เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีที่ชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั้วไป ออกมาชี้ปัญหาที่โรงพยาบาลรัฐประสบปัญหาสถานการณ์การเงินน่าเป็นห่วงต้นทุนการรักษาคนไข้แต่ละโรคผู้ป่วยคนไข้ในประมาณ 13,000บาทต่อหน่วยเป็นต้นทุนซึ่งเป็นโรคเดียวกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ่าย 8,350 บาทต่อหน่วย เห็นแล้วจะทำกันอย่างไรให้มีประสิทธิภาพงานนี้ต้องเข้ามาแก้ใขก่อนจะล่มสลายไปทั้งระบบ

ทางด้านนพ.อนุกูล ไทยถานันดร์ ผอ.โรงพยาบาลราชบุรี ประธานชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป กล่าวถึงการทำงานของโรงพยาบาลของรัฐบาลไม่ได้มองถึงผลกำไลหรือขาดทุน มีหน้าที่ดูแลสุขภาพประชาชนงานดูแลจำเป็นต้องมีทรัพยากรต่างๆเข้ามาด้วยโดยเฉพาะเรื่องงานวัสดุอุปกรณ์ต่างๆและเจ้าหน้าที่ ทางโรงพยาบาลจำเป็นต้องนำทรัพยากรต่างๆเพื่อมาบริหารจัดการเพื่อให้มีการบริการคนไข้ได้ดีที่สุดปัญหาที่มีข่าวในช่วงนี้เราพบว่าสถานการณ์การเงินของโรงพยาบาลของรัฐบาลค่อนข้างน่าเป็นห่วงต้นทุนในการรักษาคนไข้แต่ละโรคผู้ป่วยคนไข้ในประมาณ 13,000บาทต่อหน่วยไม่ใช่ราคาขายไม่ได้บวกกำไลแต่มันเป็นต้นทุนที่กองทุนจ่ายไม่เท่ากันซึ่งเป็นโรคเดียวกันจ่าย 11,000 บาท ประกันสังคมจ่าย 12,000 บาทกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ่าย 8,350บาทต่อหน่วย

ซึ่งสถานการณ์เป็นเช่นนี้มาโดยตลอดและต้องใช้เงินร่วมกันเอาเงินคนไข้บัตรทองให้เงินประกันสังคมแม้แต่เงินบริจาค มาใช้ร่วมกันเป็นสิ่งจำเป็นที่เราใช้ร่วมกันมาตลอดเพื่อให้มีทรัพยากรเพียงพอเข้ามาดูแลคนไข้ในปีนี้จะหนักมากกว่าทุกปีในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประกาศไม่จ่าย 8,350 บาทแล้วแต่จะจ่ายอยู่ 7,000 บาทใน 4 เดือนสุดท้ายซึ่งกังวลกันมากเมื่อจ่ายต่อหน่วยน้อยลงมีโรงพยาบาลหลายโรงพยาบาลมีผลกระทบเพราะว่าเงินบัตรทองจะต้องหักเงินเดือนเจ้าหน้าที่ก่อนถึงจะส่งให้โรงพยาบาลจะพบมีหลายโรงพยาบาลที่ไม่มีเงินจะจ่ายติดอยู่ที่บัตรทองสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรักษาไปแต่ไม่มีเงินกลับมาซื้อยาบางโรงพยาบาลแต่บางโรงพยาบาลยังพอมีอยู่บ้างแต่สถานการณ์ก็ไม่คล่องตัว 8,250 บาทซึ่งเป็นการจ่ายต่ำกว่าต้นทุนมานานแล้ว

