ละครเรื่องนี้สร้างจากเว็บตูนเรื่อง ข้ามเวลาตามหาเมน (One Day, My Favorite K-Pop Idol Group Leader Disappeared!) ซึ่งศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีประจำประเทศไทย (KCC) เป็นผู้ผลิตขึ้น เพื่อรำลึกถึงทหารผ่านศึกที่เข้าร่วมสงครามเกาหลี และเพื่อส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ทั้งในเกาหลีและไทยได้รู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมา ละครเวทีเรื่องนี้ได้เปิดการแสดงครั้งแรกในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปีศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี และในโอกาสครบรอบ 65 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างเกาหลีและประเทศไทย โดยความร่วมมือของทีมโปรดักชั่นชาวไทย
การแสดงเริ่มต้นด้วยการหายตัวไปอย่างกะทันหันของ ‘เคย์’ ลีดเดอร์วง K-pop ที่ชื่อ ‘Little Tiger’ ขณะที่การมีอยู่ของเขาหายไปจากความทรงจำของสาธารณชน ‘พิม’ ศัลยแพทย์และแฟนตัวยงเพียงคนเดียวที่จำเขาได้ การย้อนเวลาไปในสงครามเกาหลี ละครเล่าเหตุการณ์ที่พิมได้พบกับทหารชาวไทย และพบเจอกับความเสียสละของเหล่าทหารกล้า พิม จึงได้เป็นแพทย์ที่ดีขึ้น เนื่องจากนักแสดงไทยทุกคนใช้ทั้งภาษาไทยและเกาหลี ประกอบกับจังหวะดนตรีพื้นบ้านเกาหลี และเป็นการร่วมมือกับศิลปินเกาหลีทำการแสดงในประเทศเกาหลีด้วย การแสดงในครั้งนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรมของประเทศไทย
ในวันที่ 28 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันแรกของการแสดงรอบพิเศษ มีผู้ชมเต็มความจุที่นั่ง 200 คน รวมถึง ฯพณฯ นายปาร์ค ยงมิน เอกอัครราชทูตเกาหลีประจำประเทศไทย ทหารผ่านศึกเกาหลี นางสาวดารุนี ธรรมโพธิ์ดล ที่ปรึกษากระทรวงวัฒนธรรม (ด้านต่างประเทศ) กระทรวงวัฒนธรรม นางสาวสุวิมล วิมลกาญจนา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายสัมพันธ์และแหล่งทุน สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.ร.ว.เฉลิมชาตรี ยุคล คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ‘ด้านภาพยนตร์’ คุณจรัญ หอมเทียนทอง คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ‘ด้านหนังสือ’ คุณสิทธิชัย เทพไพฑูรย์ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ‘ด้านเกมส์’ และ ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ผู้ชมต่างสนุกสนานปรบมือให้กับการแสดงตลอดการแสดงกว่าสองชั่วโมง จบการแสดงเอกอัครราชทูตปาร์ค ได้มอบดอกไม้แสดงความยินดีและอวยพรให้กับทีมนักแสดงทั้ง 16 คน พร้อมกล่าวว่า “ละครเรื่องนี้สนุกและซาบซึ้งมากด้วยการกำกับและการแสดงที่ยอดเยี่ยม แม้ว่าจะมีฉากที่แสดงได้ยากหลายฉาก ผมเชื่อว่าละครเรื่องนี้จะได้รับความนิยมในเกาหลีเช่นกัน”
หลังจากการแสดงรอบพิเศษ 4 รอบในไทย จะมีการแสดงที่เกาหลีในวันที่ 4 และ 6 กันยายน 2567 โดยการสนับสนุนจากศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีประจำประเทศไทย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรมของประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม ท่องเที่ยวและกีฬา ประเทศเกาหลี มูลนิธิแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศเกาหลี (KOFICE) และสภาศิลปะแห่งชาติเกาหลี (ARCO).