ดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก, อะ ลักซ์ชูรี คอลเล็คชั่น โฮเทล โรงแรมที่มุ่งมั่นให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน โดยที่ผ่านมาเผยตัวเลขผลลัพธ์เชิงบวก ความสำเร็จและความมุ่งมั่นตลอดทศวรรษที่ผ่านมาในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสร้างสังคมให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมในทศวรรษถัดไป
“Food Rescue” หนึ่งในโครงการ ลดขยะเป็นศูนย์ นำเศษอาหารในครัวใช้ต่อ เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เอกพจน์ แย้มละม้าย ผู้อำนวยการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่มเล่าถึงการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าวว่า ดิแอทธินี โฮเทล เป็นโรงแรมแห่งแรกของโลกที่ได้การรับรองมาตรฐานการบริหารการจัดงานอย่างยั่งยืน (ISO 20121)นับแต่ปี 2013 โดยขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมต่อเนื่องมาโดยตลอด
ในด้านอาหาร “Food Rescue” เป็นหนึ่งในโครงการนำเศษอาหารในครัว นำไปใช้ต่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อาทิ เศษผลไม้จากการตัดแต่งจะนำไปทำเป็นแยมและนํ้าส้มสายชู กระดูกจะนำไปต้มเป็นนํ้าซุป เปลือกอาหารทะเลจะนำไปบดและกลายเป็นส่วนผสมของอาหารไก่ หรือเปลือกผักและผลไม้ สามารถเปลี่ยนให้เป็นนํ้ายาทำความสะอาดประสิทธิภาพสูง ฯลฯ อีกทั้งโรงแรม ร่วมกับ มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS) กระจายอาหารส่วนเกิน ทั้งจากห้องอาหาร เรน ทรี คาเฟ่ และจากการประชุมต่าง ๆ ไปยังสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าหลายแห่ง
“การขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมในมิติอาหาร มีหลายส่วน ดังเช่น วัตถุดิบ โรงแรมเน้นผลิตภัณฑ์ในประเทศ โดยเฉพาะ “ข้าว” ใช้ข้าวหอมมะลิออร์แกนิก โดยรับซื้อข้าวโดยตรงจากชาวนาในจังหวัดอำนาจเจริญ ประมาณ 3 ตันต่อเดือนซึ่งเป็นแนวทางที่ สามารถประกันรายได้ และช่วยเหลือเกษตรกรท้องถิ่น
รวมถึงกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตอาหารอินทรีย์ โดยโรงแรม ทำงานร่วมกับสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) เพื่อจัดหาวัตถุดิบจากฟาร์มที่ได้รับการรับรอง โดยไม่ผ่านผู้ค้าส่ง สร้างราคามาตรฐานที่เป็นธรรมต่อเกษตรกรผู้ผลิต สร้างความมั่นใจให้กับชุมชนท้องถิ่น อีกทั้งผู้บริโภคในโรงแรม ได้รับประทานอาหารสดใหม่ และดีต่อสุขภาพในทุกวัน โดยร้อยละ 85 ของวัตถุดิบที่ใช้ในร้านอาหารไทย เดอะ เฮาส์ ออฟ สมูท เคอร์รี่ คือผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกที่ส่งตรงจากเกษตรกรท้องถิ่นทั่วประเทศ โดยเฉพาะผักและผลไม้ตามฤดูกาล”
ขณะที่ ปลายทางการจัดการเรื่อง FOOD WASTE ผู้อำนวยการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม เอกพจน์เล่าขยายเพิ่มอีกว่า เราสร้างความตระหนักรู้ให้กับบุคลากรของเรา นับแต่ฝ่ายครัว จะใช้สิ่งไหน หรือแม้แต่วิธีการทำอาหาร ทำอย่างไรเพื่อให้เหลือ FOOD WASTE น้อยที่สุด รวมถึงการผลิตอาหารจะคำนวณให้เหมาะสม เพียงพอกับความต้องการ ไม่เหลือทิ้ง แต่หากมีส่วนที่เหลือจะมีแผนการจัดการที่เกิดประโยชน์อย่างที่สุด
“ขณะเดียวกันเราสร้างความตระหนักรู้ โดยมีป้ายเชิญชวนร่วมสร้างความยั่งยืน เพื่อให้เหลือ FOOD WASTE น้อยที่สุด จากที่กล่าวเมนูอาหารต่าง ๆ เชฟจะดีไซน์ สร้างสรรค์ ทุกส่วนทำงานร่วมกันทั้งหมด นับแต่ต้นทางถึงปลายทาง โดยส่วนที่เหลือเป็นเวสจะมีการจัดการดังกล่าว ทั้งนำมาย่อย นำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ฯลฯ โดยที่ผ่านมาบริจาคให้กับชุมชน ให้กับสวนสาธารณะเป็นการจัดการ Zero Food Waste ที่ทำต่อเนื่องมาโดย ไม่เหลือขยะอาหารปะปนกับขยะทั่วไป” อีกทั้งความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก การขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 10 ปี โรงแรม ได้ดำเนินการเปลี่ยนหลอดไฟแบบเดิมเป็นหลอดไฟแบบแอลอีดี (LED) ทั้งในห้องพัก พื้นที่ส่วนกลาง ห้องประชุมและส่วนอื่น ๆ ซึ่งประหยัดการใช้ไฟฟ้าได้ถึง 87.1 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับการใช้หลอดไฟแบบเดิม
ลดการปล่อยนํ้าเสีย ตระหนักถึงการใช้นํ้าอย่างรู้คุณค่า ใส่ใจกับการบำบัดนํ้าเสีย เพื่อปกป้องแหล่งนํ้าซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด โดย นํ้าเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจะนำกลับมาใช้ใหม่ในหอระบายนํ้าเย็น (Cooling Tower) เพื่อระบายความร้อนในเครื่องจักร ส่งผลให้โรงแรม สามารถลดการปล่อยนํ้าเสียได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์
ขณะที่หลอดพลาสติกเป็น 1 ใน 10 ของขยะที่พบมากสุดในมหาสมุทร โรงแรม ตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนใช้หลอดกระดาษ โดยสามารถแทนที่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และปัจจุบันปริมาณการใช้หลอดกระดาษ ยังลดลงถึง 75.4% เมื่อเทียบกับปี 2015 โดยโรงแรมมีนโยบายมอบหลอดให้กับผู้ที่ประสงค์ใช้
รีไซเคิลดอกไม้ ดอกไม้ที่ผ่านการใช้งานนำมาทำเป็น บุหงารำไป หรือการนำดอกไม้สดไปตากแห้งแล้วพรมด้วยนํ้ามันหอมระเหย เป็นการรีไซเคิลให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยผู้เข้าพักสามารถพบบุหงารำไปได้ทั้งในห้องพักและโถงทางเดิน สัมผัสกลิ่นหอมให้สร้างความรู้สึกผ่อนคลาย และเป็นความหอมที่ปราศจากสารเคมี ดีต่อสุขภาพ และส่วนห้องพักที่ผ่านการปรับปรุงสวยงาม วัสดุหลายชิ้นในห้องพักเป็นการ รีไซเคิลจากเฟอร์นิเจอร์เก่าให้กลับมาในรูปแบบใหม่ โดยโรงแรม ออกแบบดีไซน์ใหม่ ส่งต่อให้ช่างไม้ชาวไทยแปลงโฉมเพื่อนำกลับมาใช้อีกครั้ง โดยกระบวนการรีไซเคิลทั้งหมดทำในประเทศไทยแบบ 100 เปอร์เซ็นต์
ลดการทิ้งขยะ ใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงความยั่งยืนในอนาคต.