แม้ว่าตลาด “อีคอมเมิร์ซ” ของไทยจะมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง  โดยตัวเลขล่าสุดจากการสำรวจของ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า ระบุว่า ตัวเลขอีคอมเมิร์ซไทยในปี 66 ที่ผ่านมามีมูลค่ารวมสูงถึง 5.96 ล้านล้านบาท!!

แต่ท่ามกลางการเติบโตอันน่าตื่นตาตื่นใจของตลาดอีคอมเมิร์ซไทยนั้นผู้ประกอบการชาวไทยกลับต้องเผชิญหน้ากับคู่แข่งที่สำคัญ และมีแข็งแกร่ง คือ  “สินค้าราคาถูกจากประเทศจีน” ที่มีต้นทุนการผลิต ที่ต่ำกว่ามาก ทำให้สามารถ ขายสินค้าตัดราคาผู้ประกอบการชาวไทยได้มากกว่า!?!

ขณะเดียวกันก็มีแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมอย่าง “TikTok Shop” ที่ถือเป็นช่องทางขายใหม่ที่ นำพาสินค้า จากจีน ทะลักเข้าสู่ตลาดไทย จำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา!!

โดยเฉพาะประเทศไทยมีสนธิสัญญาการค้าเสรีทำให้ประเทศไทยไม่สามารถตั้งกำแพงภาษีกับสินค้าราคาต่ำกว่า 1,500 บาทได้ เมื่อไม่ต้องเสียภาษีศุลกากร และไม่ต้องจ่าย VAT ผู้ขายที่อยู่จีนจึงทำการค้าระหว่างประเทศได้อย่างง่ายขึ้น

ประกอบกับเทรด์ “Cross-border E-commerce” ทำให้แบรนด์จีนสามารถส่งสินค้าเข้ามาขาย ในประเทศไทยได้โดยตรง โดยไม่เสียภาษีนำเข้า

จากปัจจัยดังกล่าว จึงถือเป็นความท้าท้ายในการแข่งขัน ของผู้ประกอบการไทย ที่ต้องพลิกกลุยทธ์ สร้าง จุดเด่นให้กับสินค้า และแบรนด์ของตน เพื่อสู้กับสินค้าราคาถูกจากจีนและรักษาส่วนแบ่งการตลาดเอาไว้ให้ได้

ซึ่งทางรอดของผู้ประกอบการไทยต้องทำอย่างไร ทางมีคำแนะนำจากผู้ที่อยู่ในวงการ อีคอมเมิร์ซ อย่าง  “สวภพ ท้วมแสง” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซอร์ทเอาท์ จำกัด (ZORT) แพลตฟอร์มบริหารจัดการออเดอร์ และสต๊อก ครบวงจร  มาแนะนำ

สวภพ ท้วมแสง

“สวภพ ท้วมแสง” บอกว่า  แม้การเติบของเศรฐกิจในไทยแม้จะมีสัญญาณที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้ประกอบการยังไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะยังมีคู่แข่งสำคัญเป็นกลุ่มผู้เล่นรายใหญ่จากต่างประเทศ โดยจีน ที่ก้าวลงมาแข่งขันกับผู้ประกอบชาวไทยผ่านช่องทาง Marketplace และ แพลตฟอร์มต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ด้วยต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าและภาษีที่จ่ายน้อยกว่าทำให้สินค้าจีนมีข้อได้เปรียบด้านราคากับสินค้าไทยอย่างมาก

การมาของ “TikTok Shop”  ที่เปิดตัวสู่ตลาดไทยในปี 65 และเริ่มเป็นที่นิยมในปี 66  ก็มาแย่งชิง ตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย ด้วยกลยุทธ์ “Shoppertainment”  ใช้ความสนุกสนาน เพื่อให้เกิดความสุขและน่าติดตาม แล้วจึงตามด้วยอีคอมเมิร์ซ ซึ่งมีการทดสอบแล้วว่าคนที่อยู่ในช่วงเวลาพักผ่อน มีความสุข สนุกสนาน จะตัดสินใจซื้อได้ง่าย

ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็ยังคงชอบเข้าแพลต์ฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่หลากหลายทั้ง Shopee, และ LAZADA เพื่อหาคอนเทนต์ สินค้า โปรโมชันที่ตอบโจทย์ความต้องการได้มากที่สุด

“สวภพ ท้วมแสง” คาดการ์ณว่า การบุกตลาดของ  “TikTok” จะทำให้ อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน หรือ  “Cross-border E-Commerce” จะเพิ่มมากขึ้นในปี 67 นี้ เนื่องจากสินค้าที่ขายใน TikTok ส่งตรงจากโรงงานจีน แม้ที่ผ่านมาสินค้าจากจีนจะเข้ามาตีตลาดไทยทั้ง Shopee, LAZADA อยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว แต่การเกิดขึ้นของ TikTok Shop ก็ยิ่งทำให้สินค้าจีนเข้ามามากขึ้นกว่าเดิม

“ ทางโรงงานจีนมาติดต่อผู้ประกอบการไทยบอกว่ามีสินค้า แต่ไม่รู้ว่าจะขายสินค้าเหล่านั้น ในตลาดไทย ได้อย่างไร ซึ่งสินค้าจีนที่เข้ามาในไทย ทำราคาได้ดีมากกว่า ยิ่งถ้ามีคนรีวิวเก่งๆ ก็ยิ่งขายดี เพราะฉะนั้น ต่อไปสินค้า จากโรงงานจีนจะ Cross-border เข้ามาเต็มไปหมด”

เมื่อแนวโน้มการการออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ กำลังจะถูกผู้ประกอบการจากจีน “กลืนกิน” แล้วจะมีวีธีอย่างไรให้ผู้ประกอบการไทยปรับตัวอยู่รอดได้นั้น ทาง ผู้บริหารของ ซอร์ทเอาท์ แนะนำว่า มี 3 กลยุทธ์ ที่จะช่วยให้ ผู้ประกอบการไทย สามารถสามารถตั้งรับและเดินหน้าธุรกิจต่อไปได้ ด้วยการวางแผนทำการตลาด และทำความเข้าใจกลุ่มผู้บริโภค

โดยเริ่มที่   1. ราคาคุ้มค่าซึ่งการเข้ามาของ Cross-border E-Commerce ผู้ประกอบการไทย ต้องเริ่ม ขยายออกไปมากกว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย ควรวางสินค้าให้มีความคุ้มค่าในสายตาของต่างชาติ เพื่อขยาย กลุ่มลูกค้าและเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง แบรนด์ไทยที่ควรส่งออกไปต่างประเทศ คือ สินค้าหรือ แบรนด์ที่คนต่างชาติชื่นชอบ โดยดูจากเวลาที่คนต่างชาติมาไทย พวกเขานิยมมาซื้ออะไรกลับไปบ้าง

2.  แบรนด์ดิ้ง และความน่าเชื่อถือ  โดยหนึ่งในวิธีการสร้างแบรนด์ดิ้ง และความน่าเชื่อถือ ให้กับแบรนด์ที่ได้รับความนิยม คือ การทำ Affiliate Marketing ในปี 66  แบรนด์ใช้กลยุทธ์ “Affiliate Marketing” ที่ให้ Influencer หรือ KOLs โปรโมทสินค้า หรือรีวิวสินค้า และจ่ายค่าตอบแทนในรูปแบบ Commission มากขึ้น จนทำให้ เม็ดเงินโฆษณา Affiliate Marketing เติบโตอย่างมาก

โดย ข้อมูลจาก  DAAT คาดการณ์เม็ดเงินโฆษณาผ่าน Affiliate Marketing อยู่ที่ 949 ล้านบาท เติบโต 114% เมื่อเทียบกับปี 65 ซึ่งข้อมูลจาก DAAT สะท้อนถึงทิศทางแบรนด์ใหญ่ หรือแบรนด์ระดับโลก ขยับมาใช้กลยุทธ์นี้มากขึ้น โดยในปี 67 นี้ เชื่อว่า Affiliate Marketing ยังคงมีบทบาทต่อการทำการตลาดและการขาย เพราะคนไทยเ ปิดรับคอนเทนต์ ผ่าน Social Media และชอบตาม Influencer

และกลยุทธ์สุดท้าย คือ 3.ใช้ช่องทางการขายแบบ Omni-channel ที่ครอบคลุมทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ โดยปัจจุบัน พฤติกรรมของผู้บริโภคก็ยังคงชอบเข้าแพลต์ฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่หลากหลายทั้ง Shopee, LAZADA รวมถึง TikTok เพื่อหาคอนเทนต์ สินค้า โปรโมชันที่ตอบโจทย์ความต้องการได้มากที่สุด

ดังนั้นแบรนด์ควรออกแบบและเชื่อมช่องทางการขายแบบ Omni-channel ครอบคลุมทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ สิ่งสำคัญที่แบรนด์ไม่ควรมองข้ามคือ ระบบจัดการร้านค้า ที่เชื่อมโยงการดำเนินธุรกิจประเภทร้านค้า ทั้งแบบออฟไลน์ และออนไลน์อย่างไร้รอยต่อ ครอบคลุมความต้องการสำหรับผู้จำหน่ายสินค้า เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสบาย ให้ผู้ทำธุรกิจสามารถบริหารจัดการร้านค้าด้วยตัวเองได้ดียิ่งขึ้น

เมื่อเลี่ยงการแข่งขันไม่ได้ ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัว หากลยุทธ์ ในการสร้างความแตกต่างและจุดเด่น ให้กับสินค้าและแบรนด์ของตน เพื่อสู้กับสินค้าราคาถูกจากจีน เพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาด เอาไว้ให้ได้!?!

จิราวัฒน์ จารุพันธ์