ว่าเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าโลกร้อนมีกลไกต่าง ๆ เข้ามาบังคับมากขึ้น แต่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่ผ่านมาประเทศไทยใช้พลังงานฟอสซิสเป็นหลัก และกำลังเปลี่ยนไปสู่การใช้  RE (Renewable Energy) หรือพลังงานหมุนเวียน ถ้าฟอสซิลเองเปรียบได้กับ   รถบรรทุกใช้น้ำมันปล่อยมลพิษ แต่รถบรรทุกวิ่งได้ทุกสถานการณ์ฝนตกแดดออก กลางคืน กลางวัน ขณะที่ RE เปรียบเสมือนรถจักรยานไม่ใช้เชื้อเพลิง จะใช้การขนส่งเท่ารถบรรทุกต้องใช้รถจำนวนมาก แต่ตรงกลางต้องใช้ผสมผสานกัน ทั้งรถบรรทุกที่มีมลพิษบ้างและรถจักรยานที่ไม่มีมลพิษ

ขณะที่ถนนที่ไปเปรียบเสมือนสายส่งไฟฟ้า ถ้าเกิดมีสายส่งเส้นเดิม ถ้าเราใช้รถจักรยานจำนวนมาก ทำให้การบริหารจัดการค่อนข้างลำบากกว่าการใช้รถบรรทุก ทำให้เป็นต้นทุนแฝงอยู่ในเรื่อง RE ดังนั้นก่อนที่จะเปลี่ยนผ่านพลังงานเราจำเป็นต้องมีการใช้ผสมผสานในลักษณะนี้ นี่คือการจินตนาการ

ในความเป็นจริง การบริหารจัดการให้รถบรรทุกปล่อยมลพิษน้อยลง การบริหารจัดการพลังงานในภาคกลางคืนที่มีการใช้พลังงานน้อยแต่เพิ่มกำลังการผลิตในช่วงนี้หรือการกักเก็บพลังงานไว้ในแบตเตอร์รี่เป็นต้น ซึ่งแต่ละประเทศมีวาสนาทางพลังงานต่างกัน ยกตัวอย่าง สิงคโปร์นำเข้าพลังงานจากต่างประเทศทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นแก๊ส นํ้ามัน ราคาค่าไฟจึงสูง ขณะที่ฟิลิปปินส์ มีทรัพยากรค่อนข้างน้อย จึงใช้ถ่านหินเป็นหลักค่าไฟจึงสูงเช่นกัน ดังนั้นการเปลี่ยนมาใช้พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมทำได้ลำบาก ขณะที่ประเทศเรามีแหล่งแก๊สยังเป็นประเทศที่อยู่ตรงกลาง ที่ลดการปล่อยคาร์บอนน้อยลงดีกว่าประเทศอื่น ๆ ได้

เมื่อศักยภาพด้านพลังงานของแต่ละประเทศไม่เหมือนกันนโยบายด้านค่าไฟฟ้า จึงแตกต่างกัน ประเทศที่ให้ความสำคัญเรื่องอัตราค่าไฟ 300 หน่วยสำหรับที่อยู่อาศัยคือประเทศมาเลเซียถือว่าถูกมาก แต่ปล่อยราคาค่าไฟของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และขนาดกลางไปตามกลไกตลาด เช่นเดียวกับอินโดนีเซีย ขณะที่ประเทศไทยบ้านอยู่อาศัยรัฐบาลสนับสนุนส่วนหนึ่งแต่ไม่เยอะเท่าไร ดังนั้นอัตราหน่วยค่าไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย กับโรงงานอุตสาหกรรมจะใกล้เคียงกัน

เหตุผลที่รัฐบาลมาเลเซียกับอินโดนีเซียช่วยค่าไฟที่อยู่อาศัยเยอะ เพราะมาเลเซียได้แก๊สจากอ่าวไทยมีราคาต้นทุนเมื่อขายเข้าโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตไฟฟ้า ขายในราคาตลาด สมมุติราคาต้นทุน 100 บาท ราคาตลาด 300 บาท ดังนั้นส่วนต่าง 200 บาท เก็บเข้ารัฐบาลแล้วเอาไปสนับสนุนค่าไฟให้ประชาชน โดยเอาเงินจากผลประโยชน์จากทรัพยากรที่ได้มา โดยที่รัฐบาลไม่ต้องใช้เงินภาษี อินโดนีเซียก็เช่นกันขายถ่านหิน

ขณะที่ประเทศไทยใช้ราคาต้นทุน ดังนั้นจึงไม่มีเงินเหลือมาสนับสนุนในกลุ่มเปราะบาง ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องใช้เงินภาษี งวดหนึ่ง 2,000-3,000 ล้านบาท จริง ๆ แล้วโครงสร้างแบบนี้ใช้มาระดับหนึ่งแล้วอาจต้องมีการปรับเปลี่ยน แต่อาจมีการต่อต้าน ซึ่งต้องทำด้วยความระมัดระวัง โดยนโยบายเรื่องค่าไฟควรเปรียบเทียบกับประเทศอื่นว่าเราจะไปอย่างไร จะเห็นว่า การใช้ไฟบางกลุ่มอาจจะมีความต้องการสีเขียว บางกลุ่มอาจจะไม่ต้องการ การที่มีใบรับรองมาระบุว่าผู้ใช้ไฟใช้ไฟจากแหล่งการผลิตไฟฟ้าชนิดใดเป็นสิ่งดีมาก จะสามารถจับคู่ผู้ผลิตกับผู้ใช้ได้ อนาคตคงมีการโมดิฟายในลักษณะนี้ได้ต่อไป.