อาสาสมัครไทยยูเนี่ยนสามารถเก็บขยะได้ทั้งหมด 11,036 กิโลกรัม โดยเก็บจากสถานที่ 9 แห่ง ได้แก่ บริเวณป่าชายเลน แม่น้ำ ชายหาด และเมือง ในประเทศไทย สหรัฐอเมริกา กานา สหราชอาณาจักร นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และอิตาลี โดยประเภทขยะที่พบมากที่สุดได้แก่ ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก โฟม อุปกรณ์ประมงเก่า และก้นบุหรี่มากกว่า 10,000 ชิ้น

นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในฐานะบริษัทอาหารทะเลชั้นนำระดับโลก ไทยยูเนี่ยนมองว่าความยั่งยืนคือหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นเราจึงมุ่งปกป้องดูแลทรัพยากรในมหาสมุทรและระบบนิเวศให้ดี โดยเรามีเป้าหมายที่ท้าทายเพื่อมุ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจอาหารทะเลระดับโลก และเพื่อเดินหน้าความรับผิดชอบตามพันธกิจที่วางไว้ โดยเรายังมีแผนจัดกิจกรรมเก็บขยะเพื่อสิ่งแวดล้อมอีก 4 ครั้ง และจะดำเนินการต่อเนื่องตลอดทั้งปี”

โดยในประเทศไทย มีอาสาสมัครทั้งหมด 26 คน จากไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม โอคินอส ฟู้ด และไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ พร้อมด้วยอาสาสมัครอีก 224 คน จากองค์กรท้องถิ่นและโรงเรียนจากชุมชนท้องถิ่น 4 แห่ง เข้าร่วมกันเก็บขยะ จำนวน 2,237 กิโลกรัม ณ ศูนย์วิจัยทรัพยากรป่าชายเลนที่ 2 จังหวัดสมุทรสาคร ในสหรัฐอเมริกา มีอาสาสมัคร 47 คนเก็บขยะรวม 65 กิโลกรัม บริเวณใกล้สำนักงานบริษัทฯ ในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย บริเวณพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแมนฮัตตันบีช ราวด์เฮาส์ และที่บริเวณเขตคุ้มครองสัตว์ป่า Bullard Creek Wildlife Management Area Hazlehurst ซึ่งอยู่ใกล้กับโรงงานเมืองลียง รัฐจอร์เจีย ในกานา ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงาน Pioneer Food Cannery หรือ PFC มีอาสาสมัคร 97 คน

พร้อมด้วยสมาชิกจากองค์กรพันธมิตรและชุมชนร่วมกันทำความสะอาดชายหาด ที่จอดเรือแคนู และพื้นที่โดยรอบใกล้โรงงานในเมืองเทมา โดยสามารถเก็บขยะและอุปกรณ์ประมงเก่าได้จำนวน 8,600 กิโลกรัม นอกจากนี้ PFC ยังได้จัดกิจกรรมบริจาคเลือดให้กับโรงพยาบาลเทมา เจเนอรัลอีกด้วย ในยุโรป มีอาสาสมัคร 77 คนจากนอร์เวย์, สหราชอาณาจักร, เนเธอร์แลนด์, ฝรั่งเศส และอิตาลี ช่วยกันเก็บขยะจำนวน 134 กิโลกรัม ในเมือง แม่น้ำ และชายหาด

นายอดัม เบรนนัน ผู้อำนวยการกลุ่มด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์สินค้าของบริษัท 100 เปอร์เซ็นต์จะต้องใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนภายในปี 2568 และไทยยูเนี่ยนจะสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่ผลิตให้กับคู่ค้าอย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนเช่นกัน นอกจากนี้ เรายังร่วมมือกับพันธมิตร Global Ghost Gear Initiative (GGGI) เพื่อลดปัญหาการทิ้งอุปกรณ์จับปลาในท้องทะเลทั่วโลก ในการลดขยะพลาสติกในท้องทะเลให้ได้ 1,500 ตันภายในปี 2573”

สำหรับขยะที่เก็บรวบรวมได้ในวันมหาสมุทรโลกจะถูกนำไปคัดแยกและจดบันทึกตามแนวทางของ International Coastal Cleanup โดยขยะที่สามารถรีไซเคิลได้จะถูกดำเนินการโดยบริษัทที่รับการจัดการขยะในพื้นที่ ส่วนขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้จะถูกส่งต่อไปยังหน่วยงานกำจัดขยะในพื้นที่ตั้งแต่ไทยยูเนี่ยนเข้าร่วมโครงการเก็บขยะระดับโลก อาสาสมัครทั่วโลกสามารถรวบรวมขยะได้เป็นจำนวน 25,171 กิโลกรัม