จากสถานการณ์โควิด ทำให้มีเด็กและเยาวชนในชุมชนที่จังหวัดร้อยเอ็ด 20 ชุมชน ต้องหลุดออกจากระบบศึกษาเป็นล้านคน  ซึ่งก่อนหน้านี้ในปี 2565 มีเด็ก และเยาวชน ที่หลุดออกจากระบบการศึกษาเพียง 5 แสนคน  จากปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ชุมชนเกิดความตระหนัก และมองหาแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชนเหล่านี้ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษา จนเกิดกระบวนการมีส่วนร่วม โดยมีชุมชนเป็นแกนหลักร่วมทำงานกับหน่วยงานและหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จนได้ข้อสรุปว่า ถึงแม้เด็ก และเยาวชนจะไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา แต่สามารถมีอาชีพ มีรายได้ เพื่อดูแลตัวเองและครอบครัวได้  ปัจจุบันเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ เป็นเจ้าของกิจการทั้งร้านเสริมสวย และร้านซ่อมรถ

ซึ่งความสำเร็จนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการนำนวัตกรรม “ที่ไม่เพียงแต่ผู้ใหญ่เดินนำเด็ก แต่ให้เด็กและผู้ใหญ่เดินขนานกันไป” โดยมีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)เข้ามาหนุนส่งเสริม จากการนำองค์ความรู้ที่ถอดบทเรียนของการสานพลัง สร้างนวัตกรรม สู่สุขภาวะชุมชนที่ยั่งยืน ที่จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  มาตั้งปีปี 2554 สสส.ครั้งแรกในชื่อว่า “เวทีฟื้นพลังชุมชนท้องถิ่นสู่การอภิวัฒน์ประเทศไทย”  และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ครั้งนี้เป็นปีที่ 13 ในวาระ “ชุมชนท้องถิ่นร่วมแก้ปัญหาประเทศ” เนื่องจากปัจจุบันไทยเผชิญกับสถานการณ์เร่งด่วนที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การสื่อสาร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากภาวะโลกเดือด อุตสาหกรรมปล่อยมลพิษทางอากาศ ความปลอดภัยทางอาหาร นำไปสู่สาเหตุของโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหลอดเลือดสมอง ปัญหาอนามัยการเจริญพันธุ์ หรือปัญหาสุขภาพจิต นอกจากนี้ ยังมีปัญหาหนี้สินครัวเรือน การว่างงาน เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนท้องถิ่น ซึ่งแต่ละพื้นที่มีความซับซ้อน การแก้ปัญหาของแต่ละชุมชนที่แตกต่างกันไป

การสานพลัง สร้างนวัตกรรม เพื่อร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่  เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมการขับในเคลื่อนการแก้ไขปัญหาของประเทศตั้งแต่ระดับพื้นสู่ระดับประเทศ มีชุมชนเข้าร่วมจำนวนหลายพันกว่าชุมชน ทั่วทุกภูมิภาค มีชุมชนต้นแบบในแต่ละด้าน ที่สามารถนำนวัตกรรมไปช่วยแก้ไขปัญหาได้จริง ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขโดยคนคนเดียวได้ แต่ต้องร่วมมือ สานพลัง ร่วมกันผลักดัน ให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งในแต่ละพื้นที่ได้มีการถอดบทเรียนปัญหาต่างๆ เพื่อหาทางออกของปัญหานั้นๆ

เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ และภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ ได้ประกาศปฏิญญาเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ เพื่อใช้เป็นทิศทางดำเนินงาน ให้เกิดการสานพลังบูรณาการทั้งภายในองค์กร และเครือข่ายมากยิ่งขึ้น เป็นพลังที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง และน้อมนำศาสตร์ของพระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” “ระเบิดจากข้างใน” “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นเครื่องมือการทำงาน ครอบคลุม 7 ประเด็น 21 เป้าหมาย ได้แก่ 1. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุครบวงจร 2. ส่งเสริมสุขภาพจิตและดูแลผู้ป่วยจิตเวช 3. ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน และเฝ้าระวังแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน 4. ส่งเสริมระบบอาหารชุมชน 5. รับมือภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 6. ลดการสูบบุหรี่ 7. เสริมศักยภาพเด็กและเยาวชนโดยชุมชนท้องถิ่น

โดยการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นใน 6 ปัจจัยสำคัญได้แก่

1. ผู้นำชุมชนท้องถิ่น มีทักษะและความสามารถในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น
2. กลไกขับเคลื่อนที่สร้างการมีส่วนร่วมของทุนทางสังคม สรุปบทเรียน และสร้างการเรียนรู้ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ของตนเอง และเครือข่าย
3. นโยบายสาธารณะและมาตรการทางสังคมโดยชุมชนท้องถิ่น
4. แนวทางการนำนโยบายสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมและมีคุณภาพ
5. ระบบข้อมูลและเครื่องมือทางวิชาการที่มีคุณภาพ ไวต่อการนำไปใช้ในการทำงาน
และ 6. ระบบบริการสาธารณะและบริการอื่นโดยชุมชนท้องถิ่น

การแสดงพลังและศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น ในการพัฒนามุ่งสู่การใช้ความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานในการจัดการกับสุขภาวะชุมชน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน และการคำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน เกิดเป็น “ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่” ซึ่งเป็นฐานสำคัญในการร่วมแก้ปัญหาต่าง ๆ ของประเทศ “การมีสุขภาวะชุมชนที่ดี คือ การอยู่ดี มีอาชีพ มีรายได้ มีความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพตัวเอง เพื่อผลักดันให้เกิดการสนับสนุน และสานพลังของชุมชนท้องถิ่น สู่การพัฒนาในทุกระดับเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของประเทศ โดยมีเป้าหมายให้ชุมชนท้องถิ่น มีความเข้มแข็งในการจัดการตนเอง ลดความเหลื่อมล้ำ สามารถรับมือกับวิกฤต ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตได้