จากกรณีข่าวที่สุดสะเทือนใจเหล่าผู้ปกครอง หลังมีการรายงานข่าวว่าในโรงเรียนแห่งหนึ่ง อ.กันตัง จ.ตรัง มีเด็กนักเรียนชายถูกไฟดูดตรงตู้น้ำดื่ม ต่อหน้ากลุ่มคนและคุณครู ก่อนที่จะเสียชีวิตลงในเวลาต่อมา ตามที่ข่าวเสนอไปนั้น

‘โรงเรียนดัง’ โต้พัลวันยันไม่เป็นความจริง ครูใช้นักเรียนปิดสวิตช์จนถูกไฟดูดตาย

วันนี้ทางเดลินิวส์ออนไลน์ จะขอพาทุกคนเช็กจุดเสี่ยงไฟรั่ว ที่อันตรายเสี่ยงไฟดูดถึงคร่าชีวิต พร้อมแนะวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการทำ CPR เพื่อช่วยชีวิตรอด ดังนี้

จุดสังเกตและเฝ้าระวังไฟฟ้ารั่วไหล

  1. เสาไฟฟ้า เป็นจุดที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อเดินทางกลับบ้าน เสาไฟฟ้าที่เรียงรายบนทางเดิน เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในกรณีที่มีน้ำท่วมขังบริเวณแนวเสาไฟฟ้า อาจกลายเป็นพื้นที่เสี่ยงควรหลีกเลี่ยง
  2. รั้วไฟฟ้า ทำจากลวดสลิงที่เป็นตัวนำไฟฟ้า ประโยชน์ของรั้วแบบนี้ใช้เพื่อการป้องกันการบุกรุกเข้าพื้นที่ หากมีฝนตกหนักหรือน้ำท่วมขัง บริเวณโดยรอบรั้วประเภทนี้ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจะเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วได้
  3. กริ่งหน้าประตู แม้ว่าจะอยีในพื้นที่สูง ห่างไกลจากการถูกน้ำท่วมขังก็จริง หากเราใช้งานในขณะที่มือเปียกนั้น อาจโดนไฟฟ้าดูดได้เช่นกัน
  4. โคมไฟสนาม เป็นอีกจุดที่ควรเฝ้าระวัง เพราะกรณีที่เกิดไฟฟ้ารั่วนั้น ส่วนใหญ่เป็นเพราะอุปกรณ์หรือการติดตั้งที่ไม่ได้คุณภาพ เมื่อเข้าสู่หน้าฝนที่สนามหญ้าเปียกชื้น เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วก็กลายเป็นพื้นที่เสี่ยงได้
  5. เครื่องปั๊มน้ำ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานน้ำในครัวเรือน หากมีการใช้งานเป็นเวลานาน ประสิทธิภาพอุปกรณ์อาจมีการเสื่อมตามกาลเวลาด้วย

การช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร

  1. อย่าแตะต้องผู้ป่วยด้วยมือเปล่า ควรสังเกตบริเวณโดยรอบว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงอันตรายหรือไม่
  2. หากพบต้นตอหรืออุปกรณ์ที่เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ให้รีบตัดกระแสไฟฟ้าโดยเร็ว หากไม่รู้วิธีตัดกระแสไฟ ควรเรียกผู้เชี่ยวชาญมาช่วย
  3. หาวัสดุที่ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า เช่น ถุงมือยาง ผ้า ไม้ เชือก ที่ไม่เปียกน้ำ เพื่อใช้ในการสัมผัสผู้ป่วย หรือดึง ผลักผู้ป่วยในออกจากบริเวณที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วโดยเร็ว

กรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกและไม่หายใจควรทำตามขั้นตอนดังนี้

  1. จับผู้ป่วยนอนราบในพื้นที่โล่ง มีอากาศถ่ายเท ปลดผ้าพันคอหรือเข็มขัดเพื่อให้ระบบหายใจทำงานได้สะดวก จากนั้นคลำบริเวณกลางหน้าอกผู้ป่วย หาส่วนที่กระดูกอกที่ต่อกับกับกระดูกซี่โครง ด้วยการใช้นิ้วสัมผัสชายซี่โครงไล่ขึ้นมา
  2. วางนิ้วชี้และนิ้วกลางที่กระดูกซี่โครงที่ต่อกับกระดูกอกส่วนล่าง วางสันมือทับบริเวณนั้นที่เป็นตำแหน่งในการกดนวดกระตุ้นหัวใจ
  3. ประสานมืออีกข้าง วางซ้อนลงหลังมือที่วางในตำแหน่งที่จะปั๊มหัวใจ เหยียดแขนให้ตั้งฉากกับหน้าอก โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย เพื่อทิ้งน้ำหนักตัวลงขณะที่กดหน้าอกผู้ป่วย
  4. การในปั๊มหัวใจผู้ป่วยให้ได้จังหวะที่สม่ำเสมอให้นับจังหวะการสูบฉีดเลือดเข้าออกจากหัวใจพอเหมาะกับที่ร่างกายต้องการด้วยการนับหนึ่งแล้วกดลงไป การกดหน้าอกที่มีประสิทธิภาพควรทำดังนี้
    4.1. กดลึก 1-3 ของความหนาหน้าอก
    4.2. กดด้วยความเร็ว 100-120 ครั้ง/ นาที
    4.3. ปล่อยให้หน้าอกขายยกลับสุด
    4.4. หยุดกดหน้าอกไม่เกิน 10 วินาที
  5. การเป่าปากควรทำสลับกับการนวดหัวใจทุก ๆ 30 ครั้งแล้วเป่าปาก 2 ครั้ง ทำสลับกันแบบนี้ให้ครบ 5 รอบและประเทินการหายใจของผู้ป่วย หากพบผู้ป่วยยังไม่หายใจ ให้ทำการกดหน้าอกเพื่อปั๊มหัวใจต่อ หากพบว่าผู้ป่วยหายใจแล้ว ให้จัดท่านอนพักฟื้น (Recovery Position) ให้ผู้ป่วย

ขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต