พร้อมเชื่อมโยงสู่การขอมาตรฐานหรือฉลากสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงตามแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพและเศรษฐกิจหมุนเวียน รองรับนโยบายการปฏิรูปอุตสาหกรรม ช่วยสร้างมูลค่า ลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยปีงบประมาณ 67 ดำเนินการกว่า 10 กิจกรรม รวมมูลค่าโครงการกว่า 100 กว่าล้านบาท สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 1,380 ล้านบาทต่อปี ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 61,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 5.08 ล้านต้น

สำหรับโครงการที่ดีพร้อมได้ดำเนินการ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นการสนับสนุนให้ธุรกิจออกแบบ ใช้รูปแบบโมเดลธุรกิจใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพหมุนเวียนทรัพยากรหรือวัสดุกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด, การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเชิงพื้นที่เพื่อสุขภาพและความงาม, การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากซูเปอร์ฟู้ด เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากซูเปอร์ฟู้ดที่มีศักยภาพและโดดเด่นในแต่ละพื้นที่ของไทย, การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเส้นใยชีวภาพ เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิมจากเส้นใยชีวภาพ เช่น กัญชง สับปะรด ไผ่ ผักตบชวา

นอกจากนี้ได้พัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงพืชเศรษฐกิจสู่แนวทาง BCG Model ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายผู้ประกอบการพืชเศรษฐกิจระหว่างพื้นที่ โดยพัฒนาโครงการ กิจกรรมนำร่อง (Pilot Project) ร่วมกัน อาทิ กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการตลาด กิจกรรมพัฒนาศักยภาพเชิงลึก รวมถึงเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ด้วยโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นการสนับสนุนให้ธุรกิจออกแบบกระบวนการ ผลิตภัณฑ์ บริการ และรูปแบบโมเดลธุรกิจ ให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และหมุนเวียนของทรัพยากรหรือวัสดุกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด จนนำไปสู่การไม่มีของเสียเกิดขึ้น

การพัฒนาผลิตภัณฑ์อัพไซเคิล เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ด้านอาหาร แฟชั่นและไลฟ์สไตล์ หรืออิเล็กทรอนิกส์จากวัสดุเหลือใช้ ของเสีย หรือผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต และยกระดับเอสเอ็มอี ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียวสู่สากล เป็นการพัฒนาและยกระดับกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยแนวคิด BCG ส่งเสริมให้สถานประกอบการมีการกำหนดแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ขณะเดียวกันได้พัฒนาและยกระดับกระบวนการผลิตพลังงานและเชื้อเพลิงจากชีวมวล เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตพลังงานความร้อนจากเชื้อเพลิงชีวมวล และกระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลจากวัสดุชีวภาพ พร้อมดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, ยกระดับสินค้าและบริการสู่สากลด้วยฉลากสิ่งแวดล้อม (ECO-Certified) ช่วยเตรียมพร้อมจัดทำรายงานการประเมินก๊าซเรือนกระจกเพื่อขอรับการรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เช่น CFO, CFP, CFR และ CE-CFP และสร้างความตระหนักและการพัฒนาองค์ความรู้ด้าน BCG ช่วยฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและพัฒนาองค์ความรู้ด้าน BCG ให้กับบุคลากรภาคอุตสาหกรรม.