ผ่านพ้นไปแล้วกับกิจกรรมประกาศผลและมอบรางวัลกิจกรรมประกวดคลิปวิดีโอสุขภาวะดิจิทัล “อุ่นใจไซเบอร์ Young Creator Challenge 2024” ระดับประเทศ ณ บริเวณ SCBX Next Tech ชั้น 4 ศูนย์การค้าสยามพารากอนสยามพารากอน ซึ่งเป็นการแข่งขันผลิตผลงานในรูปแบบคลิปวิดีโอสั้น บอกเล่าเรื่องราวเพื่อเน้นย้ำ ให้ความรู้ หรือแนะนำการใช้งานออนไลน์ได้อย่างเหมาะสมจากหัวข้อการใช้งานออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ ภายใต้เนื้อหาหลักของหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ 4P4ป ประกอบไปด้วย 1.Practice: ปลูกฝังการใช้งานความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้องและเหมาะสม 2.Personality : ปกป้องความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ 3.Protection : ป้องกันภัยออนไลน์บนโลกออนไลน์ และ 4. Participation : ปฏิสัมพันธ์ที่ดีด้วยทักษะและพฤติกรรมการสื่อสารบนออนไลน์อย่างเหมาะสม โดยแบ่งออกเป็นระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จากโรงเรียนในสังกัด สพฐ.ทั่วประเทศ ชิงทุนการศึกษารวมกว่า 150,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร โดยตัดสินจากความสมบูรณ์ของข้อมูลและความน่าเชื่อถือ ความชัดเจนและความเข้าใจในเนื้อหา ความเหมาะสมและการเชื่อมโยงกับหัวข้อ ความคิดสร้างสรรค์ และคุณภาพของการผลิตสื่อ
โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่าง AIS สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ซึ่งผลการตัดสินผู้ชนะการประกวด ระดับประถมศึกษา หัวข้อที่ 1 Practice : ปลูกฝังการใช้งาน รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนบ้านหนองเมืองกลาง จ.ยโสธร Link VDO: https://youtu.be/wqVMbDMiH6o?si=kbPoUfm-vh30yAYe รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนบ้านไม้ขาว จ.ภูเก็ต Link VDO: https://youtu.be/JxbkD6C2EuA?si=74zb3gkquRTO5iHg รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนบ้านพร้าวเหนือ จ.หนองคาย Link VDO: https://youtu.be/36waHlJKRYs?si=nu-2rEbsqDEIXNJQ
หัวข้อที่ 2 Personality : ปกป้องความเป็นส่วนตัว รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนสังข์อ่ำวิทยา จ.ปทุมธานี Link VDO: https://www.youtube.com/watch?v=6nXRwBaE40U รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนวัดน้ำรัก (ประชาน้ำรัก) จ.จันทบุรี Link VDO: www.youtube.com/watch?v=sbFq9VbyLl0 รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนบ้านโดมประดิษฐ์ จ.อุบลราชธานี Link VDO: https://youtu.be/xKOVTZYOc9s?si=8BvyxlITQ0KfAcUL
หัวข้อที่ 3 Protection : ป้องกันภัยออนไลน์ รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนบ้านละหานทราย (คุรุราษฎร์บํารุงวิทยา) จ.บุรีรัมย์ Link VDO: https://youtu.be/07mDGhqlBb0?si=p0LuIALndEJB-oPy รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต จ.ภูเก็ต Link VDO: https://youtu.be/j7YzmOwbAKM?si=Chw1-VVbzOgp3-JS รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนวัดโพธิ์น้อย จ.สุราษฎร์ธานี Link VDO: https://youtu.be/-x9KoA2Ki28?si=kjtA3QHgUedf8jDC
หัวข้อที่ 4 Participation : ปฏิสัมพันธ์ที่ดี รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนวัดปากน้ำ (ประสาทวิทยาคาร) จ.จันทบุรี เขต 2 Link VDO: www.youtube.com/watch?v=Qpat6pJ-r1Q รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนเมืองเลย จ.เลย Link VDO: https://youtu.be/55rXpkpDM6k?si=yG5GIaqW55Cj3iy8 รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนบ้านสามสบ จ.เชียงใหม่ Link VDO: https://youtu.be/aXrLlskkg4A?si=rC7lMkYwI-lk1ZX3
