เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะรองประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ได้เดินทางมาถึงงาน เพื่อร่วมพิธีปิดThailland Creative Culture Agency (THACCA) : SPLASH SOFT POWER FORUM 2024 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 – 30 มิ.ย. 2567 ร่วมกับสมาชิกพรรคเพื่อไทย (พท.) และประชาชนที่มาร่วมงานอย่างล้นหลามพร้อมพาสื่อมวลชนเดินเข้าชมงาน โดยเป็นงานซอฟต์พาวเวอร์ ฟอรัม นานาชาติครั้งแรกของประเทศไทย ที่จะรวบรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ทั้งในประเทศและทั่วโลก ซึ่งเป็นนิมิตหมายอันนี้ของรัฐบาลและคณะอนุกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ทั้ง 11 อุตสาหกรรม ที่จะพัฒนาศักยภาพคนไทยให้มีอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืน ผ่านการยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์​ ให้อัตลักษณ์ความเป็นไทยโดดเด่นไปทั่วโลก

โดยภายในงานจะมีการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ตัวแทนจากแบรนด์ดังระดับโลกที่มาจาก 11 อุตสาหกรรม เช่น การท่องเที่ยว ศิลปะ หนังสือ การออกแบบแฟชั่น เฟสติวัล ภาพยนตร์ อาหาร เกม เพลง และสปอร์ต กับพื้นที่ 4 โซน ประกอบด้วย 1.) SPLASH Visionary Zone เวทีแสดงศักยภาพและแลกเปลี่ยนทัศนคติ 2.) โซนนิทรรศการจากทักก้า (THACCA Pavilion) 3.) โซนนิทรรศการจาก 11 กลุ่มอุตสาหกรรม 4.) โซน International Pavilion จากประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และอิตาลี

ตลอดการจัดงานมีการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ตัวแทนจากแบรนด์ดังระดับโลกที่มาจากหลายอุตสาหกรรม อาทิ แฟชั่น มิวสิก ภาพยนตร์ หรืออาหาร กับพื้นที่ 4 โซน ประกอบด้วย SPLASH Visionary Zone เวทีแสดงศักยภาพและแลกเปลี่ยนทัศนคติ 2. โซนนิทรรศการจากทักก้า (THACCA Pavilion) 3.โซนนิทรรศการจาก 11 กลุ่มอุตสาหกรรม ฝและ 4.โซน International Pavilion จากประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และอิตาลี ซึ่งตลอดการจัดงานมีผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

จากนั้นในพิธีปิดงานได้มีการเชิญผู้นำจากทั้ง 11 กลุ่มอุตสาหกรรมซอฟพาวเวอร์ให้มาร่วมแชร์ประสบการณ์และแผนการเดินหน้าผลักดันซอฟพาวเวอร์แต่ละด้านว่าควรเป็นไปในทิศทางไหนในอนาคต เพื่อเป็นหนึ่งในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้เดินหน้าต่อไปได้ และได้มีการยืนยันว่าจะมีการจัดงานในรูปแบบนี้ทุกปี

นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี กล่าวปิดงานว่า ซอฟต์พาวเวอร์คือเครื่องมือเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทย เปลี่ยนรายได้ของประเทศ เป็นงานใหญ่ต้องใช้เวลา ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ทุกคนต้องได้ประโยชน์จากนโยบายนี้ การฝึกทักษะฝีมือระดับสูงทำได้ง่ายกว่า จะเกิดการฝึกอบรมทักษะระดับสูงครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์คือ 20,000,000 คน
การขับเคลื่อนซอฟพาวเวอร์จะต้องมีการเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารจัดการครั้งใหญ่ ทั้งรวมศูนย์และกระจายอำนาจ การรวมศูนย์คือการรวมศูนย์การกำหนดยุทธศาสตร์ รวมศูนย์งบประมาณที่ทำตามแผนยุทธศาสตร์นั้น มีการตั้งสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์โดยออกเป็น พ.ร.บ. ภายในกลางปี 2568 ส่วนการกระจายอำนาจ คือการกระจายให้จังหวัดและท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ มีคณะอนุกรรมการซอฟต์พาวเวอร์ระดับจังหวัด มี TCDC ทุกจังหวัด การจัดงาน THACCA Splash ครั้งนี้ถือเป็นงานระดับนานาชาติ ที่ได้รับคำชมจากวิทยากรและผู้เข้าร่วมงาน เราจะจัดงานซอฟพาวเวอร์ฟอรั่มต่อเนื่องไปทุกปี ขอขอบคุณ หน่วยราชการสี่หน่วย และผู้สนับสนุนทั้งไทยเบฟ การบินไทย ธนาคารกสิกรไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ ธนาคารออมสิน เอไอเอส ปตท และ TikTok

