สำหรับบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี ประกันลดหย่อนภาษีจึงเป็นตัวเลือกที่ดีและคุ้มค่าสำหรับผู้ที่อยากทำประกันภัยเพื่อรับความคุ้มครองตามแผนประกัน และสามารถนำไปเป็นค่าลดหย่อนเพื่อช่วยให้เสียภาษีน้อยลงได้ แต่ก่อนที่จะทำประกันออนไลน์ควรเข้าใจก่อนว่าประกันที่สามารถลดหย่อนภาษีได้มีแบบใดบ้าง และมีเงื่อนไขอะไรที่ต้องทราบก่อนทำ บทความนี้จึงขอชวนคุณมาทำความเข้าใจเพื่อคลายข้อสงสัย รวมถึงแชร์วิธีเลือกแผนประกัน วิธีคำนวณเงินภาษี และข้อดีของการวางแผนซื้อประกัน พร้อมแนะนำประกันลดหย่อนภาษีที่น่าสนใจ ตามไปอ่านกันได้เลย!

ประเภทของประกันที่สามารถลดหย่อนภาษีได้

ประกันภัยที่สามารถนำค่าเบี้ยฯ ไปลดหย่อนภาษีได้มีด้วยกัน 4 ประเภท แต่ละประเภทให้ความคุ้มครองและมีเงื่อนไขในการลดหย่อนที่แตกต่างกันไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ประกันชีวิตแบบทั่วไป
เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองชีวิต นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับครอบครัวและตัวผู้เอาประกันภัยเอง โดยให้ความคุ้มครองในกรณีที่สูญเสียรายได้จากการเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือเจ็บป่วยร้ายแรง (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรายละเอียดและเงื่อนไขในกรมธรรม์) นอกจากนี้ ประกันลดหย่อนภาษีประเภทนี้ยังเป็นเครื่องมือในการออมเงินและการวางแผนภาษีที่มีประสิทธิภาพ แบ่งได้อีก 4 รูปแบบ คือ

  • ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life) ประกันชีวิตแบบตลอดชีพเป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองตลอดชีวิตของผู้เอาประกันภัย โดยบริษัทประกันจะจ่ายเงินก้อนให้แก่ผู้รับผลประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ไม่ว่าจะเสียชีวิตเมื่อใดก็ตาม หรือจ่ายให้ผู้เอาประกันภัยเองเมื่อมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดสัญญา ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life) มักมีค่าเบี้ยฯ ไม่สูง และผู้เอาประกันชำระค่าเบี้ยในช่วงระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น
  • ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term) เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองชีวิตในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น 5 ปี, 10 ปี หรือ 20 ปี หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในระหว่างระยะเวลาคุ้มครอง บริษัทประกันจะจ่ายเงินก้อนให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ แต่หากผู้เอาประกันภัยมีชีวิตอยู่จนครบกำหนดสัญญา การคุ้มครองก็จะสิ้นสุดลงโดยไม่มีการจ่ายเงินคืน
  • ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment) เป็นประกันที่ผสมผสานระหว่างการคุ้มครองชีวิตและการออมเงิน โดยให้ความคุ้มครองชีวิตในระยะเวลาที่กำหนด และมีการจ่ายเงินคืนเมื่อครบกำหนดสัญญาหากผู้เอาประกันภัยยังมีชีวิตอยู่ แบบประกันนี้มักมีระยะเวลา 10 – 30 ปี และอาจมีการจ่ายเงินคืนระหว่างสัญญาเป็นงวด ๆ เบี้ยประกันจะสูงกว่าแบบชั่วระยะเวลาเนื่องจากมีส่วนของการออมรวมอยู่ด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการทั้งความคุ้มครองชีวิตและการออมเงินในระยะยาว
  • ประกันชีวิตควบการลงทุน (Investment Linked Life Insurance) ประกันชีวิตควบการลงทุนเป็นประกันที่ผสมผสานระหว่างการคุ้มครองชีวิตและการลงทุนในกองทุนรวม โดยเบี้ยประกันส่วนหนึ่งจะถูกนำไปลงทุนในกองทุนรวมตามที่ผู้เอาประกันภัยเลือก แบบประกันนี้มีความยืดหยุ่นสูง อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจากการลงทุนนั้นผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง

