ข้อมูลจากกรมอนามัย กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ ได้ออกมาบอกเคล็ดลับการนอน เพื่อสุขภาพที่ดี ด้วยรักและห่วงใย สุขภาพการนอนของทุกคน กรมอนามัย จึงขอแนะนำชั่วโมงการการนอนที่เหมาะสม  เนื่องจากการนอนหลับเพียงพอและมีสุขอนามัยการนอนหลับที่ดีทุกช่วงวัยส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง ตั้งแต่ทารกในครรภ์มารดา เด็กปฐมวัย เด็กวัยเรียน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น ผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ มีผลต่อสุขภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และโรคประจำตัว

นอกจากนี้ การนอนหลับที่ไม่เพียงพอ หรือโรคของการนอนหลับเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาภาวะภูมิต้านทานต่ำ และเพิ่มโอกาสเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ ทุกกลุ่มวัย จึงต้องให้ความสำคัญต่อการนอนที่เพียงพอ มีสุขอนามัยการนอนหลับที่ดี และมีระยะเวลาในการนอนที่เหมาะสม ในแต่ละวัย (อ้างอิง : สมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย)

แต่ละวัยมีชั่วโมงการนอนแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์กรรม บางคนนอน 5 ชั่วโมง ก็รู้สึกสดชื่นขึ้น ขณะที่บางคนนอน 10 ชั่วโมง ถึงจะรู้สึกสดชื่น ดังนั้นการนอนที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับว่า เมื่อเราตื่นขึ้นมาแล้ว รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเต็มที่ได้ตลอดวันต่างหากที่ดีโดย ระยะการนอนหลับแต่ละช่วงวัย ตาม National Sleep Foundation เริ่มจาก วัยแรกเกิด จนถึงอายุ 2 ปี ดังนี้

1. เด็กแรกเกิด 0-3 เดือน : ควรนอนหลับ 14-17 ชม./วัน และอาจนอนหลับมากถึง 18-19 ชม./วัน

2. เด็กแรกเกิด 4-11 เดือน : ควรนอนหลับ 12-15 ชม./วัน โดยมีการนอนกลางวัน 3-4 ครั้ง และอาจนอนหลับมากถึง 16-17 ชม./วัน

3. เด็กอายุ 1-2 ปี : ควรนอนหลับ 11-14 ชม./วัน โดยมีการนอนกลางวัน 1 ครั้ง และอาจนอนหลับมากถึง 15-16 ชม./วัน

4. เด็กวัยอนุบาลอายุ 3-5 ปี : ควรนอนหลับ 10-13 ชม./วัน และอาจนอนหลับมากถึง 14 ชม./วัน

5. เด็กวัยเรียน 6-13 ปี : ควรนอนหลับ 9-11 ชม./วัน และอาจนอนหลับมากถึง 12 ชม./วัน

6. เด็กวัยรุ่นอายุ 14-17 ปี : ควรนอนหลับ 8-10 ชม./วัน และอาจนอนหลับมากถึง 11 ชม./วัน

7. ผู้ใหญ่อายุ 18-25 ปี : ควรนอนหลับ 7-9 ชม./วัน และอาจนอนหลับมากถึง 10-11 ชม./วัน

8. ผู้ใหญ่วัยกลางคนอายุ 26-64 ปี : ควรนอนหลับ 7-9 ชม./วัน และอาจนอนหลับมากถึง 10 ชม./วัน

9. ผู้สูงอายุที่อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป : ควรนอนหลับ 7-8 ชม./วัน และอาจนอนหลับมากถึง 9 ชม./วัน

วิธีการนอนที่ปลอดภัยระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่

สำหรับเตียงนอนก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญ และเตียงนอนที่ปลอดภัย ควรคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้เป็นสำคัญ ให้แยกที่นอนมาอยู่ด้านข้างผู้ใหญ่ด้วยระยะห่างประมาณเอื้อมมือถึง ไม่ควรให้เด็กนอนระหว่างหรือติดชิดกับผู้ใหญ่ เพราะอาจเผลอนอนทับเด็กจนหายใจไม่ออก หรือ โดนผ้าห่ม หมอนของพ่อแม่ทับโดยไม่รู้ตัว

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม : ในช่วงวัยเรียน วัยรุ่น เป็นช่วงที่เข้าถึงหน้าจอต่าง ๆ ได้ง่าย การงดให้ตารับแสงกระตุ่นหรือแสงสีฟ้า ก่อนนอน 2-3 ชม. และ งดชาร์จอุปกรณ์สื่อสาร บริเวณหัวนอน เพื่อการนอนหลับที่ง่ายขึ้น เพื่อสุขภาพการนอนที่ดี และอย่าลืมกินอาหารให้ถูกหลักอนามัย เสริมด้วยการออกกำลังควบคู่กันไปด้วย

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม : ในช่วงวัยวัยทำงาน นอกจากต้องใช้พบเจอแสงกระตุ้นและแสงสีฟ้าทุกวันทุกคืน รวมถึงไม่ควรกินก่อนนอน 3 ชม. โดยเฉพาะของหวาน ส่วนสูงวัยมักพบปัญหาการหลับยาก ควรออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ใช้แรงกายมาก ๆ และงดนอนกลางวันเป็นเวลามาก เพราะจะทำให้กลางคืนหลับยาก และควรงดชาร์จอุปกรณ์สื่อสาร บริเวณหัวนอน เพื่อการนอนหลับที่ง่ายขึ้น

ดังนั้นนอกจากการนอนหลับที่เพียงพอตามความต้องการของแต่ละช่วงอายุ และมีสุขภาพอนามัยการนอนหลับที่ดีแล้ว คุณภาพของการนอนหลับและเวลาที่เข้านอน ก็มีผลต่อสุขภาพอย่างมากเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ หรือเด็กที่มีต่อมทอนซิลโต และมีอาการนอนกรน แม้จะมีจำนวนชั่วโมงการนอนที่พอเพียง แต่ก็พบว่าตื่นมาจะยังไม่สดชื่น มีความเสี่ยงให้เป็นโรคต่าง ๆ เช่น สมาธิสั้น ความดันโลหิตสูง หรือผู้ป่วยที่มีการทำงานเป็นกะ ที่ต้องเปลี่ยนเวลาเข้านอน ตื่นนอนตามเวลาการทำงาน หรือการอดหลับ อดนอน เช่น ในบุคลากรทางการแพทย์ หรือในนักเรียน เมื่อมีการสอบ ทำให้เกิดความง่วงระหว่างช่วงที่ตื่น เกิดอารมณ์หงุดหงิด และเกิดความผิดพลาดในการทํางานมากขึ้นได้ ดังนั้น คุณภาพและปริมาณของการนอนหลับจึงมีความสำคัญต่อร่างกาย จิตใจ คุณภาพชีวิต ประสิทธิภาพการทำงาน รวมถึงความปลอดภัยในการทำงาน และการเดินทางด้วย (อ้างอิง : สมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย)