รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะแก้หนี้คนไทยให้ลดลง และได้กำชับให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไปหาแนวทางแก้หนี้ ผ่านการเร่งสถาบันการเงินปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งหากใครที่ผ่อนจ่ายหนี้ไม่ไหว รีบติดต่อสถาบันการเงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ก่อนจะสายกลายเป็นหนี้เสีย NPL และมีปัญหาตามมาอีกมากมาย

“แบงก์ชาติ” ย้ำเตือน “ปรับโครงสร้างหนี้” ดีกว่าไหม ถ้าเริ่มไม่ไหวกับการจ่ายหนี้

เปรียบเทียบการแก้ไขปัญหาหนี้ในแต่ละรูปแบบ กับ การปล่อยให้เป็นหนี้เสียจะส่งผลต่อประวัติเครดิตบูโรอย่างไรบ้าง?

  • เลือกจ่ายหนี้บางส่วน (ยังไม่เป็นหนี้เสีย)
    -วิธีการ คือ ขอปรับโครงสร้างหนี้ ให้จ่ายหนี้ได้เท่าที่ไหว
    -ประวัติใครเครดิตบูโร คือ รหัส 10 เท่ากับปกติ
  • เป็นหนี้เสียแล้ว แต่อยากจ่ายต่อ
    -วิธีการ คือ ขอปรับโครงสร้างหนี้ ให้จ่ายได้เท่าที่ไหว
    -ประวัติในเครดิตบูโร คือ เมื่อเริ่มจ่ายตามสัญญา จะเปลี่ยนจากรหัส 20 หมายถึงมีหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน มาเป็นรหัส 10 หรือเป็นปกติ
  • เป็นหนี้เสียแล้ว แต่ปล่อยไหลไม่จ่าย ไม่ปรับโครงสร้างหนี้
    -กลุ่มนี้ไม่ปรับโครงสร้างหนี้ มีข้อเสีย
    -ประวัติในเครดิตบูโร คือ รหัส 20 เท่ากับมีหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน และหากถูกฟ้องร้อง อยู่ในกระบวนการทางกฎหมายจะเปลี่ยนเป็นรหัส 30

รู้จักประเภทสัญญา ปรับโครงสร้างหนี้

  • รหัส 01 : ปรับปรุงโครงสร้างหนี้เชิงป้องกัน (DR)
  • รหัส 02 : ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา (TDR)
  • รหัส 03 : ข้อตกลงเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญาตามมาตรการแก้หนี้เรื้อรัง (PD)

ข้อดีการปรับโครงสร้างหนี้ คือ เป็นสิ่งที่สะท้อนความตั้งใจที่จะกลับมาจ่ายตามที่ตกลงกันใหม่ และมีโอกาสที่เจ้าหนี้จะพิจารณาให้สินเชื่อมากกว่าปล่อยให้เป็นหนี้เสีย

ข้อควรรู้ : ลูกหนี้มีสิทธิขอปรับโครงสร้างหนี้ทั้งก่อนและหลังเป็นหนี้เสีย สามารถติดต่อธนาคารที่ใช้บริการได้เลย แต่หากไม่ได้รับความสะดวก ติดต่อแบงก์ชาติ โทร. 1213 กด 99 ธนาคารแห่งประเทศไทย