น้อง ๆ ได้ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี เพื่อฟังเสียงชุมชน ดู Pain Point ที่เกิดในพื้นที่ และดูนวัตกรรมที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนาดูแลที่แหลมผักเบี้ย แล้วนำมาพัฒนา นวัตกรรม และสร้าง Start Up ให้เกิดเป็นธุรกิจได้จริง

ค่ายนี้ได้ค่อย ๆ พัฒนาต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่ 4 แล้ว

ตอนที่ผมชวนน้อง ๆ คุยเรื่องภาวะโลกเดือด ผมดีใจมากที่น้อง ๆ ที่นี่ตอบคำถามเรื่องคาร์บอนได้ดี บางคนบอกว่าเราต้องช่วยกันควบคุมอุณหภูมิโลกให้ไม่สูงขึ้นเกิน 1.5 องศา ผมถามต่อว่าถ้าอย่างนั้นน้อง ๆ แต่ละคนปล่อยคาร์บอนส่วนตัวได้ไม่เกินเท่าใด มีน้อง ๆ ตอบได้อีกว่า ไม่เกิน 2 ตัน ผมถามต่อว่าคาร์บอน 2 ตันมันใหญ่แค่ไหน ก็มีคนตอบว่าขนาดราว ๆ ห้องแถว 4 ชั้น 4-5 ห้อง ซึ่งก็ใกล้เคียง หลายคนที่ยังไม่ทราบก็เรียนรู้ไปพร้อมกัน โดยใช้ App ชื่อ Net Zero Man แล้วกรอกพฤติกรรมการใช้ชีวิตกัน ซึ่งผลจะออกมาน้อง ๆ ปล่อยคาร์บอนกันคนละ 5-10 ตันต่อปี ซึ่งเป็นปกติของคนไทยที่ใช้ชีวิตในเมือง

เมื่อรู้อย่างนี้แล้วน้อง ๆ ก็ลองคิดหาวิธีที่ช่วยกันลด และชดเชย โดยโครงการนวัตกรรมที่จะทดลองกันที่จังหวัดเพชรบุรี ก็จะวนเวียนอยู่กับเรื่อง Net Zero และ Circular Economy หรือที่จริงแล้วก็คือ “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ฉบับนวัตกรรมชุมชนนั่นเอง

สำหรับผม “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” สอนให้เราตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในโลก ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ เช่นภาวะโลกเดือด จะเพิ่มความเสี่ยงสำหรับการดำเนินชีวิตในทุกมิติ เราต้องปรับตัว ด้วยการเร่งสร้าง ภูมิคุ้มกัน ด้วยการเริ่มจากตัวเองที่จะมีวิถีชีวิตและการบริโภคอย่างพอประมาณ อย่าง มีเหตุผล เพื่อควบคุมการปลดปล่อยคาร์บอนไม่ให้สุดโต่ง และ นวัตกรรมที่
น้อง ๆ จะคิดค้นขึ้นมานี้ก็เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ใน SDG 17 ข้อ

KU Innovation Camp เป็นตัวอย่างที่ดี ที่น่าจะขยายผลให้เป็นการเรียนรู้ที่อยู่ในหลักสูตรมาตรฐานของมหาวิทยาลัย และเป็นมาตรฐานใหม่ของการเรียนการสอนในทุกโรงเรียน และมหาวิทยาลัย นวัตกรรมการเรียนรู้เล็ก ๆ
นี้ สามารถเปลี่ยนโลกให้ยั่งยืนได้จริง.