ผลการตัดสินระดับมัธยมศึกษา หัวข้อที่ 1 Practice : ปลูกฝังการใช้งาน รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี Link VDO: https://youtu.be/OBJsAZ9ybcM?si=F-SQiG0dQdVVQw6t รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร 12 จ.พิษณุโลก Link VDO: https://youtu.be/itffamiudAA?si=o2opQ8Zd_Ims6zqT รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนชลบุรี “สุขบท” จ.ชลบุรี Link VDO: https://youtu.be/IYVYUEDiE8U?si=_EfUsTjYG2_VaVaV
หัวข้อที่ 2 Personality : ปกป้องความเป็นส่วนตัว รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนระหานวิทยา จ.กำแพงเพชร Link VDO: https://youtu.be/HxIRLappSTw?si=8O9h-HLlfvnRoagf รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนเพ็ญพิทยาคม จ.อุดรธานี Link VDO: https://youtu.be/gcpJ0O-k5XU?si=NuvN1GtQSB2FIfne รองชนะเลิศอันดับ 2โรงเรียนอนุบาลตับเต่า (ไคร้สามัคคีวิทยา) จ.เชียงราย Link VDO: https://youtu.be/1St2Y3jzTpM?si=gnUOgeDPJzKLK_ZE
หัวข้อที่ 3 Protection : ป้องกันภัยออนไลน์ รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนบ้านนา “นายกพิทยากร” จ.นครนายก Link VDO: www.youtube.com/watch?v=p53RapY6YX8 รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนบ้านฟ้าเหลื่อม จ.ขอนเเก่น Link VDO: https://youtu.be/cNnj144eZFY?si=e8V5nYkCpfgUz2Dl รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนพระธาตุบังพวนวิทยา จ.หนองคาย Link VDO: https://youtu.be/i6ZnaIbJfsg?si=UXBXK23hb5cWC-tv
หัวข้อที่ 4 Participation : ปฏิสัมพันธ์ที่ดี รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนปางมะค่าวิทยาคม จ.กำแพงเพชร Link VDO: https://youtu.be/QYz8c2FhPgw?si=6_NMQN6rQiIFJT3K รองชนะเลิศอันดับ 1 โรงเรียนท่าช้างราษฎร์บำรุง จ.นครราชสีมา Link VDO: https://youtu.be/nGy0JRdWT88?si=rSjEN-iT0RW5og4I รองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนบ้านช่องเม็ก จ.ยโสธร Link VDO: https://youtu.be/vZXDJzkI8Do?si=X0CipDNCyXlX7is- และ รางวัล Popular Vote โรงเรียนหนองกุงวิทยาคม จ.กาฬสินธุ์ Link VDO: https://youtu.be/zn7JVn__YwA?si=PbodGjPi8jHJpfaS
ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวมีนายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ คณะทำงานที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานมอบรางวัล พร้อมด้วย ดร.วิษณุ ทรัพย์สมบัติ ที่ปรึกษาสพฐ. รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุร และนางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS
โดยนายสิริพงศ์ กล่าวว่า กิจกรรมดังกล่าวที่เกิดขึ้นต้องขอขอบคุณ AIS ที่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่อภัยไซเบอร์ด้วยการมาให้ความรู้ให้แก่นักเรียนครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งโครงการดังกล่าวมีการจัดมาอย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่ปีทีท 3 แล้ว โดยจากนี้ไปศธ.หารือกับ AIS ในเบื้องต้นว่าจะมีการขยายผลต่อยอดกิจกรรมดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนหลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนได้เก็บเป็นไมโครเครดิตเชื่อมกับระบบธนาคารหน่วยกิตได้ในอนาคต หวังว่าความร่วมมือนี้จะขยายผลไปในกลุ่มที่เด็กมากขึ้นและผู้ปกครองและทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อดูแลบุตรหลานของเราให้ห่างไกลปลอดภัยจากภัยไซเบอร์
“ทุกวันนี้เรามีความห่วงใยเรื่องการใช้โซเชียลมีเดียในเรื่องของภัยไซเบอร์เบอร์เป็นอย่างมาก และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปเร็วมากความเปลี่ยนแปลงของโลกความเปลี่ยนแปลงของการศึกษาเปลี่ยนไปในอัตราที่สูงขึ้นการเรียนการสอนที่ครูรู้เมื่อ 10 ปีที่แล้วในปัจจุบันอาจไม่ได้ผลเรื่องที่ผู้ปกครองรู้ในยุคของเรากับเด็กทุกวันนี้ไม่เหมือนกัน โดยเมื่อเร็วๆนี้มีประเด็นบุคคลที่ถือเป็นอาชญากรแฝงตัวเอารูปหมีเนยมาขึ้นเป็นโปรไฟล์แล้วหลอกลวงเยาวชนจนนำไปสู่การล่อลวงทางเพศ ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่าเราจะรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร โดยครูจะมีความรู้เรื่องทางไซเบอร์เหล่านี้ทั้งหมดได้หรือไม่ภายใต้งบประมาณที่จำกัด แต่ภาคเอกชนอย่าง AIS ได้ให้ความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยให้ความรู้กับโรงเรียนให้ความรู้กับนักเรียนและครูจึงถือเป็นคุณูปการอย่างยิ่งที่เข้ามาช่วยการศึกษา” นายสิริพงศ์ กล่าว
ดร.วิษณุ ทรัพย์สมบัติ ที่รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านมาตรฐานการศึกษาของสพฐ. กล่าวว่า โครงการนี้เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจว่า ทักษะดิจิทัลและความปลอดภัยในโลกไซเบอร์เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาในยุคปัจจุบัน โดยการแข่งขันครั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนทั่วประเทศได้สร้างสรรค์ผลงานคลิปวิดีโอที่สะท้อนถึงการใช้ทักษะและความรู้ที่ได้รับจากหลักสูตร “อุ่นใจไซเบอร์” เพื่อเสนอแนะและเตือนสังคมถึงการใช้พื้นที่ออนไลน์อย่างมีคุณภาพและสร้างสรรค์ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ผ่านการอบรมแล้วกว่า 380,000 คน ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งของผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมดได้ร่วมส่งผลงานเข้าประกวดในรูปแบบทีม ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 500 ทีมทั่วประเทศ ทั้งระดับชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจและความพยายามอย่างยิ่งใหญ่ของนักเรียนที่ต้องการมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมดิจิทัลให้ดีขึ้น
นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า “กิจกรรม ‘อุ่นใจไซเบอร์ Young Creator Challenge 2024’ ถือเป็นการต่อยอดความรู้ความเข้าใจหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ที่วันนี้ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนของโรงเรียนในสังกัด สพฐ. นับเป็นกิจกรรมต้นแบบที่ช่วยสร้างแรงขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหาภัยไซเบอร์ได้อย่างสร้างสรรค์ เพราะจากความสนใจของโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ ทำให้เราเห็นถึงวิธีการเล่าเรื่องเพื่อส่งเสริมทักษะดิจิทัลในวิธีการที่หลากหลาย
นางสายชล กล่าวต่อไปว่า สำหรับแนวคิดและเป้าหมายของกิจกรรมดังกล่าวมาจากที่เราได้พัฒนาหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ในสถานศึกษาที่มีการเปิดตัวหลักสูตรมาตั้งแต่ปี 2565 จนนำไปสู่การขยายผลในโรงเรียนจัดการเรียนการสอนในรูปแบบหลักสูตรที่ใช้เสริมการสอน จากนั้นเมื่อผ่านมาระดับหนึ่งเราจึงเปลี่ยนจากการเรียนในหลักสูตรมาแปลงเป็นองค์ความรู้ที่เด็กจะต้องตีความสื่อสารจากการเรียนในหลักสูตรดังกล่าวออกมาเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ด้วยการทำคลิปวิดีโอ ซึ่งให้ผู้เรียนได้เป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ด้วยตัวเองจนนำมาสู่การแข่งขัน โดยใช้โจทย์จากการตีความในหลักสูตรที่เด็กได้เรียนมาเป็นผลผลิตที่มีคอนเทนต์หลากหลาย และแต่คอนเทนต์ของนักเรียนก็มีความงดงามในตัวเอง ถือเป็นการเล่าเรื่องราวในมุมของนักเรียนแต่ละกลุ่มแต่ละคน
