เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล อดีต รอง ผบ.ตร. พร้อมทนายความส่วนตัว เดินทางมาตามศาลนัดไต่สวนมูลฟ้ฟ้อง ในคดีหมายเลขดำ ที่ อ.558/2567 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รอง ผบช.ก.ในข้อหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา เมื่อวันที่ 13 มี.ค.ที่ผ่านมา 

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เปิดเผยว่า ตนมาตามนัดศาลในคดีที่ตนได้ฟ้อง พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ในเรื่องหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ที่ตนได้ทำการฟ้องไว้ 2 กรรม และวันจันทร์หน้าก็มีอีก 1 คดี เป็นอีก 1 กรรม ที่ศาลนัดไต่สวนเช่นกัน โดยทนายของตนได้แจ้งว่าทนายของพล.ต.ต.จรูญเกียรติ ได้ขอเลื่อนไม่มาในวันนี้ จึงคาดว่าจะได้ไต่สวนกันในนัดหน้า เมื่อถามว่าทำไมถึงเป็นเรื่องจงใจใส่ความหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณานั้น คือพล.ต.ต.จรูญเกียรติ หรือผู้ที่ถูกฟ้องได้นำข้อเท็จจริงในสำนวนไปเปิดเผยต่อสื่อและนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณะ ซึ่งในหลักกฎหมายคดีที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทำผิดที่ตนถูกกล่าวหา พล.ต.ต.จรูญเกียรติ มีหน้าที่เป็นแค่รองหัวหน้าพนักงานสอบสวน ที่ต้องทำตามอำนาจ พรบ. ป.ป.ช. พ.ศ. 2561 มาตรา 48 กรณีที่มีเจ้าหน้าที่รัฐกระทำความผิด ทางพนักงานสอบสวนมีหน้าที่แค่รวบรวมพยานหลักฐานเบื้องต้นและต้องส่งสำนวนไปให้ ป.ป.ช. ไม่มีอำนาจในการให้ข่าวกับสื่อมวลชนเกี่ยวกับการวินิจฉัยหรือพิพากษาคดี ทำให้สังคมตัดสินตนว่าเป็นผู้กระทำความผิด และทุจริตต่อหน้าที่หรือเรียกรับผลประโยชน์ฐานฟอกเงิน ซึ่งถือเป็นการใส่ความต่อบุคคลที่ 3 ตนจึงได้ยื่นฟ้องเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่ตนเอง

สำหรับคดีของตนและ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร.นั้น อยู่ในชั้นของ ป.ป.ช. ทั้งหมด ซึ่งอยู่ในขั้นตรวจสอบข้อเท็จจริง หากมีมูลก็จะมีการไต่สวน และหากพบความผิดก็จะมีการแจ้งข้อกล่าวหา แต่หาก ป.ป.ช. ยังไม่ชี้มูลก็ถือว่ายังไม่มีความผิด ตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 60 มาตรา 29 (2) ตราบใดที่ศาลยังไม่มีพิพากษาถึงที่สุดถือว่าผู้นั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ 

ส่วนกรณีคำสั่งที่ให้ตนออกโดยมิชอบทางกฎหมายนั้นตามมาตรา 131 ของ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ซึ่ง ผบ.ตร.สามารถให้ตำรวจออกจากราชการได้ในเงื่อนไข 3 ข้อ 1.ต้องคดีอาญา 2.ถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง 3.ถูกฟ้องคดีอาญา ซึ่งตนเข้าข่ายใน 2 เงื่อนไขแรก เช่นตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติฉบับเดิม เช่น หากตำรวจไปยิงคนตาย และถูกแจ้งข้อหา ผบ.ตร.จะสามารถสั่งให้ออกจากราชการได้ทันที โดยถือว่าเป็นการให้ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติฉบับใหม่ จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนก่อน และจะต้องให้คณะกรรมการสอบสวนมีข้อเสนอแนะนำชี้ว่า มีความผิดหรือไม่ หลังจากนั้นทาง ผบ.ตร.ถึงจะสามารถเซ็นให้ออกได้ แต่กรณีของตน ที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือส่งตัวกลับไปที่สำนักงานตำรวจแห่งชาตินั้น เมื่อทาง

พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รอง ผบ.ตร. ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงแก่ตน จะให้ตนออกเลยไม่ได้ต้องรอผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงตามมาตรา 120 (4) เพราะฉะนั้นกรรมการสอบสวนซึ่งมี พล.ต.อ.สราวุฒิ การพานิช รอง ผบ.ตร. ซึ่งเป็นคณะกรรมการลงความเห็นนั้น ต้องมีข้อเสนอแนะว่าเห็นควรให้ออกหรือไม่ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ฯ จึงจะเซ็นให้ตนออกได้ โดยในส่วนของตนถูกตั้งกรรมการสอบในวันที่ 17 เม.ย. และถูกให้ออกจากราชการในวันที่ 18 เม.ย. โดยไม่มีการเรียกตนไปสอบสวนด้วยถือเป็นการฟังความข้างเดียว ส่งผลให้กฤษฎีกาลงความเห็นว่าเป็นการให้ออกโดยมิชอบ โดยคำสั่งที่ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ยื่นให้นายก ฯ ขึ้นกราบทูล ฯ ภายหลังมีการนำเข้ากฤษฎีกา แต่ทางกฤษฎีกาได้ตีกลับมาให้แก้ไขคำสั่งดังกล่าว ซึ่งหากยังประวิงเวลาตนจะทำหนังสือถึง พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขหรือเพิกถอนให้ถูกต้องตามกฎหมาย และหากยังมีการประวิงเวลาต่ออีก ตนจะทำการยื่นฟ้อง พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ ในสัปดาห์หน้าเช่นกัน

ส่วนกรณีที่มีกูรูท่านหนึ่งได้ออกมาให้ความเห็นกับ รรท.ผบ.ตร. และผบ.ตร. ว่าไม่ต้องเชื่อคำวินิจฉัยของกฤษฎีกา ถือเป็นการโน้มน้าว ระวังจะเข้าข่ายเป็นผู้สนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำความผิด นากจากนี้กรณีที่นากยก ฯ ส่งเรื่องกลับไปที่ คณะกรรมการ อนุ ก.ตร. โดยอนุ ก.ตร.มีความเห็นว่าออกโดยชอบ ซึ่งอำนาจของอนุก.ตร. มีหน้าที่แค่วินิจฉัยได้เฉพาะว่า ผบ.ตร. มีอำนาจหรือไม่ ไม่มีอำนาจในเรื่องอุทธรณ์ ร้องทุกข์ รวมถึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยว่ามีความชอบธรรมหรือไม่ โดยคณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรมฯ มีอำนาจในการไต่สวน โดยมีให้ตนและพล.ต.อ.กิตติ์รัฐ เข้าไปชี้แจ้งต่อคณะกรรมการ แต่ อนุก.ตร.ฟังความข้างเดียวไม่ได้มีการเรียกตนไปไต่สวน
พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวอีกว่า ตนได้ร่างหนังสือถึงนายก ฯ ไว้เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. เพื่อให้นำเข้าพิจารณาในการประชุม ก.ตร. ให้ถอนคำสั่ง ซึ่งตัวนายก ฯ เป็นทั้งประธาน ก.ตร. และเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งการ ผบ.ตร. เมื่อทราบว่าคำสั่งดังกล่าวว่าไม่สมบูรณ์ และ ผบ.ตร. ปฏิบัติไม่ถูกต้อง นายก ฯ จะต้องมีคำสั่งให้ ผบ.ตร. เพิกถอน แต่หากนายก ฯ ละเลย เพิกเฉย ตนก็จะดำเนินคดีในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วย 

เมื่อถามว่ากฤษฎีนั้นไม่มีผลต่อกฎหมายใช่หรือไม่ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า แน่นอนว่าไม่มีผลต่อกฎหมาย แต่เป็นกฎหมายของรัฐบาลและศาลยังต้องรับฟัง โดยองค์คณะกฤษฎีกา มีทั้งอดีตประธานศาลฎีกา และ อดีตเลขากฤษฎีกา และปลัดกระทรวงยุติธรรม โดยคำวินิจฉัยขแงกฤษฎีกา 10 ต่อ 0 ถือเป็นที่สิ้นสุด 

ต่อข้อถามว่าจะกลับมาเป็นตำรวจอีกเมื่อไหร่ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ตอบว่า ไม่รู้ยังตอบไม่ได้ จะกลับหรือไม่ก็ต้องว่าไปตามกฎหมาย วันนี้ตนพยายามชี้ให้เห็นว่าเรากำลังยึดหลักกฎหมาย ซึ่งถ้าตนยังให้ความยุติธรรมตนเองไม่ได้จะไปให้ความยุติธรรมกับตำรวจและประชาชนได้อย่างไร อย่างนั้นจะมี พรบ.ตำรวจแห่งชาติฉบับไว้ทำไม 

“ผมมาต่อสู้หากกลับไปดำรงตำแหน่งจะต้องดูว่าตำรวจที่ถูกออกราชการ 70-80 คน ถูกให้ออกจากราชการแบบถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้องก็จะนำทั้งหมดกลับมา นิสัยผมเป็นคนชอบต่อสู้ตามกระบวนการ ในอดีตก็เคยยื่นฟ้องอดีตนายกท่านหนึ่งมาแล้ว”

ทั้งนี้ในเวลา 11.00 น. ตนจะเดินทางไปที่สำนักงาน ป.ป.ช.เพื่อยื่นฟ้องแก่ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ และผู้การกองวินัย ผู้บัญชาการกองกฎหมาย เพื่อดำเนินคดีข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือ ม.157 ด้วย