นายอรรถวิท รักจำรูญ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันประชาชนและนักท่องเที่ยวมีการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยว และสถานการณ์โควิด – 19 คลี่คลาย โดยในวันธรรมดา ทั้งเที่ยวไป – เที่ยวกลับ มีผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ย80,000 คนต่อวัน ใช้รถโดยสาร (รถ บขส., รถร่วม, รถตู้) 5,800 เที่ยววิ่งต่อวัน และวันหยุด เสาร์ – อาทิตย์ ทั้งเที่ยวไป – เที่ยวกลับ มีผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ย 94,000 – 100,000 คนต่อวัน ใช้รถโดยสาร 6,200 – 6,400 เที่ยววิ่งต่อวัน

นายอรรถวิท กล่าวต่อว่า บขส. จึงได้มีการปรับตารางเดินรถให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้โดยสารตามนโยบายนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม และอำนวยความสะดวกในการเดินทางของผู้โดยสารในช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว (โลว์ซีซั่น) พร้อมทั้งยังช่วยส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ บขส. จึงได้เปิดให้บริการเดินรถเส้นทางภายในประเทศ 57 เส้นทาง รวม 169 เที่ยววิ่งต่อวัน ดังนี้ เส้นทางภาคเหนือ เปิดให้บริการ 18 เส้นทาง62 เที่ยววิ่งต่อวัน ได้แก่ 1.กรุงเทพฯ – เชียงราย – เชียงแสน 2.กรุงเทพฯ – สุโขทัย – อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย3.กรุงเทพฯ – คลองลาน 4.กรุงเทพฯ – บ้านท่าตอน 5.กรุงเทพฯ – หล่มสัก – หล่มเก่า

6.กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ 7.กรุงเทพฯ – ทุ่งช้าง 8.กรุงเทพฯ – เขื่อนภูมิพล 9.กรุงเทพฯ – กำแพงเพชร10.กรุงเทพฯ – อุตรดิตถ์ 11.กรุงเทพฯ – อุตรดิตถ์ – พิษณุโลก 12.กรุงเทพฯ – สวรรคโลก – สารจิตร 13.กรุงเทพฯ – แม่สอด 14.กรุงเทพฯ – แม่สาย 15.กรุงเทพฯ – ป่าแดด – เชียงของ 16.กรุงเทพฯ – เชียงคำ 17.กรุงเทพฯ – จอมทองและ 18.กรุงเทพฯ – อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

เส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) และภาคตะวันออก เปิดให้บริการ 21 เส้นทาง 64 เที่ยววิ่งต่อวันได้แก่ 1.กรุงเทพฯ – นครพนม 2.กรุงเทพฯ – บุรีรัมย์ 3.กรุงเทพฯ – สุรินทร์ 4.กรุงเทพฯ – รัตนบุรี 5.กรุงเทพฯ – เรณูนคร – หนองฮี – ปลาปาก 6.กรุงเทพฯ – กุดชุม – ธาตุพนม – บ้านกลาง 7.กรุงเทพฯ – ทุ่งศรีอุดม – บุญฑริก8.กรุงเทพฯ – สหัสขันธ์ – บ้านแพง 9.กรุงเทพฯ – กระนวน – บ้านแพง 10.กรุงเทพฯ – มุกดาหาร

11.กรุงเทพฯ – นาวัง 12.กรุงเทพฯ – เชียงคาน 13.กรุงเทพฯ – โขงเจียม 14.กรุงเทพฯ – อุบลราชธานี15.กรุงเทพฯ – หนองคาย 16.กรุงเทพฯ – ศรีสะเกษ 17.กรุงเทพฯ – อำนาจเจริญ – โพธิ์ไทร 18.กรุงเทพฯ –สกลนคร– นาแก 19.กรุงเทพฯ – สระบุรี 20.กรุงเทพฯ – ตราด และ 21.กรุงเทพฯ (เอกมัย) – แหลมงอบ (ท่าเรือ) และเส้นทางภาคใต้ เปิดให้บริการ 18 เส้นทาง 43 เที่ยววิ่งต่อวัน ได้แก่ 1.กรุงเทพฯ – ปัตตานี – ยะลา 2.กรุงเทพฯ – สุไหงโกลก 3.กรุงเทพฯ – สงขลา 4.กรุงเทพฯ – ภูเก็ต 5.กรุงเทพฯ – คลองท่อม – กระบี่ 6.กรุงเทพฯ – ดอนสัก – เกาะสมุย

7.กรุงเทพฯ – ด่านเจดีย์สามองค์ 8.กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – หาดใหญ่ 9.กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – ภูเก็ต10.กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – ปัตตานี 11.กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – สตูล 12.กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – ตะกั่วป่า – โคกกลอย 13.กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – เกาะสมุย 14.กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – ตรัง – สตูล 15.กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – เกาะพะงัน 16.กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – นครศรีธรรมราช – หัวไทร และ 17.กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – กระบี่และ18.กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – ตรัง

นายอรรถวิท กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ปัจจุบัน บขส. ได้ให้บริการเดินรถเส้นทางระหว่างประเทศ ไทย – สปป.ลาว9 เส้นทาง 92 เที่ยววิ่งต่อวัน มีผู้โดยสารใช้บริการทั้งสองฝั่ง 3,000 คนต่อวัน ดังนี้ 1.เส้นทางหนองคาย – นครหลวงเวียงจันทน์ 2.อุดรธานี – นครหลวงเวียงจันทน์ 3.นครพนม – เมืองท่าแขก 4.อุบลราชธานี – เมืองปากเซ 5.กรุงเทพฯ– เมืองปากเซ 6.มุกดาหาร – แขวงสะหวันนะเขต 7.กรุงเทพฯ – นครหลวงเวียงจันทน์ 8.เลย – แขวงไซยบุรี – แขวงหลวงพระบาง และ 9.เชียงราย – แขวงบ่อแก้ว ทั้งนี้ผู้โดยสารสามารถจองตั๋วได้ทุกช่องทางของ บขส. อาทิ ช่องทางออนไลน์ Facebook Page : บขส. (www.facebook.com/BorKorSor99), Line : @บขส.99 (Id : TCL99), เว็บไซต์บขส. https://tcl99web.transport.co.th, Application E – ticket และ ช่องจำหน่ายตั๋วโดยสาร บขส. ทั่วประเทศ.