ประกันชีวิตที่อธิบายไปข้างต้น ถือเป็นประกันลดหย่อนภาษีทั้งหมด โดยสามารถดูเงื่อนไขได้ตามด้านล่าง

เงื่อนไขการลดหย่อนภาษี
– สามารถหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
– หากรวมกับเงินฝากแบบมีประกันชีวิต ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
– ประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
– กรมธรรม์ประกันชีวิตต้องมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป
– ประกันชีวิตต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตในไทยเท่านั้น
– กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนทุกปี จะต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี
– กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนตามช่วงระยะเวลาที่บริษัทประกันกำหนด เช่น ราย 2 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี จะต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมของแต่ละช่วงระยะเวลาที่บริษัทประกันภัยกำหนดให้มีการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืน

อย่างไรก็ตาม หากมีการเลิกสัญญาฯ หรือเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะไม่สามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้ และต้องจ่ายคืนภาษีย้อนหลังของทุก ๆ ปีที่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนไป พร้อมดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือน ของยอดภาษีที่จ่าย

2. ประกันชีวิตแบบบำนาญฯ
ประกันลดหย่อนภาษีประเภทที่ 2 คือกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองชีวิตควบคู่กับการสะสมเงินเพื่อใช้ในวัยเกษียณ (เริ่มรับเงินบำนาญเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป) โดยผู้เอาประกันจะจ่ายเบี้ยประกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง และเมื่อครบกำหนดตามสัญญา บริษัทประกันจะจ่ายเงินบำนาญให้แก่ผู้เอาประกันเป็นงวด ๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งอาจเป็นรายเดือนหรือรายปี ตามที่ระบุในกรมธรรม์

ประกันบำนาญถือเป็นประกันลดหย่อนภาษีที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เนื่องจากช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนเงินใช้จ่ายหลังเกษียณ และยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สูงกว่าประกันชีวิตทั่วไป

เงื่อนไขการลดหย่อนภาษี
– สามารถลดหย่อนได้สูงสุดถึง 15% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
– สามารถนำไปรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท อธิบายง่าย ๆ คือ ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท หากไม่ใช้สิทธิ์ลดหย่อนประกันชีวิตแบบทั่วไป
– เมื่อได้รวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน, กองทุน RMF, กองทุน SSF หรือกองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน
– กรมธรรม์ประกันชีวิตต้องมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป
– ประกันบำนาญต้องทำกับบริษัทประกันในไทยเท่านั้น
– บริษัทประกันต้องจ่ายผลประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ โดยกำหนดช่วงอายุการจ่ายผลประโยชน์เป็น 55 – 85 ปีขึ้นไป และผู้เอาประกันต้องจ่ายเบี้ยฯ ครบถ้วนก่อนได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญ

3. ประกันสุขภาพส่วนบุคคล
คือกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้เอาประกันในกรณีเจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ โดยบริษัทประกันจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตามเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์ ตามแต่ละบริษัทประกันภัยกำหนด ซึ่งประกันสุขภาพที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ได้แก่ ประกันสุขภาพทั่วไป, ประกันอุบัติเหตุ, ประกันโรคร้ายแรง และประกันการดูแลระยะยาว เฉพาะรูปแบบความคุ้มครองที่เข้าข่ายเท่านั้น ก่อนนำไปลดหย่อนภาษีจึงควรศึกษารายละเอียดอีกครั้ง

เงื่อนไขการลดหย่อนภาษี
– สามารถลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี
สามารถนำไปรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปได้ แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
– ประกันสุขภาพต้องทำกับบริษัทประกันในไทยเท่านั้น

4. ประกันสุขภาพของพ่อแม่
ประกันสุขภาพของพ่อแม่เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของประกันลดหย่อนภาษีที่ช่วยให้คุณสามารถดูแลสุขภาพของบุพการีและได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีไปพร้อมกัน ซึ่งมีเงื่อนไขที่แตกต่างกับประกันสุขภาพส่วนบุคคลอยู่บ้าง

เงื่อนไขการลดหย่อนภาษี

– สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาทต่อปี
– สามารถแบ่งจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ร่วมกับพี่น้องได้ โดยจะลดหย่อนได้สูงสุดตามยอดเงินที่หารเฉลี่ยด้วยจำนวนพี่น้อง เช่น หากมีพี่น้อง 3 คน และทั้ง 3 คนต้องจ่ายภาษี บุตรแต่ละคนจะขอสิทธิลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินคนละ 5,000 บาท จากจำนวนเต็ม 15,000 บาท
– พ่อแม่ต้องมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
– บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่มีสิทธิซื้อประกันให้บิดามารดาและนำมาลดหย่อนภาษีได้
– บุตรหรือพ่อแม่คนใดคนหนึ่งต้องอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีนั้น ๆ
– ประกันสุขภาพต้องทำกับบริษัทประกันในไทยเท่านั้น

กลยุทธ์การวางแผนด้านภาษีด้วยประกันลดหย่อนภาษี

เมื่อทราบกันแล้วว่าประกันเป็นเครื่องมือในการช่วยลดหย่อนภาษีได้เป็นอย่างดี ดังนั้น สิ่งที่ควรทำต่อมาคือการวางแผนด้านภาษีผ่านการทำประกัน ซึ่งก่อนซื้อประกันลดหย่อนภาษีแนะนำให้พิจารณา 2 ข้อ คือ การเลือกแผนประกัน และวิธีคำนวณภาษี

1. เลือกแผนประกันที่เหมาะสม
การเลือกประกันลดหย่อนภาษีที่เหมาะสมนั้นต้องพิจารณาหลายปัจจัย ดังนี้ วิเคราะห์ความต้องการ โดยพิจารณาจากไลฟ์สไตล์ทั้งด้านการใช้ชีวิตและด้านการเงิน เพื่อเลือกแผนประกันลดหย่อนภาษีที่มีเงื่อนไข

  • หรือสิทธิประโยชน์สอดคล้องกับผู้เอาประกัน สามารถวางแผนในระยะยาวได้
  • ศึกษาเงื่อนไขความคุ้มครองและผลประโยชน์ รวมถึงข้อยกเว้นของประกันแต่ละประเภทอย่างละเอียด เช่น ผลประโยชน์ด้านเงินคืน เงินคืนครบกำหนดสัญญา การชดเชยรายได้กรณีเข้าพักรักษาตัว ความคุ้มครองชีวิต ฯลฯ โดยเปรียบเทียบแผนประกันจากหลาย ๆ บริษัท
  • ตรวจสอบวิธีการชำระเบี้ยประกัน เช็กว่าประกันลดหย่อนภาษีที่สนใจทำนั้น มีวิธีการชำระเป็นรายเดือนหรือรายปี เพื่อให้คุณวางแผนจ่ายเบี้ยประกันได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงพิจารณาระยะเวลาความคุ้มครองและชำระเบี้ยประกันภัย ซึ่งปัจจุบันระยะเวลาเอาประกันภัยที่สั้นที่สุดสำหรับการลดหย่อนภาษีคือ ระยะเวลา 10 ปี จึงมีกรมธรรม์ที่แบ่งระยะเวลาคุ้มครองและระยะเวลาชำระเบี้ยมาให้เลือกมากขึ้น ซึ่งหากผู้เอาประกันเลือกแผนประกันที่เหมาะสม ชำระเบี้ยฯ ตามระยะเวลา และทำตามเงื่อนไขที่กำหนดครบถ้วน นอกจากจะนำไปลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์แล้ว ยังได้รับความคุ้มครองและเงินคืนตามเงื่อนไขที่กำหนดจนครบสัญญา ซึ่งสามารถวางแผนให้เป็นเงินออมได้อีกด้วย