“ผลการดำเนินงานของกิจกรรมได้สร้างผลกระทบเชิงบวกอย่างมาก เพราะเราเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้เนื้อหาผ่านสื่อการเรียนการสอนเหมือนเป็นกุศโลบายที่เด็กและครูได้เรียรู้เนื้อหาอย่างท่องแท้จนนำไปสู่ผลกระทบเชงบวกทางวัฒนธรรมของโรงเรียนเกิดขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนสามารถกลายเป็นครูแม่ไก่ในการไปสอนเพื่อนๆ ครู พ่อแม่และคนในครอบครัวได้ ดังนั้นผลกระทบจากกิจกรรมนี้คือผลกระทบเชิงบวกที่เด็กมีการคิดอย่างเป็นระบบ” นางสายชล กล่าว
รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า จากกิจกรรมการแข่งขันคลิปวิดีโอสั้นอุ่นใจไซเบอร์ Young Creator Challenge 2024 ในครั้งนี้ทำให้เราเห็นถึงศักยภาพของนักเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากทั่วประเทศในการผลิตผลงานที่เรียกว่าเป็นสื่อการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะดิจิทัลที่ยอดเยี่ยม เพราะเกิดจากกระบวนการคิด ออกแบบ และผลิตเนื้อหาโดยน้องๆ ที่ศึกษาจากหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ ซึ่งในขั้นตอนเหล่านี้จะช่วยหล่อหลอมให้นักเรียนมีความเข้าใจจนสามารถถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานที่ช่วยสร้างประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาภัยไซเบอร์ได้อย่างแน่นอน
ในส่วนของนักเรียนที่ร่วมกิจกรรม ด.ญ.กฤตยา ศิริสมบัติ โรงเรียนสังข์อ่ำวิทยา จ.ปทุมธานี กล่าวว่า การได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้เป็นเรื่องที่สนุกและน่าตื่นเต้นมาก พวกเราได้เรียนรู้เรื่องความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ต และได้ลองทำคลิปวิดีโอที่เราเองภูมิใจมาก โดยหัวข้อที่เราเลือกเป็นเรื่องเกี่ยวกับการปกป้องความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ อย่างการตั้งรหัสยังไงให้ปลอดภัย เพราะเราเห็นว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ง่ายและใกล้ตัวมากๆ และหวังว่าคลิปของเราจะช่วยให้คนอื่น ๆ ระมัดระวังตัวมากขึ้นเมื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต
ขณะที่ นายกฤษฎากร เสียงเลิศ โรงเรียนชลบุรี “สุขบท” จ.ชลบุรี กล่าวว่า การประกวดครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้เราได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการผลิตสื่อ ในขณะเดียวกันก็ได้ทำให้พวกเราเห็นความสำคัญของการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย พวกเราได้เข้าไปเรียนหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ และได้เลือกหัวข้อเกี่ยวกับปลูกฝังการใช้งานความเข้าใจในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างถูกต้องและเหมาะสม แล้วนำมาเล่าผ่านในรูปแบบละครสั้นๆ เพื่อให้คนดูเข้าใจได้ง่ายๆ และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้พวกเราได้ทำงานเป็นทีมกับเพื่อนๆ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่มีค่ามากสำหรับพวกเรา
อย่างไรก็ตามกิจกรรมดังกล่าวถือเป็นเวทีสร้างสรรค์ที่ส่งเสริมความสามารถด้านคอนเทนต์ครีเอเตอร์ โดยให้นักเรียนในสังกัด สพฐ. ได้โชว์ไอเดียผลิตผลงานในรูปแบบคลิปวิดีโอสั้น ภายใต้หัวข้อการใช้งานออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ โดยเล่าเรื่องจากเนื้อหาหลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์ งานนี้ได้รับความสนใจจากโรงเรียนทั่วประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมศักยภาพของนักเรียนให้มีพื้นที่ในการแสดงความสามารถควบคู่ไปกับการเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมองค์ความรู้และเพิ่มพูนทักษะดิจิทัล สามารถต่อยอดผลงานสู่สื่อการเรียนรู้ที่จะช่วยแก้ปัญหาภัยไซเบอร์ได้อย่างยั่งยืน