‘วิกฤตสภาพอากาศ’ ทำให้เวลาแต่ละวันยาวนานขึ้น ประกอบกับงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า การละลายของน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกในปริมาณมากส่งผลให้ ‘โลกที่มนุษย์เราอาศัยอยู่นั้น เปลี่ยนแปลงไป’ ดยนักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นข้อพิสูจน์ที่ยืนยันได้ว่าการกระทำของมนุษย์กำลังเปลี่ยนแปลงโลกไปอย่างไร เมื่อเทียบกับกระบวนการทางธรรมชาติที่เคยมีมานานหลายพันล้านปี

การที่ช่วงเวลาใน 1 วันมีความยาวนานขึ้น แม้จะเพียงเล็กน้อยในระดับมิลลิวินาที แต่นั่นก็เพียงพอที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนยุคใหม่ได้ ตั้งแต่การรับส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ธุรกรรมทางการเงิน ไปจนถึงระบบนำทาง GPS เหล่านี้ล้วนต้องอาศัยการบอกเวลาที่แม่นยำ

ความยาวนานของเวลาในแต่ละวันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามเวลาทางธรณีวิทยา เนื่องจากแรงดึงดูดของดวงจันทร์ที่มีต่อมหาสมุทรและพื้นดินของโลก อย่างไรก็ตาม การละลายของแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกา อันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ทำให้น้ำที่กักเก็บในละติจูดสูงกระจายไปสู่มหาสมุทรของโลก ส่งผลให้มีน้ำมากขึ้นในทะเลที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ซึ่งทำให้โลกมีรูปร่างเป็นวงรีมากขึ้น หรือพูดง่ายๆ ว่าโลกอ้วนขึ้น ทำให้การหมุนของโลกช้าลงและวันยิ่งยาวนานขึ้น

เมื่อไม่นานมานี้จากการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าการกระจายตัวของน้ำทําให้แกนหมุนโลก อย่างขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ เกิดการเคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นที่ชี้ให้เห็นว่าการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ทำให้ชั้นบรรยากาศของโลกเล็กลง

“เราสามารถมองเห็นผลจากการกระทำของมนุษย์ ที่ส่งต่อไปยังระบบการทำงานของโลกทั้งใบ ไม่เพียงแค่ในระดับพื้นที่ อย่างการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ แต่ในระดับพื้นฐานแล้ว การเคลื่อนที่ในอวกาศและการหมุนของโลกได้เปลี่ยนรูปแบบไปอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากการปล่อยคาร์บอนฯ เราทำสำเร็จภายในเวลาเพียง 100 หรือ 200 ปี ในขณะที่กระบวนการควบคุมก่อนหน้านี้ดำเนินมาเป็นเวลาหลายพันล้านปีแล้ว ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมาก” ‘ศาสตราจารย์เบเนดิกต์ โซจา’ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กล่าว

อนึ่ง การบอกเวลาของมนุษย์นั้นอาศัยนาฬิกาอะตอมซึ่งมีความแม่นยำสูงมาก อย่างไรก็ตาม เวลาที่แน่นอนของวันหนึ่งวัน ซึ่งก็คือหนึ่งรอบของโลกนั้น หรือ โลกหมุนรอบตัวเองเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ อาจมีการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันไปตามกระแสน้ำขึ้นลงของดวงจันทร์ ผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ และปัจจัยอื่นๆ อาทิ การฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของเปลือกโลกหลังจากที่แผ่นน้ำแข็งละลายตัวลงในยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุด

นอกจากนี้ โซจา ยังกล่าวอีกว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่เกิดขึ้นจะมองข้ามไม่ได้ ศูนย์ข้อมูลทั้งหมดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การสื่อสาร และธุรกรรมทางการเงิน ล้วนขึ้นอยู่กับเวลาที่แม่นยำ นอกจากนี้ เรายังต้องมีความรู้ที่แม่นยำเกี่ยวกับเวลาสำหรับการนำทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับดาวเทียมและยานอวกาศ

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในรายงานการประชุมของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา โดยใช้การสังเกตและการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อประเมินผลกระทบของน้ำแข็งละลายในช่วงเวลาหนึ่งวัน พบว่า อัตราการชะลอตัวเปลี่ยนแปลงระหว่าง 0.3 ถึง 1.0 มิลลิวินาทีต่อศตวรรษ (ms/cy) ระหว่างปี 1900 ถึง 2000 ซึ่งแต่ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา เมื่อการหลอมละลายเร่งตัวขึ้น อัตราการเปลี่ยนแปลงก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.3 ms/cy เช่นกัน

นอกจากนี้ อัตราดังกล่าวในปัจจุบัน สูงกว่าช่วงเวลาใดๆ ในรอบหลายพันปีที่ผ่านมา แม้ว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะถูกควบคุมอย่างเข้มงวด แต่ก็คาดการณ์ว่าอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะยังคงอยู่ที่ประมาณ 1.0 ms/cy ในทศวรรษหน้า หากมนุษย์ไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ อัตราการชะลอตัวจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.6 ms/cy ภายในปี 2100 ซึ่งแซงหน้ากระแสน้ำขึ้น-น้ำลงของดวงจันทร์ และจะกลายเป็นปัจจัยที่ใหญ่ที่สุดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวของดวงอาทิตย์

“การศึกษาครั้งนี้ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งใหญ่ เนื่องจากเป็นเครื่องยืนยันว่าการสูญเสียปริมาณน้ำแข็งในกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกา ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความยาวนานของเวลาในแต่ละวัน นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้วันของ 1 วันของเรายาวนานขึ้น การเปลี่ยนแปลงของเวลาดังกล่าว ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อวิธีการวัดเวลาเท่านั้น แต่ยังรวมถึง GPS และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ควบคุมเวลาในการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันของเราด้วย” ‘ดร.ซานติอาโก เบลดา’ มหาวิทยาลัยอาลิกัน ประเทศสเปน กล่าวทิ้งท้าย

ขอบคุณข้อมูลจาก: The Guardian