แนวทางการแก้ปัญหาทางชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั้วไป เสนอตาม พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขาร่างไว้ได้ดีการกำหนดอัตราค่าบริการต้องคำนึงถึงราคาที่เป็นจริงและเหมาะสมร่างนั้นชี้ให้เห็นถึงราคาที่เป็นจริงและเหมาะสมหากกองทุนที่จ่ายต่ำมากจะทำให้กระทบกับคุณภาพและมาตรฐานจึงมีการเสนอสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่จะเอาราคาต้นทุนมาทำงบประมาณไม่ควรใช้ราคาเดิมที่จ่ายมาเท่านั้นเมื่อโรงพยาบาลเริ่มวิกฤตก็ต้องส่งเสียงแจ้งโดยมีรัฐมนตรีได้สั่งการให้แก้ปัญหาปรับกลับขึ้นมาเป็น 8,000 กว่าบาทก็จึงทำให้ดีขึ้นแต่ตรงนี้เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในปีนี้ซึ่งวิกฤตการแก้ปัญหาระยะยาวต้องทำงบประมาณตามปริมาณงานที่เกิดขึ้นจริงราคาที่เหมาะสมจะทำให้โรงพยาบาลต่างๆนี่สามารถมีปัจจัยมาเพื่อบริการอย่างครบถ้วนและมีคุณภาพระบบสุขภาพจะยั่งยืนได้จะต้องใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพไม่ฟุ่มเฟือยโรงพยาบาลจะอยู่ได้จะไม่ล่มสลายไปและประชาชนจะต้องช่วยกันดูแลสุขภาพตนเองด้วยจะทำให้ระบบสุขภาพอยู่อย่างยั่งยืนแต่สิ่งหนึ่งอยากให้หลักประกันสุขภาพแห่งชาตินำเสนอสิทธิประโยชน์ใหม่ๆเป็นสิ่งที่ดีประชาชนคนไทยรับในสิ่งที่ดีขึ้นแต่จะต้องเสนอข้อมูลที่ครบถ้วนเรื่องของต้นทุนและกิจกรรมต่างๆที่เพิ่มมากขึ้นจำเป็นต้องมีงบประมาณเข้ามาเพิ่มด้วยไม่ควรยกภาระให้เป็นของผู้บริการอย่างเดียวอย่างเช่นงบผู้ป่วยในเป็นสิ่งจำเป็นที่ดูแลผู้ป่วยที่มีอาการหนักจำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาลบางคนจะต้องผ่าตัดบางคนจะต้องต่อท่อเข้า ICU

บางคนจะต้องฝึกกายภาพบำบัดบางคนต้องสวมหัวใจคนไข้เหล่านี้จำเป็นต้องใช้งบผู้ป่วยในแต่หลักคิดคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเป็นงบปลายปิดคือมีเงินเท่าไหร่ให้เท่านั้นจากคนป่วยที่ป่วยมากขึ้นไม่ได้ลดลงจะทำให้แต่ละรายมีเงินลดลงขณะเดียวกันกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติบางคนเสนอสิทธิประโยชน์ใหม่ๆไม่สะดวกรับยาที่โรงพยาบาลให้รับยาที่บ้านโดยการส่งยาทางไปรษณีย์หรือเจ็บป่วยเล็กน้อยเป็นไข้หรือเจ็บคอให้ไปรับยาที่ร้านยาวิธีคิดแบบนี้เหมาะสมจริงหรือเปล่าคนไข้หนักที่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลใส่ท่อไอซียูงบปลายปิดแต่ส่วนคนเจ็บไข้เล็กน้อยเราเพิ่มสิทธิประโยชน์อำนวยความสะดวกแต่เป็นงบปลายเปิดไปเท่าไหร่ก็ได้เท่านั้น

สำหรับแนวคิดอย่างนี้คงต้องมาดูกันให้ดีว่ามันถูกต้องและบทสมจริงหรือหากเราจะเติมงบประมาณที่จำเป็นรักษาชีวิตคนไข้ก่อนอย่างน้อยให้เพียงพอให้ไปโรงพยาบาลสามารถดูแลได้และเงินที่เหลือถ้ามีถึงค่อยมาจัดสรรเรื่องอำนวยความสะดวกจะดีกว่าไหมซึ่งมีคำถามไปถึงสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต้องพิจราณาเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง