เมื่อวันที่ 12 ก.ย.ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) พล.อ.เจริญชัย หินเธาว์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพบก ได้สั่งการให้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 3 ระดมสรรพกำลังและยุทโธปกรณ์ เสริมทัพ เร่งเข้าช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือ พร้อมทั้งสนับสนุนหลังนำรถเพื่อฟื้นฟูซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน

ผบ.ทบ. กล่าวต่อว่า โดยสถานการณ์อุทกภัย  ในห้วงวันที่ 16 ก.ค.-12 ก.ย. 67  ที่ผ่านมา มีร่องมรสุมและพายุดีเปรสชัน ยางิ พาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนบน ส่งผลให้มีฝนตกต่อเนื่อง และฝนตกหนักในบางพื้นที่ โดยเฉพาะ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ และ ตาก ทำให้เกิดน้ำป้าไหลหลาก และน้ำลันตลิ่งเอ่อลันเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และพื้นที่ การเกษตรกรรม ซึ่งปัจจุบันผลกระทบจากพายุนางิ ห้วง 7- 8  ก.ย. 67 ที่ผ่านมาทำให้มีฝนตกหนัก

ผบ.ทบ. กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ในพื้นที่ประเทศเมียนมา รวมทั้งพื้นที่ตอนเหนือของประเทศไทยส่งผลให้น้ำจากเทือกเขาในประเทศเมียนมาไหลลงมาสู่แม่น้ำสายปริมาณมาก จนทำให้น้ำลันตลิ่งประกอบกับพื้นที่ตอนเหนือของประเทศไทย ฝนตกหนักปริมาณมากกว่า 200 มิลลิเมตร ในห้วงวันที่ 9- 10 ก.ย. 67 ที่ผ่านมา น้ำทั้งสองส่วนนี้เป็นเหตุทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันที่ อ.แม่สาย ซึ่ง แม่น้ำสายจะไหลไปรวมกับ แม่น้ำรวก ที่ อ.เชียงแสน และไหลลงสู่แม่น้ำโขงต่อไปแต่ในปัจจุบันระดับน้ำในแม่น้ำโขงอยู่ในระดับ ที่สูง พื้นที่ที่จะต้องเฝ้าระวังคือ พื้นที่ อ.เชียงแสน มีโอกาสน้ำลันตลิ่งท่วมฉับพลันได้ อีกทั้งยังยังมีน้ำ อีกส่วนที่มาจาก อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันเกิดเหตุดินโคลนถล่มเนื่องจากฝนตกติดต่อกันหลายวัน รวมทั้งมีปริมาณน้ำมาจากประเทศเมียนมา ไหลมาสู่แม่น้ำกก ผ่าน อ.เมืองเชียงราย ส่งผลให้บริเวณสองฝั่งตลิ่งริมแม่น้ำกก เกิดน้ำลันตลิ่งไหลท่วมบ้านเรือนประชาชนและสถานที่ต่างๆริมฝั่งแม่น้ำพื้นที่เฝ้าระวังต่อไป คือ อ.เวียงเชียงรัง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่แม่น้ำกกกไหลผ่านปลายทางสู่แม่น้ำโขงต่อไป

ผบ.ทบ. กล่าวด้วยว่า การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพบก โดย ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพภาคที่ 3 ซึ่งมีศูนย์บรรเทาสาธารณภัย มณฑลทหารบก ในแต่พื้นที่ ได้จัดกำลังพล ร่วมกับส่วนราชการและจิตอาสาในพื้นที่ ในการเข้าให้ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในการขนย้ายสิ่งของ, เคลื่อนย้ายประชาชนออกมายังที่ปลอดภัย, มอบสิ่งของอุปโภค-บริโภค และน้ำดื่ม, กรอกกระสอบทราย ทำแนวกันน้ำ, จัดรถครัวสนาม เข้าไปประกอบอาหารแจกจ่ายให้กับประชาชน และทำความสะอาด ฟื้นฟูบ้านเรือนในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย.