สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 3 ก.ค. ว่าแพทย์และนักกายภาพบำบัดได้รวมการแอโรบิกเข้าไว้ในโปรแกรมการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างมานานแล้ว เนื่องจากการเคลื่อนไหวสามารถบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่างได้พร้อมกัน และยังทำให้กล้ามเนื้อที่รองรับหลังแข็งแรงขึ้นอีกด้วย ขณะที่ผู้มีอาการปวดหลังหลายราย ยังคงลังเลที่จะออกกำลังกาย

การศึกษาใหม่เปิดเผยหลักฐานเพิ่มเติม เกี่ยวกับพลังของการเคลื่อนไหว ซึ่งระบุว่า การเดินเป็นประจำสามารถป้องกันการเกิดอาการปวดหลังซ้ำ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เดินเป็นประจำจะเดินได้นานขึ้นเกือบ 2 เท่า โดยไม่มีอาการปวดหลังกลับมาเลย และผลลัพธ์สอดคล้องกับงานวิจัยจำนวนมากที่มีอยู่ โดยเมื่อปี 2562 มีการเปิดเผยว่าการออกกำลังกายช่วยลดอาการปวดหลังได้ ขณะที่เมื่อปี 2560 พบว่า โยคะให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกับกายภาพบำบัด

ดร.มาร์ค แฮนค็อกซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัด ม.แมกควอรี ในออสเตรเลีย และเป็นผู้เขียนอาวุโส รวบรวมข้อมูลจากผู้ใหญ่ 701 คน ที่เพิ่งหายจากอาการปวดหลังส่วนล่าง โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่รับโปรแกรมการเดินและการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยมีนักกายภาพบำบัดช่วยอำนวยความสะดวกมากกว่า 6 ครั้งในระยะเวลา 6 เดือน ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้ผ่านโปรแกรมใด ๆ และนักวิจัยจะติดตามทั้งสองกลุ่มไปอีก 1-3 ปีข้างหน้า

เป้าหมายของกลุ่มเดิน ได้แก่ การเดิน 5 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาทีทุกวัน โดยจัดตารางที่จะพิจารณาจากอายุ, ดัชนีมวลกาย, ระดับกิจกรรมปัจจุบัน, ข้อจำกัดด้านเวลา และเป้าหมายส่วนบุคคล มากไปกว่านั้น ผู้เข้าร่วมยังได้รับโปรแกรมการศึกษาเพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าใจ และตอบสนองต่อความเจ็บปวดได้ดี หากผู้ป่วยมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ พวกเขาได้รับการสนับสนุนให้เดินต่อ แต่จะถูกปรับความเร็วและระยะทางตามความจำเป็น ดร.แฮนค็อกซ์กล่าวว่า เมื่อหลาย ๆ คนมีอาการปวดมากขึ้น พวกเขามักจะปกป้องหลังของตนเองเป็นพิเศษ และหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหว

“การศึกษาเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น และทำให้พวกเขามีความกระตือรือร้นมากขึ้น และยังคงความกระตือรือร้นไว้อยู่เสมอเมื่อมีอาการปวดหลัง” ดร.แฮนค็อกซ์กล่าว นอกจากนี้ การค้นพบครั้งใหม่ยังสะท้อนข้อสรุปของการวิเคราะห์เมตา เมื่อปี 2563 ของการศึกษา 25 เรื่องเกี่ยวกับการป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่าง ซึ่งมีดร.แฮนค็อกเป็นผู้เขียนร่วม ในการวิเคราะห์เมตา นักวิจัยพบว่าการออกกำลังกายเป็นประจำร่วมกับการพลศึกษา เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่างไม่ให้เกิดขึ้นอีก

แม้อาการปวดหลังส่วนล่างจะเกิดจากสาเหตุต่างๆ มากมาย แต่สาเหตุแท้จริงคือการมี “การเสริมสร้างร่างกายที่ไม่เพียงพอ” นพ.แฮมซา คาลิด กล่าวว่า การเดินสามารถช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่ช่วยรักษากระดูกสันหลังให้มั่นคง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว โดยความอ่อนแอของแกนกลางอาจนำไปสู่ความเมื่อยล้า, กระดูกสันหลังไม่ตรง และความเจ็บปวด

การวิจัยของดร.แฮนค็อกซ์ พบว่าเกือบ 7 ใน 10 คนที่หายจากอาการปวดหลังจะกลับมาเป็นซ้ำอีกในปีถัดไป “การออกกำลังกายก็เหมือนยา” ดร.คาลิดกล่าว พร้อมเน้นย้ำว่า “มันไม่ใช่ยาวิเศษ” ถ้าอาการปวดหลังของคุณเรื้อรังหรือซับซ้อน แพทย์หรือนักกายภาพบำบัดสามารถช่วยคุณจัดโปรแกรมการออกกำลังกาย ให้ตรงตามความต้องการเฉพาะของคุณได้

อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวร่างกายก็น่าจะช่วยได้ โดยดร.แฮนค็อกซ์ย้ำว่า “หลักฐานค่อนข้างน่าพอใจมาก”.

เครดิตภาพ : GETTY IMAGES