นายกอบชัย คงทวี ผู้จัดการทั่วไปอาวุโส พร้อมด้วยผู้บริหารและพนักงาน บริษัท ซีพีแรม จำกัด จัดทำโครงการ CPRAM GREEN LIFE “ปลูกเพื่อโลกยั่งยืน” และกิจกรรม “แสนกล้าสู่แสนต้น” พร้อมผนึกกำลังกับ สำนักงานด้านความยั่งยืนและพัฒนาชุมชน จังหวัดน่าน เครือเจริญโภคภัณฑ์ , ส่วนราชการ และชาวบ้านในพื้นที่ โดยได้รับเกียรติจากนายสมาน กองแก้ว ปลัดจังหวัดลำพูน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการดังกล่าว พร้อมด้วยและคุณบัญชา โชติกำจร ผู้อำนวยการสำนักงานด้านความยั่งยืนและพัฒนาชุมชน จังหวัดน่าน เครือเจริญโภคภัณฑ์, หัวหน้าส่วนราชการ, ผู้ใหญ่บ้าน, นักเรียน รวมถึงชาวบ้านในพื้นที่ร่วมกันเพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างสมดุลระบบนิเวศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงสร้างความมั่นคงและความยั่งยืนทางอาหาร ณ บ้านขุนก๋อง ตำบลทาแม่ลอบ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน

นายกอบชัย คงทวี ผู้จัดการทั่วไปอาวุโส บริษัท ซีพีแรม จำกัด กล่าวว่า ซีพีแรม ได้มีการปลูกต้นไม้มาโดยตลอดทั้งภายใน และบริเวณโดยรอบบริษัทในชุมชน รวมถึงพื้นที่ป่า ซึ่งกิจกรรม CPRAM GREEN LIFE “ปลูกเพื่อโลกยั่งยืน” ในครั้งนี้ เป็นการผนึกกำลังพันธมิตรในทุกภาคส่วน เพื่อมาเพิ่มพื้นที่สีเขียว ช่วยทำให้ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สอดคล้องกับปรัชญา 3 ประโยชน์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่มุ่งสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ประเทศชาติ ประชาชน และองค์กร พื้นที่ปลูกในครั้งนี้ ครอบคลุม 3 พื้นที่ ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง, สถาบันวิจัยพื้นที่สูงโครงการหลวง (องค์การมหาชน) และศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านขุนก๋อง สังกัดศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอแม่ทา ต้นไม้เพียงต้นเดียวนั้นมีคุณค่ามหาศาล เพราะชีวิตของคนเราจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยต้นไม้ เพราะฉะนั้นหากเราทุกคนหันมาช่วยเพิ่มปริมาณต้นไม้ในเมืองไทยให้มากขึ้น โอกาสที่จะคืนความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ระบบนิเวศย่อมเป็นไปได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ ซีพีแรมเชื่อว่า เพราะความร่วมมือ คือรากฐานที่สำคัญของความยั่งยืน

ซีพีแรม ดำเนินโครงการ “CPRAM Green Life” #ปลูกเพื่อโลกยั่งยืน ปลูกต้นไม้ไปแล้วกว่า 42,000 ต้น บนพื้นที่ 340,000 ตารางเมตร และแจกกล้าไม้ให้กับชาวบ้านและพนักงานไปแล้วกว่า 79,200 ต้น หวังเพิ่มพื้นที่สีเขียวจากป่าชายเลน และป่าปก บนผืนแผ่นดินไทยอย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ประชาชนและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการรับกล้าไม้ที่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก และปลูกลงดินตลอดจนการดูแลให้ต้นไม้เติบโต กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมจากชุมชนให้เข้ามาดูแลรักษาและฟื้นฟูทรัพยากร ไม่เพียงแต่จะสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนเท่านั้น แต่ยังให้ป่าไม้ได้คงอยู่ถึงรุ่นลูกหลานสืบไป”