ที่ ห้องประชุมชูเกียรติปิติเจริญ อาคารสำนักงานอธิการบดีหลังเก่า มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวทางการร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาความชัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจัดโดย ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ร่วมกับคณะทำงานพิจารณาศึกษาแนวคิดร่างกฎหมายสันติภาพชายแดนภาคใต้ใน คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษา และเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นการจัดดำเนินการเวทีอย่างต่อเนื่อง เวทีกลุ่มย่อยกลุ่มต่างๆ เวทีกลางรับฟังความคิดเห็น และเวทีระดับภาครวม 13 ครั้งแล้ว มีนายจาตุรณต์ ฉายแสง ประธานกรรมาธิการวิสามัญสันติภาพฯ ประธานการประชุม เข้าร่วมการประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ (Zoom)

นายนัจมุดดีน อูมา ประธานคณะทำงานฯ เปิดเผยว่า ความคิดเห็นครั้งนี้ ได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก ทางคณะกรรมมาธิการได้ปรับปรุงเนื้อหาหลักการ เพื่อจะไปบรรจุสู่กฎหมายอย่างไร จะเห็นได้ว่าทุกคนที่มาเห็นด้วยกับกฎหมายนี้ ข้อต่อมา ทุกคนต้องการเห็นส่วนภาคการเมืองส่วนกลางของรัฐบาลมีความจริงใจ มีอำนาจหน้าที่คำสั่งแก้ปัญหาไปสู่การปฏิบัติเชิงพื้นที่ได้จริง คณะกรรมมาธิการสันติภาพชุดนี้ ใกล้หมดวาระลงแล้ว ต่อไปเพื่อจะให้ดำเนินการได้ต่อไป ควรต้องมีคณะกรรมการถาวรระดับชาติ ทำงานในส่วนสันติภาพนี้โดยตรงผ่านกลไกต่างๆ ที่มี เช่น อาจจะให้มีสภาที่ปรึกษาของ ศอ.บต. ที่กำลังจะเกิดขึ้น เข้าไปมีส่วนร่วมได้ หรืออาจจะมีการตั้งคณะทำงานสันติภาพเฉพาะด้าน ได้ดำเนินงานวาระต่างๆผ่านกรรมาธิการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง หรือผ่านภาคประชาสังคมและมีการลงรายชื่อ 10,000 รายชื่อก็ได้ สุดท้ายมีคนเสนอว่าถ้าไม่มี พ.ร.บ.ฉบับนี้ เราอาจจะเข้าไปแก้ใน พ.ร.บ.ส่วนของ ศอ.บต. สภาที่ปรึกษาฯ เพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาให้สามารถดำเนินงานสู่ความสำเร็จต่อไป

นอกจากนี้ยังมีการสานเสวนาเวที ประเด็นที่นำเสนอร่างกฎหมายโดย ทนายอาติลัน อาลีอิสเฮาะ, นายกิตติ สุระคำแหง, ผศ.ดร.วรวิทย์ บารู ดำเนินรายการโดย นายตูแวดานียา ตูแวแมแง เสร็จจากฟังเสวนาแล้วยังมีกิจกรรมการแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วม จำนวน 5 กลุ่ม (กลุ่มละ 40 คม) รวม 200 คน เพื่อระดมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่อประเด็นหลักการและร่างกฎหมายสันติภาพฯ และสรุปภาพรวมโดย ผศ.ดร. นายศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ได้ฟังข้อเสนอ และข้อคำถามทั้ง 4 ข้อ ว่า 1. กระบวนการสันติภาพที่ผ่านมามีปัญหาอุปสรรค หลายด้าน เช่น การขาดความรับรู้ ขาดความครอบคลุม ความปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็น ในทางกฎหมาย การมีส่วนร่วมของประชาชน การแสดงอัตลักษณ์ การเป็นกรรมการในระดับพื้นที่ให้ประชาชนระดับฐานทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในส่วนพัฒนาหลายๆ ด้าน เช่น มีส่วนร่วมในโต๊ะพูดคุยสันติสุขฯ ในข้อเสนอทางกฎหมายต้องไม่ผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ให้ควบคุมประเด็นการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ทรัพยากร บทบาทสภาที่ปรึกษา ศอ.บต. น่าจะเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นให้สัดส่วนกับคนในพื้นที่ได้ การแก้ปัญหาสันติภาพควรแก้ไขได้จริงเป็นประโยชน์กับทุกคนทุกฝ่าย 2.จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีเครื่องมือสำหรับรองรับกระบวนการสันติภาพให้มี ประสิทธิภาพด้วยการให้มีกฎหมาย รองรับอย่างถูกต้อง 3.ตลอดจนประเด็นสำคัญที่อยากให้มีในเนื้อหาของกฎหมายปลีกย่อยๆ อื่นๆ เช่น 3.1 คณะกรรมการถาวรระดับชาติ 3.2 คณะกรรมการระดับพื้นพื้นที่ รวมทั้งเรื่องอื่นๆ เช่น การเยียวยา กระบวนการยุติธรรม การพัฒนา วัฒนธรรมอัตลักษณ์การคุ้มครอง เป็นต้น ควรมีหน้าตาอย่างไร ได้รับข้อเสนอที่หลากหลายซึ่งทางคณะจะต้องนำไปสรุปต่อไป รวมทั้งประเด็นสุดท้าย ข้อกังวลและข้อเสนอแนะต่างๆ ทั้งหมด จะรวมกับข้อรับฟังในเวทีอื่นๆที่ดำเนินการมาตลอดระยะเวลา 9 เดือน ต้องนำไปสู่กระบวนการและให้ผู้มีอำนาจได้แก้ไขปัญหาต่อไป ซึ่งข้อเสนอแนะและความคิดเห็นทั้งหมด ทุกข้อนั้น ทางคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อสันติภาพฯ ชุดใหญ่ ก่อนและจะถูกนำไปเขียนเป็นข้อสรุปและดำเนินการสู่สภาผู้แทนราษฎร นำไปสู่กระบวนการพิจารณาไปผลักดันเป็นกฎหมาย พ.ร.บ.ให้มีข้อบังคับใช้ต่อไป