นับเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดของศาลรัฐธรรมนูญต่อคดีสำคัญ ที่ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องของสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 40 คน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5 ) หรือไม่จากกรณีนายเศรษฐาได้นำความกราบบังคมทูล เพื่อโปรดเกล้าแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่านายพิชิตขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเคยถูกศาลฎีกามีคำสั่งจำคุกเป็นเวลา 6 เดือนในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เป็นบุคคลที่กระทำการอันไม่ซื่อสัตย์สุจริตและมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง

โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 ท่านได้มีการนัดหารือวินิจฉัยในวันที่ 14 ส.ค.2567 ตั้งแต่เวลา 09.30 น.และนัดแถลงด้วยวาจาในเวลา 15.00 น. ของวันเดียวกัน ประกอบกับเมื่อ 1 สัปาดห์ก่อนหน้านี้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดให้มียุบพรรคก้าวไกล และตัดสิทธิการเมือง 10 ปี กรรมการบริหารพรรค ทำให้ประชาชนต้องการทราบว่า ตุลาการทั้ง 9 ท่าน มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ดังนี้

  1. นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เกิดวันที่ 28 ก.ค. 2501 จบการศึกษา รัฐศาสตรบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับสอง อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ภาควิชาประวัติศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย PH.D. (INTERNATIONAL STUDIES) WASEDA UNIVERSITY,ประเทศญี่ปุ่น

ประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ โดยเคยดำรงตำแหน่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เคยดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ท่าพระจันทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, รองอธิการบดีฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่วนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

  1. นายปัญญา อุชชาชน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกิดวันที่ 15 เม.ย.2499 จบการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) นิติศาสตรบัณฑิต นิติศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายมหาชน)M.A. (Public Administration), Detroit, Michigan, U.S.A. นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Laws) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Justice Administration) เคยดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, เลขานุการผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร กระทรวงมหาดไทย, เลขานุการผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี กระทรวงมหาดไทย, นักวิชาการปกครอง กรมการปกครอง, หัวหน้างานอัตรากำลังและบรรจุแต่งตั้ง กรมการปกครอง, ผู้ช่วยหัวหน้าภาควิชาพฤติกรรมศาสตร์ วิทยาลัยการปกครอง, ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนนักปกครองระดับสูง วิทยาลัยการปกครอง, หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, หัวหน้ากลุ่มงานคดี สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, ผู้เชี่ยวชาญด้านคดีและวิชาการ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, รองเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ (ฝ่ายคดีและฝ่ายบริหาร), ที่ปรึกษาด้านวิชาการ (นักวิชาการศาลรัฐธรรมนูญ 11 ชช.) และ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ (นักบริหารศาลรัฐธรรมนูญ) ตามลำดับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
  2. นายอุดม สิทธิวอรัชธรรม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกิดวันที่ 22 พ.ย. 2497 จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง เนติบัณฑิตไทย สมัยที่ 28 สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยดำรงตำแหน่ง นายทหารพระธรรมนูญ กองทัพเรือ, ผู้ช่วยผู้พิพากษา ผู้พิพากษาประจำกระทรวงช่วยทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลจังหวัดทุ่งสง และผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดแม่สอด ศาลจังหวัดพิษณุโลก และศาลจังหวัดนครสวรรค์, ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกระทรวง ช่วยทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนครสวรรค์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดหลังสวน ศาลจังหวัดอุทัยธานี และศาลจังหวัดกำแพงเพชร

ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญา, ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 6, ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ ภาค 3, ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์ภาค 5 และประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลอุทธรณ์ภาค 3, รองประธานศาลอุทธรณ์, อธิบดีผู้พิพากษาภาค 1 และ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากรุงเทพใต้, ผู้พิพากษาศาลฎีกา, ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5, ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และ ประธานแผนกคดีคำสั่งคำร้องและขออนุญาตฎีกาในศาลฎีกา ตามลำดับ ส่วนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

  1. นายวิรุฬห์ แสงเทียน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกิดวันที่ 27 พ.ย. 2494 จบการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เคยดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา, รองประธานศาลฎีกา และ ประธานแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา ตามลำดับ ส่วนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก, มหาวชิรมงกุฎ
  2. นายจิรนิติ หะวานนท์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกิดวันที่ 14 ก.พ.2496 จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา LL.M. (Master of Law, Harvard University) M.C.L. (Master of Comparative Law, George Washington University) S.J.D. (Doctor of Juridical Science, George Washington University)

ตำแหน่งทางวิชาการศาสตราจารย์พิเศษ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาศาลจังหวัดขอนแก่น, ผู้อำนวยการกองวิชาการ สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ, ผู้พิพากษาศาลแพ่ง ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแพ่ง, เลขานุการศาลฎีกา, ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์, ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์ภาค 2, ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์, อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง, ผู้พิพากษาศาลฎีกา, ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา, ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา, กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล และ กรรมการกฤษฎีกา ตามลำดับ สำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) เหรียญพระราชทาน เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 5

  1. นายนภดล เทพพิทักษ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกิดวันที่ 3 ธ.ค. 2499 จบการศึกษา รัฐศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) Master of Arts (International Relations) , Northern Illinois University (Fulbright Scholarship) เคยดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการกอง กองเอเชียตะวันออก 2 กรมเอเชียตะวันออก, อัครราชทูตที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์, รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก, อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา, เอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร, เอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน, รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และ เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ ตามลำดับ ส่วนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
  2. นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกิดวันที่ 14 ส.ค. 2495 จบการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง เคยดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปกครองชั้นต้น, ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น, ตุลาการศาลปกครองสูงสุด และตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด ตามลำดับ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
  3. นายอุดม รัฐอมฤต ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกิดวันที่ 28 มิ.ย. 2502 จบการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต (กฎหมายมหาชน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางกฎหมายอาญา (Diplôme Supérieur d’Université) มหาวิทยาลัย Paris II ประเทศฝรั่งเศส ปริญญาโทและปริญญาเอกทางกฎหมายอาญา (Diplôme d’études approfondies et Doctorat en Droit Pénal) มหาวิทยาลัย Nancy II ประเทศฝรั่งเศส

ตำแหน่งทางวิชาการ ศาสตราจารย์ประจำในสาขากฎหมายวิธีสบัญญัติ ทั้งนี้ก่อนดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เคยดำรงตำแหน่ง รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.), คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ กรรมการกฤษฎีกา ตามลำดับ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับ- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

  1. นายสุเมธ รอยกุลเจริญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เกิดวันที่ 16 ก.ย.2498 จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม, นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง เคยเป็น อัยการจังหวัดประจำกรม ปฏิบัติราชการในตำแหน่งอัยการจังหวัด สำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของประชาชน (สคช) จังหวัดกาญจนบุรี, อัยการจังหวัดประจำกรม สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 6 (ธนบุรี), ตุลาการศาลปกครองกลาง, ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองขอนแก่น, รองอธิบดีศาลปกครองพิษณุโลก, รองอธิบดีศาลปกครองกลาง, อธิบดีศาลปกครองนครศรีธรรมราช, ตุลาการศาลปกครองสูงสุด, ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด, ประธานแผนกคดีวินัยการคลังและงบประมาณในศาลปกครองสูงสุด, รองประธานศาลปกครองสูงสุด นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองผู้ทรงคุณวุฒิ (ก.ศป), ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ, ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล, อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยรามคำแหง, อาจารย์พิเศษจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยนเรศวร, อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, อาจารย์พิเศษวิทยาลัยการยุติธรรมทางปกครอง สำนักงานศาลปกครอง ทั้งนี้ได้รับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด ประกอบด้วย เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 (23 ก.ย. 2530), มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) (5 ธ.ค.2547) ,มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) (5 ธ.ค.2550 ), เหรียญจักรพรรดิมาลา (5 ธ.ค.2552)