คุณยายโยชิโกะ มิวะ วัย 110 ปี ได้แชร์ 4 เคล็ดลับการมีอายุยืนยาว การรักษาสุขภาพกายและใจที่ดี แม้ว่าเธอจะอายุเกินร้อยปีแล้ว แต่ก็ยังไปวัดเป็นประจำทุกสัปดาห์เพื่อประกอบพิธีกรรม และใช้ชีวิตร่วมกับลูกหลานอย่างมีความสุข

  1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

หลังจากเกษียณ คุณยายโยชิโกะ ออกกำลังกายทุกวันด้วยการเดินประมาณ 6 กม. ทุกเช้า โดยในปี 1990 ตอนอายุ 76 ปี เธอเคยเข้าร่วมการวิ่งมาราธอนด้วย

ประโยชน์ของการเดิน ช่วยในการทำงานของหัวใจและปอด ความสามารถในการทรงตัว ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือด โรคอ้วน การเดินยังทำให้แก่ช้าด้วย

  1. มีความสุขกับงานอดิเรกต่าง ๆ

คุณยายโยชิโกะ เชื่อว่าการรักษาร่างกายและจิตใจให้กระฉับกระเฉง เป็นยาที่ดีที่สุดในการมีอายุยืนยาว โดยเธอมีงานอดิเรกมากมาย เช่น อ่านหนังสือ จัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น วาดภาพ งานปักเย็บแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม งานอดิเรกเหล่านี้ช่วยให้สมองของคุณยายได้ทำงาน ซึ่งช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อม

  1. มีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน

คุณยายโยชิโกะ ยังคงเดินทางไปวัดเป็นประจำ และร่วมทำกิจกรรมอาสาสมัครต่าง ๆ เช่น การช่วยวัดความดันโลหิตให้ผู้สูงอายุ, การเตรียมอาหารกลางวันให้กับสถาบันวัฒนธรรมญี่ปุ่นในท้องถิ่น ฯลฯ

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่า กิจกรรมในชุมชนมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อสุขภาพ ช่วยลดระดับความเครียด ความเครียดเป็นบ่อเกิดของโรคเรื้อรัง อาการอักเสบ ความเหนื่อยล้าจากสุขภาพ

นอกจากนี้ การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ และสมาชิกในครอบครัว ก็เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความสุขให้กับผู้สูงอายุ ป้องกันโรคสมองเสื่อม ทำให้อายุยืนยาว

  1. กินบะหมี่บ่อย ๆ

อาหารจานโปรดอย่างหนึ่งของคุณยายโยชิโกะ คือ “บะหมี่” โดยเฉพาะบะหมี่เส้นสด เช่น อุด้ง บะหมี่บักวีต ผู้สูงอายุหลายคนกลัวการบริโภคคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว, เส้นก๋วยเตี๋ยว จึงนาน ๆ ทานที แต่มันทำให้ร่างกายอ่อนแอโดยไม่ได้ตั้งใจ

นอกจากนี้ คุณยายยังเชื่อว่าการมีนิสัยการกินที่ดี ทำสิ่งที่ตัวเองรัก เป็นกุญแจสำคัญในการช่วยให้เธอมีชีวิตยืนยาวและมีความสุข

มิกิโกะ คาวากุจิ นักโภชนาการจากภาควิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสตรีโอสึมะ ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า การไม่จู้จี้จุกจิกในการรับประทานอาหาร เป็นลักษณะเด่นของคนที่มีสุขภาพแข็งแรงและมีอายุยืนยาว เมื่อร่างกายขาดพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต จะทำให้ร่างกายต้องดึงไขมันและโปรตีนที่เป็นแหล่งพลังงานไปใช้ทดแทน จึงทำให้ขาดพลังงานในการรักษากล้ามเนื้อ และเพิ่มภูมิคุ้มกัน.

ที่มาและภาพ : soha