วันนี้ (23 ส.ค. 67) นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครนายก ได้ร่วมการประชุมการนำเสนอผลการทดลองหลักสูตรการฝึกอบรม กรมการพัฒนาชุมชน ผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings โดยมี นายสมาน พั่วโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันการพัฒนาชุมชน เป็นประธานการประชุม นางทัศนีย์ ชัยคุณแสง หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กรมการพัฒนาชุมชน และนายเกียรติปราโมทย์ ฉายศรี ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ เป็นคณะกรรมการวิพากษ์ฯ และให้ข้อเสนอแนะนำการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม กรมการพัฒนาชุมชน การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ผ่านการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และเสริมสร้างพัฒนาการทางร่างกาย สำหรับเด็กอายุ 7-12 ปี” กิจกรรม : เที่ยวสวน ฝึกศิลป์ ถิ่นครยก (Art and SEP for Kids).

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ผ่านการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และเสริมสร้างพัฒนาการทางร่างกาย สำหรับเด็กอายุ 7 – 12 ปี” กิจกรรม : เที่ยวสวน ฝึกศิลป์ ถิ่นครยก (Art and SEP for Kids) เป็นการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โดยใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น การจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา อารยเกษตร ซึ่งจะสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครนายก ที่ได้รับ แนวคิดในการบริหารจัดการพื้นที่ด้วยการออกแบบพื้นที่แบบ “สุนทรียศาสตร์” และมีประสบการณ์ในการจัดนิทรรศการ ศิลปะเพื่อชุมชน พืชพรรณธัญญาหาร เมื่อปี พ.ศ. 2564 และการจัดกิจกรรมวันดินโลก (World Soil Day) โดยกิจกรรมจะแบ่งเป็นภาคการเรียนรู้ (Section) : ภาควิชาการ ภาคฝึกปฏิบัติการ ภาคสรุปการเรียนรู้ โดยมีหมวดการเรียนรู้ (Module) : Module 1. เรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติด้วยหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา อารยเกษตร Module 2. เรียนรู้และเข้าใจศิลปะสร้างสรรค์ เทคนิคสีไม้ สีน้ำ สีชอล์ค สีจากธรรมชาติ และเทคนิคสีผสม ซึ่งจะเป็นการเรียนรู้จากกิจกรรมการบรรยาย การฝึกปฏิบัติ และกระบวนการ Play & Learn โดยมีระยะเวลา 1 วัน (6 ชั่วโมง) ให้เด็กที่มีอายุ 7 – 12 ปี ที่มีความสนใจ ในงานศิลปะเด็ก จิตรกรรม ธรรมชาติ และมีความพร้อมในการเรียนรู้ สร้างสรรค์ผ่านจินตนาการโดยใช้การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา อารยเกษตรนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการประชุมในครั้งนี้ นายคนอง ส่งช่วย ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครนายก ได้มอบหมายให้นางสาววชิรญาณ์ แย้มเยื้อน นักทรัพยากรบุคคล ทำการนำเสนอผลการทดลองหลักสูตร “เสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ผ่านการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และเสริมสร้างพัฒนาการทางร่างกาย สำหรับเด็กอายุ 7-12 ปี” กิจกรรม : เที่ยวสวน ฝึกศิลป์ ถิ่นครยก (Art and SEP for Kids) โดยการพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครนายก ได้ขานรับแนวนโยบายในการ Change for Good ที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนทุกช่วงวัย ซึ่งศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครนายกมีทุนทางกายภาพที่ดี คือ หอศิลป์จังหวัดนครนายก หากนำมาออกแบบควบคู่กับทุนทางธรรมชาติที่มีในพื้นที่ ให้เป็นพื้นที่สุนทรียศาสตร์ และประยุกต์ทฤษฎีใหม่ รูปแบบโคก หนอง นา อารยเกษตร เข้ามาร่วมด้วย จะทำให้พื้นที่มีความโดดเด่นตามบริบทของจังหวัดนครนายกซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยว เป็นเมืองในฝันที่ใกล้กรุงที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวและพี่น้องประชาชนทุกช่วงวัยได้เป็นอย่างดี โดยการออกแบบหลักสูตรได้รับความอนุเคราะห์จากที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย รองศาสตราจารย์วรวรรณ โรจนไพบูลย์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเชฐ โสวิทยสกุล ในการให้คำแนะนำและออกแบบหลักสูตรร่วมกับทีมงานศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครนายก.

ด้าน นายสุภกิณห์ แวงชิน ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทย ต้องการขับเคลื่อนภารกิจในการดูแลคุณภาพชีวิตประชาชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และตอกย้ำภารกิจ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ของกระทรวงมหาดไทย ในฐานะ “ผู้นำการบูรณาการทุกส่วนราชการในระดับพื้นที่” นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ จึงได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดขับเคลื่อนแนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนทุกช่วงวัย โดยแต่งตั้ง “คณะกรรมการส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนทุกช่วงวัย” มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมายรองประธาน หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เป็นกรรมการ ปลัดจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ โดยให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่ กำหนดแนวทางและกำกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกช่วงวัยร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ.) ภาคีเครือข่ายตามภูมิสังคมภายใต้การนำการบูรณาการของนายอำเภอ รวมทั้งติดตาม ประเมินผลและให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลสัมฤทธิ์ พร้อมทั้งกำชับแนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนทุกช่วงวัย 6 แนวทาง 1) การส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนช่วงก่อนตั้งครรภ์และวัยทารก 2) การส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนช่วงวัยเด็กเล็ก 3) การส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนช่วงวัยเรียน 4) การส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชนช่วงวัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ และ 5) ให้นำแนวทางตามตัวชี้วัดการขับเคลื่อน “โครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)”.

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวในตอนท้ายว่า สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ การประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้กับเด็ก เยาวชน มีความรู้พื้นฐานสำหรับวิธีปฏิบัติที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีด้วยกลไกในระดับพื้นที่ของ โดยเฉพาะท่านนายอำเภอ ผู้นำท้องถิ่นท้องที่และภาคีเครือข่าย ต้องช่วยกันจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ที่เข้าใจง่าย เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจให้กับพี่น้องประชาชน และเผยแพร่ผ่านทั้งสื่อออนไลน์ และวิทยุชุมชน หอกระจายข่าว เสียงตามสาย เพื่อให้ความรู้พี่น้องประชาชนทุกกลุ่ม รวมไปถึงการสนับสนุนการศึกษา การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้เด็กทุกคนมีรากฐานที่เข้มแข็ง ทำให้สังคมไทยมีความมั่นคง โดยเริ่มจากการมีสุขภาพพลานามัยที่ดี มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจที่เข้มแข็ง พร้อมที่จะเป็นกำลังในการขับเคลื่อนประเทศไทยในอนาคต เพื่อทำให้ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข” อย่างยั่งยืนตลอดไป