เมื่อวันที่ 10 ก.ค. นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดเผยหลังเป็นประธานเปิดปฎิบัติการ”โครงการวิจัยการเหนี่ยวนำชุดโครโมโซม 4 N ในปลาหมอคางดำ” เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่กระจายปลาหมอคางดำ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำเพชรบุรี ว่า ปลาหมอคางดำเป็นกลุ่มปลาที่อาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี สามารถเพิ่มจำนวนประชากรได้รวดเร็ว ทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วปัจจุบันพบว่ามีการแพร่กระจายในพื้นที่ 14 จังหวัด ประกอบด้วย สมุทรปราการ สมุทรสาคม สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และกรุงเทพมหานคร ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางน้ำ เกษตรกรและชาวประมงได้รับผลกระทบ

กรมประมงจึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวิจัยและหาทางการควบคุมการแพร่ระบาดในหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้น กองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง ได้ทำการวิจัยการทำหมันโดยด้วยวิธีการจัดชุดโคโมโซม 3 ชุด(3N) ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมในการควบคุมการเพิ่มจำนวนสัตว์น้ำในการเพาะเลี้ยงน้ำ ด้วยการสร้างประชาการปลาหมอคางดำให้มีโคโมโซม 4 ชุด(4N) และปล่อยลงแหล่งนำธรรมชาติในพื้นที่ระบาดในจำนวนมากพอที่จะจำนวนประชากรปลาหมอคางดำไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อได้

สำหรับขั้นตอนจะเริ่มจากการจับตัวผู้ตัวเมียในธรรมชาติมาผสมเทียม เมื่อได้ไข่ปลาแล้วจะนำไข่มาซ็อคหรือเหนี่ยวนำในน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเชียล หรือในน้ำเย็นที่ อุณหภูมิ 2 องศาเซลเชียล เพื่อให้ได้ลูกปลาที่มีโคโมโซม 4 ชุดหรือปลาเป็นหมัน แต่ขั้นตอนนี้ถือสำคัญมาก และยากพอสมควรเพราะต้องทำในระยะเวลาก่อน การแบ่งเซลครั้งแรกของไข่ หลังผสมพันธุ์ เมื่อได้ลูกปลาที่มีโคโมโชม 4ชุด ทั้งเพศผู้และเพสเมีย แล้ว ก็จะมาเลี้ยงอนุบาล เพื่อให้ปลาโตเต็มวัย ก่อนนำมาผสมพันธุ์อีกครั้งเพื่อเพิ่มจำนวน ประชากรปลาหมอสีคางดำที่มีโคโมโมโซม 4 ชุด

จากนั้นจะทำการคัดแยกเอาเฉพาะปลาเพศผู้ที่แข็งแรงไปปล่อยลงสู้แหล่งน้ำในพื้นที่ระบาด เพื่อให้ไปผสมกับปลาหมอคางดำเพศเมียตามธรรมชาติ ส่งผลให้ลูกปลาที่ออกใหม่เป็นปลาหมอคางดำที่มีโคโมโซม 3 ชุด หรือ 3N ซึ่งจะเป็นหมัน ไม่สามารถสืบพันธุ์ได้อีกต่อไป โดยโครงการดังกล่าวจะใช้เวลาวิจัยประมาณ 18 เดือน เริ่มตั้งแต่เดอืน ก.ค.67 ถึง ม.ค.69 อย่างไรก็ตามวิธีการทำหมันดังกล่าวต้องทำควบคู่ไปกะบการควบคุมอื่นด้วย เช่น การใช้ปลาผู้ล่า การจับมาทำประโยชน์ ซึ่งเมื่อดำเนินการไปพร้อมกัน จะส่งผลให้การเพิ่มจำนวนประชากรปลาหมอคางดำรุ่นใหม่ลดลง จนสามารถควบคุมการระบาดได้ คาดว่าภายใน 5 ปี ปลาหมอคางดำก็จะหมดไป.