2. วิธีคำนวณเงินภาษี
หากคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายของตนเองได้ จะช่วยให้เลือกประกันลดหย่อนภาษีที่เหมาะกับภาระทางภาษีที่คุณมีได้ง่ายขึ้น โดยอันดับแรกให้เช็ก ‘รายได้หรือเงินได้’ ของคุณเพื่อหา ‘เงินได้สุทธิ’ แล้วจึงนำไปหา ‘ภาษีที่ต้องจ่าย’ โดยการคำนวณกับอัตราภาษีตามขั้นบันไดในขั้นตอนถัดไป ซึ่งการหาเงินได้สุทธิและภาษีที่ต้องจ่าย มีสูตรดังต่อไปนี้

เงินได้ (Income): คือ รายได้ทั้งหมดที่บุคคลหรือองค์กรได้รับในช่วงเวลาหนึ่ง อาจมาจากหลายแหล่ง เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือรายได้จากการประกอบธุรกิจ

ค่าใช้จ่าย (Expenses): คือ เงินที่จ่ายออกไปเพื่อดำเนินกิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าเช่า หรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจอื่น ๆ

ค่าลดหย่อน (Deductions): คือ รายการที่กฎหมายภาษีอนุญาตให้นำมาหักออกจากเงินได้เพื่อลดภาระภาษี ตัวอย่างเช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว เงินบริจาค เบี้ยประกันชีวิต ฯลฯ

สำหรับอัตราภาษีตามขั้นบันได เป็นระบบการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีทั้งหมด 8 ขั้น เริ่มตั้งแต่เงินได้สุทธิ 0 – 150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี ไปจนถึงเงินได้สุทธิมากกว่า 5,000,000 บาท ที่มีอัตราภาษีอยู่ที่ 35% ซึ่งปัจจุบันสามารถตรวจสอบหรือคำนวณทางเว็บไซต์ต่าง ๆ ทางออนไลน์ได้แล้ว

การวางแผนด้านภาษีด้วยการซื้อประกันลดหย่อนภาษี ถือเป็นกลยุทธ์ที่ชาญฉลาดและควรศึกษาอย่างละเอียด อีกทั้งสามารถนำไปสู่การเป้าหมายทางการเงินที่มีประสิทธิภาพได้อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนทำการลดหย่อนภาษีด้วยประกันแต่ละประเภท ควรเช็กเงื่อนไขที่อัปเดตล่าสุด ณ วันนั้น ๆ เพื่อความมั่นใจและลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นนั่นเอง

ข้อดีของการวางแผนซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษี

1. มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด
ทำให้สามารถเปรียบเทียบแผนประกันลดหย่อนภาษีจากหลายบริษัทได้อย่างรอบคอบ และมีโอกาสปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกแผนที่เหมาะสมที่สุดกับสถานการณ์ทางการเงินของคุณ

2. โอกาสได้รับโปรโมชันพิเศษ
บริษัทประกันมักมีโปรโมชันเพื่อกระตุ้นยอดขายประกันลดหย่อนภาษีโดยเฉพาะช่วงปลายปี ทำให้ได้สิทธิพิเศษที่คุ้มค่ามากขึ้น โดยอาจได้รับส่วนลดหรือของสมนาคุณเมื่อซื้อประกันล่วงหน้า

3. เลือกความคุ้มครองได้ตรงความต้องการ
มีเวลาประเมินความเสี่ยงและความต้องการด้านประกันของตนเองอย่างละเอียดสามารถเลือกแผนประกันลดหย่อนภาษีที่ให้ความคุ้มครองตรงกับความต้องการมากที่สุด

4. ลดภาระด้านภาษีได้อย่างเต็มที่
สามารถวางแผนการซื้อประกันลดหย่อนภาษีให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด และมีโอกาสจัดสรรงบประมาณเพื่อซื้อประกันลดหย่อนภาษีได้หลากหลายประเภท เพื่อให้ครอบคลุมทั้งด้านชีวิต สุขภาพ และการเกษียณ

5. ซื้อประกันได้สะดวกทางออนไลน์
ปัจจุบันสามารถเปรียบเทียบและซื้อประกันออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางไปติดต่อบริษัทประกันหรือตัวแทน

ประกันลดหย่อนภาษีจากกรุงเทพประกันชีวิต (Bangkok Life Assurance) ประกันออนไลน์ ซื้อง่าย ให้ความคุ้มครองครบ

หากสนใจอยากทำประกันลดหย่อนภาษีกับบริษัทประกันที่น่าไว้วางใจ ให้ความคุ้มครองและผลประโยชน์คุ้มค่า ขอแนะนำประกันภัยจากกรุงเทพประกันชีวิต ซึ่งมีประกันภัยที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ถึง 4 แบบประกันออนไลน์ เลือกได้ตามความต้องการของคุณ

Happy Pension (Par) | ประกันบำนาญ แฮปปี้ เพนชั่น (มีเงินปันผล)
ไม่ต้องรอสูงวัย ก็วางแผนเกษียณได้แล้ว การันตีเงินบำนาญถึงอายุ 99 ปี

จุดเด่นของประกัน

  • ระยะเวลาคุ้มครองถึงอายุ 99 ปี
  • เลือกระยะเวลาชำระเบี้ยฯ ได้ 1 ปี (ครั้งเดียวจบ)/ 5 ปี/ 10 ปี หรือจนถึงอายุ 60 ปี
  • มีโอกาสรับเงินบำนาญเพิ่มพิเศษตลอดสัญญา1,2
  • ระยะเวลาชำระเบี้ยฯ ครั้งเดียว จำนวนเงินเอาประกันภัยเริ่มต้น 20,000,000 บาท
  • ระยะเวลาชำระเบี้ยฯ 5 ปี, 10 ปี และจนถึงอายุ 60 ปี จำนวนเงินเอาประกันภัยเริ่มต้น 50,000 บาท
  • ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 300,000 บาทต่อปี3 เป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด

BLA Smart Saving 10/2 | บีแอลเอ สมาร์ทเซฟวิ่ง 10/2
ประกันสะสมทรัพย์ระยะสั้น จ่ายเบี้ยสั้น 2 ปี รับเงินคืนทุกปี

จุดเด่นของประกัน

  • อายุผู้เอาประกันภัย 20 – 70 ปี
  • ระยะเวลาคุ้มครองชีวิต 10 ปี ระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย 2 ปี
  • รับเงินคืนทุกปี ปีละ 2% ผลประโยชน์รวมตลอดสัญญา 226% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
  • เบี้ยฯ รายปี เริ่มต้นปีละ 30,000 บาท
  • ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 100,000 บาทต่อปี เป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด

BLA Smart Return 10/5 | บีแอลเอ สมาร์ทรีเทิร์น 10/5
ประกันลดหย่อนภาษี รับเงินคืนก้อนใหญ่ คืนไวกว่า SSF

จุดเด่นของประกัน

  • อายุผู้เอาประกันภัย 20 – 80 ปี
  • ระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปี ระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย 5 ปี
  • คืนเงินไวตั้งแต่ปีที่ 5 โดยปีที่ 7 – 9 รับเงินคืน 100% ปีที่ 10 รับเงินคืน 205% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
  • คุ้มครองชีวิต 10 ปี กรณีเสียชีวิต รับเงินคืนสูงสุด 505% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย
  • เบี้ยเริ่มต้นปีละ 20,000 บาท เฉลี่ยเดือนละพันนิด ๆ
  • ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 100,000 บาทต่อปี เป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด

BLA Complete Health | บีแอลเอ คอมพลีท เฮลธ์
ประกันสุขภาพออนไลน์ ซื้อง่าย ไม่ต้องตรวจสุขภาพ

จุดเด่นของประกัน

  • อายุผู้เอาประกันภัย 20 – 65 ปี
  • ป่วยถี่แค่ไหน ก็ไม่ลำบาก คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (IPD) สูงสุด 5,000,000 บาทต่อครั้ง4 ไม่จำกัดจำนวนครั้งต่อปี
  • ครอบคลุมค่าห้องพักเดี่ยวราคาเริ่มต้นของโรงพยาบาล4
  • คุ้มครอง 20 โรคร้ายแรง รับผลประโยชน์เงินชดเชย 100,000 บาท ทุกแผน เมื่อได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าตรวจพบโรคร้ายเป็นครั้งแรก
  • เลือกชำระเบี้ยฯ เป็นรายปี หรือรายเดือน (รายเดือน ชำระเบี้ยประกันครั้งแรก 2 งวด)
  • ลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี เป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด ทั้งนี้เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไป ต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี

4 ขั้นตอนการซื้อประกันออนไลน์จาก Bangkok Life Assurance

ประกันออนไลน์ของกรุงเทพประกันชีวิตสามารถสั่งซื้อเพื่อรับความคุ้มครองได้ง่าย ๆ ใน 4 ขั้นตอน เพียงเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน มีวิธีการดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 เลือกแบบประกันที่สนใจและคำนวณเบี้ยประกันภัย
ขั้นตอนที่ 2 กรอกใบคำขอซื้อประกันออนไลน์
ขั้นตอนที่ 3 ชำระเงินค่าเบี้ยประกันภัยตามที่บริษัทฯ กำหนด
ขั้นตอนที่ 4 รอผลอนุมัติ และรับความคุ้มครองได้เลย

หากต้องการซื้อประกันผ่านทางออนไลน์หรือศึกษาแผนประกันลดหย่อนภาษีของกรุงเทพประกันชีวิตเพิ่มเติม สามารถเข้าไปเยี่ยมชมหรือสมัครได้ที่เว็บไซต์ https://www.bangkoklife.com/online/th  หรือ โทร 02-777-8888

หมายเหตุ
– โปรดทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

  1. บริษัทอาจพิจารณาเพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัยเพิ่มพิเศษให้ในช่วงรับเงินบำนาญ โดยจำนวนเงินเอาประกันภัยเพิ่มพิเศษนี้ จะขึ้นอยู่กับเงินปันผล ณ วันครบรอบปีกรมธรรมที่ผู้เอาประกันภัยมีอายุครบ 59 ปี ซึ่งคำนวณมาจากผลตอบแทนจากการลงทุนของสินทรัพย์ของกลุ่มผลิตภัณฑ์แบบมีส่วนร่วมในเงินปันผล ตั้งแต่วันที่สัญญาเริ่มมีผลคุ้มครอง จนถึงวันครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยมีอายุครบ 59 ปี หลังหักด้วยต้นทุนทั้งหมดของกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งบริษัทจะจัดสรรในอัตราร้อยละ 80 ให้แก่ผู้เอาประกันภัย ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไข ข้อกำหนด และวิธีการคำนวณเงินปันผลที่บริษัทพิจารณา ณ วันครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยมีอายุครบ 59 ปี
  2. ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตหรือขอใช้สิทธิเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยก่อนวันครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยมีอายุครบ 59 ปี บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการไม่พิจารณาเพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัยเพิ่มพิเศษ
  3. ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี หรืออาจลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาทต่อปี กรณีที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไป4 สำหรับแผนความคุ้มครอง 3

อ้างอิง: rd.go.th
https://www.rd.go.th/60058.html