใหญ่ขึ้นบนโลกหลักๆ 2 ประเด็น ได้แก่ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และปัญหาเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่

ภัยพิบัติทางธรรมชาติรุนแรง ทำนายว่า ภาวะโลกร้อนจะส่งผลกระทบต่อโลกอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดพายุ น้ำท่วม และภัยพิบัติทางธรรมชาติอื่น ๆ สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน สอดรับกับรายงานของ ศูนย์เพื่อความก้าวหน้าของอเมริกา (CAP) ที่ระบุว่า วันที่ 22 กรกฎาคม 2024 เป็นวันที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ ส่งผลกระทบต่อประชากรกว่า 8 พันล้านคนทั่วโลก จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ไม่เพียงแต่เพิ่มความถี่ของพายุรุนแรง ก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ แต่ยังส่งผลกระทบต่อความ มั่นคงทางอาหาร ความขัดแย้งทางการเมือง ความยากจน และโรคระบาดในทั่วทุกมุมโลก

อันโดนิโอ กูเดอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวสุนทรพจน์ “The Climate Promise 2025” เน้นย้ำแผนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ โดยร่วมมือกันลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก และเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่ม ขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเชียส ทั้งนี้มนุษย์ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 40 ก็กระต้นในแต่ละปื ซึ่งในอัตรานี้เป้าหมายการลดอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียสจะไม่สามารถบรรลุผลได้

ดังนั้น ภายในปี 2030 มนุษยชาติต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 43% เมื่อเทียบกับปี 2019 พร้อมกับลดการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลลง 30% จากปัจจุบันที่ 60% ภายในสิ้นทศวรรษนี้ มนุษย์ต้องหยุดการตัดไม่ทำลายป่า และเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนเป็นสามเท่า ภาคส่วนหลัก ๆ ที่ปล่อยมลพิษ เช่น พลังงาน เกษตรกรรม การใช้ที่ดิน อุตสาหกรรม และของเสีย ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยไม่มีข้อยกเว้น หรือมาตรการใด ๆ ที่เป็นข้อจำกัด
ของเป้าหมายในการลดภาวะโลกร้อน

ภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรง โดย นอสตราดามุสยังทำนายถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ในปี 2025 ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาการ ขาดแคลนอาหาร สอดคล้องกับการวิเคราะห์ของ JP Morgan Research ที่คาดการณ์ว่า มีความเป็นไปได้ 45% ที่เศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอยภายในสิ้นปี 2025 โดยมีสาเหตุมาจากตลาด แรงงานที่อ่อนแอ รายงานของเครือข่ายโลกเพื่อต่อสู้กับวิกฤติอาหาร (GNAFC) ระบุว่า ในปี 2023 มีประชากรกว่า 282 ล้านคนใน 59 ประเทศ ประสบปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารอย่างรุนแรง

บทความ “Global Food Crisis in the Age of Disaster” โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศด้าน ระบบอาหารที่ยั่งยืน (IPES Food) ชี้ให้เห็นว่า ระบบอาหารสมัยใหม่ไม่สามารถรับมือกับวิกฤดการณ์ ต่าง ๆ เช่น ความผันผวนทางเศรษฐกิจ การระบาดของโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่เร่งให้เกิดวิกฤติอาหารทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2019 วิกฤติเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 ส่งผลให้เกิดอัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ประชากรยากจนไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้

แม้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงปลายปี 2020 และต้นปี 2021 แต่ปัญหาห่วงโซ่อุปทานยังคงส่งผลกระทบต่อราคาอาหาร ในช่วงกลางปี 2022 อัดราเงินเฟ้อของราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นกว่า 20% ในบางพื้นที่ของทวีปแอฟริกา เอเชีย ละตินอเมริกา และยุโรป ส่งผลกระทบต่อวิกฤติค่าครองชีพ และปัญหาทางการเมือง ด้านองค์การอาหารและการเกษดรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประเมินว่า ในปี 2023 จะมีประชากร 20 – 30 ล้านคนทั่วโลก ต้องเผชิญกับความหิวโหย อันเป็นผลมาจากความขัดแย้งทางการเมืองในยูเครน

รวมไปถึง ในปี 2022 ประเทศอินเดียเผชิญกับปัญหาโลกร้อนอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้ การผลิตข้าวสาลีลดลงถึง 25% รัฐบาลต้องออกคำสั่งห้ามส่งออกข้าวสาลี หลังจากที่ฝนดกหนัก ในฤดูมรสุมทำลายพืชผลข้าว อินเดียก็สั่งห้ามการส่งออกอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม สภาพอากาศถือเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหารในภูมิภาคที่ผลิตข้าวหรือธัญพืช รวมถึงอเมริกาเหนือ ออสเดรเลีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความวุ่นวายที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศในตลาดอาหารโลกมีแนวโน้มที่จะเลวร้ายลง คำทำนายของนอสตราดามุส สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาสำคัญที่โลกกำลังเผชิญ ทั้งการเปลี่ยนแนแปลง สภาพภูมิอากาศ และภาวะเศรษฐกิจถถอย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะในปี
2025 หวังว่ารัฐบาลต่างจะดำเนินนโยบายเพื่อรับมือกับวิกฤตการณ์เหล่านี้ และทำให้เราทุกคน สามารถผ่านพ้นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นไปได้

ทั้งนี้ มิเชล เดอ นอสตราดามุส หรือที่รู้จักกันในนาม “นอสตราดามุส” เกิดที่เมืองแซงค์ เรมี เดอ โพรวองซ์ ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1503 ในครอบครัวที่มีเชื้อสายผิว เป็นนักปรัชญา นักวิทยาศาสตร์ในตำนาน ที่โด่งดังจากคำทำทำนายอันน่าสะพรึงกลัว ซึ่งบันทึกไว้ในหนังสือ “เลส โปรเฟซีส์” (Les Propheties) ดีพิมพ์รั้งแรกในปี ศ.ศ. 1555 เมื่อนอสดราดามส อายุ 15 ปี เขาชอบเดินทางไปทั่วชนบทของฝรั่งเศสเพื่อเตรียมยาทำมือ แม้ว่าจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ณ เวลานั้น แต่เขาก็ยังมุ่งมั่นที่จะต่อไป เพื่อเตรียมยาที่สามารถรักษาโรคระบาดได้

แต่พรสวรรค์ของเขาไม่ได้เป็นยอมรับจนกระทั่งในช่วงนั้นปลายของชีวิต เมื่อพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 9 แต่งตั้งนอสตราดามุสเป็นตำแหน่งแพทย์หลวงในปี 1560 เขาจะทำนายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยครอบคลุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สงคราม ไปจนถึงเหตุการณ์ส่าคัญทาง สังคมและวัฒนธรรม โดยคำทำทำนายส่วนมากกลายเป็นความจริง เช่น การเสียชีวิตของกษัตริย์เฮนรี่ที่ 2 การขึ้นสู่อำนาจของจักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ดแห่งฝรั่งเศส การก่อตัวของนาซีเยอรมนี สงครามโลก และการปฏิวัติฝรั่งเศส ปี 1789

ข้อมูลจาก : soha