กลายเป็นประเด็นใหญ่ ที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางสำหรับเหตุการณ์วิทยุติดตามตัว หรือที่คนเรียกติดปากว่า ‘เพจเจอร์’ อุปกรณ์สื่อสารที่ตกยุดไปแล้ว ได้ถูกใช้ให้กลายเป็นเครื่องมือจุดชนวนระเบิดโจมตีกลุ่มติดอาวุธฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน ที่ผ่านมา  ทำให้มีผู้เสียชีวิต 9 ราย และผู้บาดเจ็บราว 2,800 คน

กรณีแบบนี้สามารถทำได้หรือไม่ เกิดขึ้นได้อย่างไร วันนี้ “เดลินิวส์” หาคำตอบให้จากผู้เชี่ยวชาญว่าทำไม  เพจเจอร์’ จึงกลายเป็นวัตถุระเบิดไปได้?

พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ( สกมช.กล่าวกับ เดลินิวส์ ว่า  กรณีการระเบิดของเพจเจอร์ที่เป็นข่าวในต่างประเทศนั้น จะต้องมีการเพิ่มสารที่เป็นวัตุถุระเบิดในเครื่องก่อน เพราะปกติเพียงแค่ถ่านหรือแบตเตอรรี่ที่เป็นแหล่งพลังงานหากเกิดระเบิด จะไม่รุนแรงจนถึงขั้นทำให้เสียชัวิต

สำหรับต้นเหตุที่กลุ่ม อาวุธฮิซบอลเลาะห์ กลับไปใช้เพจเจอร์ เพราะอุปกรณ์มือถือ สามารถระบุผู้ใช้งาน ตำแหน่ง หรือดักฟังได้ จึงหันกลับไปใช้ เพจเจอร์ เพื่อให้ไม่สามารถตามตัวได้

สำหรับวีธรการการทำให้เพจเจอร์ระเบิด ยังไม่ได้รับการยืนยัน แต่คาดการ์ณว่า มีการส่งข้อความบางอย่าง และตัวระบบของเพจเจอร์ได้เห็นโค้ดข้อความเข้ามาที่เครื่องทำห้มีการจุดระเบิด เพราะจากที่เห็นในคลิปบางส่วนเครื่องสั่น หรือมีข้อความแจ้งเตือนเมื่อคนใช้ก้มดูก็เกิดระเบิด เครื่องมีรหัสบางอย่างฝั่งไว้ในตัวซอฟท์แวร์ และต้องเครื่องมีการฝั่งระเบิดไว้ด้วย

“ปกติการใช้โทรศัพท์มือถือ จะมีการเชื่อมต่อกับเซลล์ไซด์ หรือเสาโครงข่ายสัญญาณอย่างน้อย 3 เสา ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่ามือถือเบอร์นี้เกาะอยู่กับ เซลล์ไซด์ไหน แต่การใช้เพจเจอร์ เมื่อเราอยู่ใกล้รัศมีสัญญาณวิทยุแล้ว เมื่อมีข้อความส่งมาตรงกับเลขเครื่อง ก็จะได้รับข้อความ จึงเป็นวีธีที่ผู้ใช้งานต้องการหลีกเลี่ยงการแสดงตัวตน สำหรับกรณีที่เกิดเหตุระเบิด ก็จะเป็นการส่งข้อความโค้ดลับมาแล้ว ก็จะถูกทิกเกอร์ หรือจุดชนวนกับซอฟท์แวร์ หรือโค้ด และระเบิดที่ถูกฝั่งไว้แล้ว จึงเกิดการระเบิดขึ้น”

พลอากาศตรีอมร ยังบอกต่อว่า คนทั่วไปคงไม่ได้เป็นเป้าหมาย ซึ่งจากข่าวผู้เสียชีวิตไม่ใช่ กลุ่มติดอาวุธฮิซบอลเลาะห์ทั้งหมด แสดงว่า ใครที่ซื้อของเพจเจอร์ในล็อตนี้ ก็จะเกิดอันตรายไปด้วย โดยขั้นตอนการติดตั้งโค้ด และระเบิดอาจถูกกระทำในขั้นตอนการขนส่งระหว่างทางก่อนที่จะนำมาขายก็เป็นได้ ซึ่งตามปกติของเพจเจอร์ ก็เป็นอุปกรณ์ที่ไม่ได้มีความซับซ้อนไฮเทคมาก ส่งเพียงส่งข้อความไป แล้วคลื่นความถี่ตรงกัน เลขเฉพาะเครื่องตรงก็สามารถรับข้อความได้ พอรับโค้ดแล้วตรงกันกับที่ฝั่งไว้ก็จะเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดระเบิดได้ แต่ต้องมีการฝั่งระเบิดไว้ที่เครื่องก่อนด้วยเช่นกัน

“อุปกรณ์เพจเจอร์ อาจส่งขนส่งมาจากบริษัทผู้ผลิตแต่กว่าจะมาถึงอาจจะโดนนำไปดัดเปลงก่อนวางขายหรือนำไปแจก หากเป็นอุปกรณ์ปกติไม่ได้ถูกดัดแปลงอย่ามากก็แค่ร้อนเกิดไฟไหม้ระเบิด แต่ความรุนแรงจะไม่เท่ากับที่เป็นในข่าว ปกติถ่ายไฟฉายที่ใช้เป็นแบตเตอรี่สามารถระเบิดได้ แต่ไม่ทำให้อันตรายถึงชีวิต

อย่างไรก็ตามในกรณีนี้บริษัทผู้ผลิตในไต้หวันก็ได้ออกมาปฎิเสธแล้วว่าเลิกผลิตและได้ขายลิขสิทธิ์ให้กับบริษัทในฮังการีไปแล้ว ซึ่งอาจจะมีการเข้าไปดัดเปลงเครื่องระหว่างทางขนส่งจากฮังการี  ไปยังเลบานอลได้ แต่คงไม่สามารถไปบอกได้ว่าเป็นฝีมือของกลุ่มใด อยู่ที่ฝ่ายไหนจะได้ประโยชน์จากเหตุกาณ์นี้  แต่ตามข่าวก็มีการคาดเดาว่าเป็นกลุ่มสายลับของอิสราเอล แต่คนทำคงไม่ออกมายอมรับ เหตุกาณ์นี้เป็นเรื่องที่ทำได้อยาก ต้องเกี่ยวข้องหลายฝ่าย ต้องเป็นกระบวนการสายลับถึงดำเนินการแบบนี้ได้ เพราะเป็นวิธีที่แยบยล ในด้านสายลับกับไซเบอร์ที่ต้องผสมกัน

สุดท้าย พลอากาศตรี อมร บอกต่อว่า  สำหรับในประเทศไทยประชาชนคนทั่วไปไม่ควรตื่นตระหนก เพราะไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย และปกติอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ที่นำเข้ามาจำหน่ายในไทย ทาง สำนักงาน กสทช. จะมีการตรวจสอบเครื่องและมาตรฐานต่างๆ ก่อนให้นำมาวางจำหน่ายในท้องตลาด และไม่ควรใช้อุปกรณ์ที่มีการลักลอบนำมาขายที่ไม่ได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานรัฐ เพราะเป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานมีคุณภาพต่ำ

จิราวัฒน์ จารุพันธ์