“ขอให้แสงแห่งความหวังที่ได้เริ่มต้นในสามวันนี้ได้นำพาแสงสว่างของชีวิตผู้ต้องการความหวังในทุกถิ่นทั่วไทย เรากำลังทำเรื่องที่ยากที่สุดเรื่องหนึ่ง เรากำลังทำเรื่องที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนในประเทศนี้ เราควรทำเรื่องที่ต้องช่วยกันขับเคลื่อนทางสังคม ทุกอย่างที่เริ่มต้นใหม่ อาจจะมีข้อบกพร่อง อาจไม่สมบูรณ์แบบ แต่เราพร้อมจะแก้ไขปรับปรุงต่อเนื่องตลอดเวลา เพราะงานที่ยากที่สุด ทะเยอทะยานที่สุดทุกๆงาน ในประวัติศาสตร์ ต้องมีวันเริ่มต้นนั่นคือวันนี้” นายแพทย์สุรพงษ์ กล่าว

น.ส.แพทองธาร กล่าวขอบคุณทุกหน่วยงาน และประชาชนที่ให้ความสนใจนโยบายส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ผ่านโซเชียลมีเดีย โดยระบุว่า งาน SPLASH SOFT POWER FORUM 2024 ทั้ง 3 วันจบลงแล้ว ตนดีใจที่ประชาชนให้ความสนใจมารับชมงานกันล้นหลาม และหวังว่าทุกท่านจะได้รับแรงบันดาลใจดีๆ ได้พัฒนาตัวเอง รวมถึงได้รับรู้ว่ารัฐบาลกำลังมองซอฟต์พาวเวอร์ไทยในทิศทางใด ในฐานะของคณะผู้จัดงาน หากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ และจะพัฒนาให้ดีขึ้นในปีต่อๆ ไป ก่อนที่ น.ส.แพทองธาร ขึ้นหมอบดอกไม้ให้กับการจัดงานที่ประสบความสำเร็จกับผู้นำทั้ง 11 กลุ่มอตุสาหกรรมซอฟพาวเวอร์

“ขอขอบคุณทีมงานทุกท่าน ทั้งของทางพรรคเพื่อไทย พี่น้องข้าราชการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทีมออแกไนซ์ ที่เนรมิตรทุกอย่างให้เกิดขึ้น และหัวใจสำคัญที่สุด สำหรับนโยบาย Soft Power คือความร่วมมือของภาคเอกชน นี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เราให้ภาคเอกชนเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ เพื่อให้ซอฟต์พาวเวอร์ไทยขับเคลื่อนไปในทางที่ดีที่สุด ผ่านสายตาของภาคเอกชน ขอขอบคุณประธานคณะอนุกรรมการทั้ง 11 สาขา และคณะกรรมการทุกท่านด้วยหัวใจเพราะในระหว่างที่เรากำลังก่อร่างสร้างตัว วางระบบการทำงาน ทั้งหมดนี้คือการทำงานอาสา ทุกท่านทุ่มเททำงานอย่างหนักแม้ไม่มีค่าตอบแทนใดๆ เพราะเราทุกคนต่างต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงในแต่ละอุตสาหกรรม ต่างต้องการสร้างรากฐานของประเทศไทยให้แข็งแรง” น.ส. แพทองธาร ระบุ พร้อมฝากติดตามก้าวต่อไปของนโยบาย THACCA ไปด้วยกัน