สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงลิมา ประเทศเปรู เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. ว่ากระทรวงสาธารณสุขเปรูประกาศ ยุติการจัดประเภทอัตลักษณ์ของคนข้ามเพศว่ามี “ความผิดปกติทางจิต” ซึ่งเป็นคำล้าสมัยที่องค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) ยกเลิกมานาน และส่งผลให้เกิดการประท้วงด้วยความโกรธเคืองของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ และประชาชนทั่วไปจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเปรูกำหนดให้เรียกคนข้ามเพศ ว่าเป็นเพศที่ “ไม่สอดคล้องกับเพศปกติ” แทน เพื่อให้คนข้ามเพศเข้าถึงการรักษาสุขภาพจิตได้อย่างทั่วถึง โดยก่อนหน้านี้ กระทรวงสาธารณสุขเปรูปรับปรุงรายการภาวะสุขภาพที่ประกันได้ และตั้งแต่ปี 2564 ได้มอบสิทธิประโยชน์ ในการรักษาสุขภาพจิตสำหรับคนข้ามเพศด้วย เนื่องจากผู้ปฏิเสธเพศที่ได้รับตั้งแต่แรกเกิดถือว่า มี “ความผิดปกติทางจิต”

การประกาศดังกล่าว ส่งผลให้ประชาชนจำนวนมากรวมตัวประท้วงนอกกระทรวงสาธารณสุข ในกรุงลิมา เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันต่อต้านการรังเกียจรักร่วมเพศ, คนข้ามเพศ และคนรักสองเพศ “เราขอเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายที่ต่อต้านคนข้ามเพศและความรุนแรง ซึ่งขัดต่ออัตลักษณ์ของคนข้ามเพศของเราในเปรู” น.ส.เจียนนา กามาโช จากกลุ่ม LGBTQ+ กล่าว “เราไม่ได้ป่วยทางจิต และเราไม่มีโรคทางจิตใด ๆ เลย” เธอกล่าวเสริม

ด้านฮิวแมน ไรท์ส วอทช์ (เอชอาร์ดับเบิลยู) ระบุว่า ฎีกาดังกล่าวว่า “เป็นความถดถอยอย่างยิ่ง” ของประเทศที่ไม่อนุญาตให้มีการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน และการให้โอกาสคนข้ามเพศเปลี่ยนคำนำหน้าเพศ ในเอกสารยืนยันตัวตน.

เครดิตภาพ : GETTY IMAGES