เมื่อวันที่  8 ก.ย.67 นายโสภณ ซารัมย์ สส.บุรีรัมย์  พรรคภูมิใจไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษา สภาผู้แทนราษฎร   กล่าวว่า  กมธ.การศึกษา และอนุกมธ. ได้ประชุมสรุป ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ…. ซึ่งเป็นการยกร่าง พ.ร.บ.ที่ต้องตอบโจทย์อนาคตของประเทศ รวมทั้งเสริมสร้างคุณภาพให้กับผู้เรียน  การจัดการศึกษาของประเทศจำเป็นต้องสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ   การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม การเปลี่ยนแปลงของประชากร รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกในด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว และลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา ยกระดับคุณภาพการศึกษา สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงต้องปฏิวัติการศึกษา เท่าเทียม ทั่วถึง ทันยุค เพื่อพลิกโฉมการศึกษาไทย

นายโสภณ กล่าวว่า  กมธ.ได้จัดประชุม เสวนา การยกร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ โดยลงพื้นที่ทุกภาคของประเทศ และได้นำข้อมูลมาวิภาค นับ 10,000 คนทั่วประเทศ ร่วมกันหลายภาคส่วน อาทิ คณะกรรมาธิการ นักวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้นำองค์ต่างๆ ผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  ในระหว่างวันที่ 6-8ก.ย. 2567  ได้นำข้อมูลจากการวิภาคที่ผ่านมาหลายครั้ง นำมาหาข้อสรุปทบทวนในแต่ละประเด็น  มีประเด็นสำคัญๆ   7 ข้อ ดังนี้ 1.ระบบการศึกษา  ได้ปรับปรุงให้เป็น 2 ระบบ ได้แก่ ในระบบ กับ การศึกษาตามอัธยาศัย และได้เน้นให้เกิดความชัดเจน ทั่วถึง มีคุณภาพ 2.การถ่ายโอนภารกิจในการจัดการศึกษา ระดับปฐมวัย ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)  3.การจัดตั้งกลุ่มโรงเรียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากร ได้แก่ บุคลากร และวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ สถานที่ ให้ใช้ร่วมกันให้เกิดความคุ้มค่าและมีคุณภาพ

นายโสภณ กล่าวว่า 4.หลักสูตร ได้กำหนดให้มีการปรับปรุงหลักสูตร แกนกลาง ทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน และอาชีวศึกษา 5.สำหรับปัญหาเรื่องโครงสร้างการบริหาร และภารงานที่ซ้ำซ้อนที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษา ทางคณะกรรมาธิการ ได้รับฟังจากหลายภาคส่วน และจะดำเนินการให้ลงตัวที่สุด

นายโสภณ กล่าวว่า 6.สำหรับปัญหาเรื่องโครงสร้างการบริหาร และภาระงานที่ซ้ำซ้อนที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาทางคณะกรรมาธิการ ได้รับฟังจากหลายภาคส่วน และได้รับปรับโครงสร้างดังกล่าวให้ชัดเจนขึ้น 7.การศึกษาระบบทวิภาคีเป็นการสร้างข้อตกลงร่วมกันของสถานศึกษา กับสถานประกอบการ หรือสถานศึกษาอาชีวศึกษา เพื่อเพิ่มโอกาศให้กับผู้เรียนได้ใช้เวลาส่วนหนึ่ง เรียนรู้ เพื่อเกิดทักษะในการทำงาน ค้นพบตนเอง ผู้จัดการศึกษา มีใบรับรองผลการศึกษาตามความเหมาะสม

“ร่างพ.ร.บ.ชุดนี้เป็นความร่วมมือจากทุกพรรคการเมือง ใช้เวลา 1 ปี ถือว่าเป็นการพลิกโฉมการศึกษาไทย” นายโสภณ  กล่าว.