นับว่ายังคงเป็นประเด็นที่สังคมไทยจับตากันล้นหลาม กรณีที่ทาง “กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช” โพสต์เปิดรับฟังความเห็นในการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ฝั่ง จ.นครราชสีมา และปราจีนบุรี โดยจะต้องเฉือนพื้นที่ป่าไปกว่า 265,286.58 ไร่ ซึ่งเปิดให้ลงความเห็นตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย.-12 ก.ค. 2567 ภายหลังจากมีการนำเสนอข่าวออกไป สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์สนั่น หวั่นใจว่าพื้นที่ดังกล่าวอาจจะหลุดไปยังมือนายทุนรายใหญ่ และนี่อาจจะทำร้ายระบบนิเวศของสัตว์ป่าที่อยู่อาศัยในบริเวณนั้น

เกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 67 นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตรอักษร ผอ.สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โพสต์เฟซบุ๊ก Chaiwat Limlikhitaksorn ระบุข้อความว่า ขอบคุณผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น มีทั้งคัดค้าน และ ตั้งข้อสังเกต ให้คิด เรื่อง การคัดค้าน!!! สืบเนื่องอ้างว่า ชาวบ้านอยู่มาก่อน หรือ อุทยานแห่งชาติทับลาน ไปประกาศแนวเขต ทับที่ชาวบ้าน

ขอให้ข้อเท็จจริง ความถูกต้อง หัวข้อในประเด็น : 1. ราษฎรรายใดมีเอกสารสิทธิ เช่น ส.ค.1 / น.ส.3 และ น.ส.3 ก สามารถนำไปออกเอกสารสิทธิที่ดิน เป็นโฉนดที่ดินได้ (ถูกต้องตามกฎหมาย)

2. ราษฎรอยู่มาก่อนประกาศ อุทยานแห่งชาติทับลาน เมื่อปี 2524 นั้น ราษฎรต้องดูข้อเท็จจริง ว่า ถ้าท่านไม่มี ข้อ (1) ถือว่า “ผิดกฎหมาย”

ขอแสดงลำดับการประกาศ การคุ้มครองพื้นที่ป่า ซึ่งมีกฎหมาย บังคับใช้ หากบุคคลใด บุกรุกป่า ถือว่า “ผิดกฎหมาย” ดังนี้

  • เป็นป่า ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484
  • เป็นป่าไม้ถาวร 2506
  • เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าครบุรี 2509
  • เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่า แก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ และป่าเขาสะโตน 2510
  • เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าวังน้ำเขียว 2515
  • เป็นอุทยานแห่งชาติทับลาน 2524
  • เป็นกลุ่มป่ามรดกโลก ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ 2548

แนวทางแก้ไข ปัญหาราษฎร ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ทั้งอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า มี มติ ครม. 30 มิถุนายน 2541 คุ้มครองมิให้ จนท. จับกุมดำเนินคดี รวมถึงผ่อนปรน ผ่อนผัน ให้ราษฎรทำกินไปพลางก่อน จนกว่าจะมี มติ ครม. หรือ พระราชบัญญัติ เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ 2562 มี มาตรา 64 และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2562 มี มาตรา 121 ประกาศใช้ โดยทั้งสองมาตรา(ม.64/ 121) มีความว่า “ให้สำรวจการถือครองที่ดิน ของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า “

ที่สำคัญ และ สำคัญมาก คือ ม.64 และ ม.121 นี้ ออกมาเพื่อคุ้มครองราษฎรที่ทำผิดกฎหมาย ข้อหา “บุกรุกแผ้วถางป่า ยึดถือครอบครองที่ดิน” ในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติทับลาน และในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศ

ฉะนั้นราษฎรที่อยู่มาก่อน จะได้รับการคุ้มครองให้อยู่อาศัยทำกิน ได้อย่างถูกตามกฎหมาย นี้

ขอบคุณภาพและข้อมูล เฟซบุ๊ก Chaiwat Limlikhitaksorn